
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รายงานว่า ได้สั่งการให้ กสทช. และ เอ็ตด้า (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) จัดตั้งคณะทำงานศึกษามาตรการควบคุมแพลตฟอร์ม OTT (Netflix, YouTube, Disney+, Spotify เป็นต้น) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และการละเมิดลิขสิทธิ์ การศึกษาจะมีพิจารณามาตรการหลัก 5 ด้าน เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นธรรมและยั่งยืน ทั้งสำหรับผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวม ภาพ: เดลินิวส์ โดยได้เสนอการพิจารณา 5 ด้าน ดังนี้ แต่อย่างไรก็ตามทางเราได้ติดตามข่าวนี้จากการเคยมีการพิจารณาครั้งแรกในปี 2017 แต่ก็ติดปัญหาหลายประเด็นที่ถูกวิจารณ์จนต้องล้มเลิกไปได้แก่ จากการที่เราได้เคยทำรายการสัมภาษณ์ถามความเห็นเรื่องนี้ในปัจจุบัน ทุกคนเห็นด้วยที่ควรมีการกำกับดูแล แต่ว่ายังมีข้อกังวลอื่น ๆ เช่น จะเป็นการเซ็นเซอร์หรือละเมิดสิทธิ์การนำเสนอข่าวสารมากเกินไปหรือไม่ และย้อนไปดูความเห็นเมื่อปี 2017 คลิกชม: https://www.facebook.com/beartai/videos/1592273090805765
The post กระทรวงดิจิทัลฯ ปัดฝุ่นคุม OTT (สื่อสตรีมมิ่ง) ตั้งคณะทำงานศึกษาการกำกับดูแล appeared first on BT beartai.
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รายงานว่า ได้สั่งการให้ กสทช. และ เอ็ตด้า (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) จัดตั้งคณะทำงานศึกษามาตรการควบคุมแพลตฟอร์ม OTT (Netflix, YouTube, Disney+, Spotify เป็นต้น) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และการละเมิดลิขสิทธิ์ การศึกษาจะมีพิจารณามาตรการหลัก 5 ด้าน เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นธรรมและยั่งยืน ทั้งสำหรับผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวม
ภาพ: เดลินิวส์
โดยได้เสนอการพิจารณา 5 ด้าน ดังนี้
ความปลอดภัย: ควบคุมเนื้อหาผิดกฎหมาย, ยืนยันตัวตนผู้ใช้
กำกับเนื้อหา: ออกกฎหมาย, ขอใบอนุญาต, กำกับดูแลแพลฟอร์มต่างประเทศจะให้บริการให้ไทยต้องขอใบอนุญาต ปรับปรุงกฎหมายการกำกับเนื้อหา และผลักดันแนวทางการกำกับดูแลร่วมกัน ไปสู่เวทีระดับนานาชาติ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมและจัดเก็บภาษี: สนับสนุนผู้ประกอบการไทย, จัดเก็บภาษีจาก OTT
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ปฏิบัติตามมาตรฐานเช่น GDPR ของยุโรป เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
การแข่งขัน: ป้องกันการผูกขาด, สนับสนุนแพลตฟอร์มท้องถิ่น
แต่อย่างไรก็ตามทางเราได้ติดตามข่าวนี้จากการเคยมีการพิจารณาครั้งแรกในปี 2017 แต่ก็ติดปัญหาหลายประเด็นที่ถูกวิจารณ์จนต้องล้มเลิกไปได้แก่
กฎหมายเดิมอิงจากของเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ดาวเทียม ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างชาติขอใบอนุญาต ถ้าไม่แก้เรื่องนี้ก็ไม่สามารถให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการต่างชาติได้
ปีนั้นนอกจากเจ้าของแพลตฟอร์มจะต้องขอใบอนุญาตแล้ว ผู้ผลิตคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มประเภท “User Generate Content” ต้องขออนุญาตด้วย (เช่น YouTuber, Streamer)ทำให้มีคำถามตามมาว่า อิงจากอะไร ยอดวิว ยอดติดตาม? แล้วถ้าคนทั่ว ๆ ไป แค่ถ่ายคลิปวิดีโอครอบครัวตัวเองขึ้น Social Network จะต้องนำช่องทาง Social Network นั้น ๆ ไปขอใบอนุญาตด้วยไหม แล้วมันจะวุ่นวายเพราะใคร ๆ ที่ไม่ได้เป็น Content Creator จริงจังก็สามารถอัปโหลดวิดีโอได้ อีกทั้งการอัปโหลดวิดีโอจะมีจุดประสงค์อื่นด้วย เช่น เพื่อเป็นการเก็บถาวรเนื้อหาหายากเพื่อการศึกษาและเชิงประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ผลิตขึ้นโดยผู้อัปโหลดเอง แต่ไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ และทุกคนที่แม้แต่แค่มี Social Network จะต้องจ่ายค่าใบอนุญาตหรือไม่ และค่าใบอนุญาตทำให้ต้นทุนของผู้ที่ทำ Content Creator จริง ๆ สูงจนแบกรับต้นทุนไม่ไหวหรือเปล่า
จากการที่เราได้เคยทำรายการสัมภาษณ์ถามความเห็นเรื่องนี้ในปัจจุบัน ทุกคนเห็นด้วยที่ควรมีการกำกับดูแล แต่ว่ายังมีข้อกังวลอื่น ๆ เช่น จะเป็นการเซ็นเซอร์หรือละเมิดสิทธิ์การนำเสนอข่าวสารมากเกินไปหรือไม่
และย้อนไปดูความเห็นเมื่อปี 2017
ความเห็นแอดมินเพจดังต่อระบบ OTT กสทช.
— คลิกชมได้ที่ลิงก์ Facebook ด้านล่าง
คลิกชม: https://www.facebook.com/beartai/videos/1592273090805765
The post กระทรวงดิจิทัลฯ ปัดฝุ่นคุม OTT (สื่อสตรีมมิ่ง) ตั้งคณะทำงานศึกษาการกำกับดูแล appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/