
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าในเดือนนี้ มหาวิทยาลัยมากมายทั่วประเทศจีนได้เปิดหลักสูตรเอไอ ตามกระแสความนิยมใน DeepSeek แชตบอตเอไอสัญชาติจีน ซึ่งได้มีการเปรียบเปรยถึงความก้าวหน้าของ Deepseek R1 ว่าเป็น “ช่วงเวลาของสปุตนิกแห่งเอไอ” โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ในปี 1957 ที่สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกที่โคจรรอบโลก และได้กระตุ้นสหรัฐฯ เร่งพัฒนาการศึกษา วิจัยและสำรวจอวกาศอย่างหนัก
The post มหาวิทยาลัยในจีนแห่กันเปิดหลักสูตร AI ตามกระแส DeepSeek appeared first on BT beartai.
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าในเดือนนี้ มหาวิทยาลัยมากมายทั่วประเทศจีนได้เปิดหลักสูตรเอไอ ตามกระแสความนิยมใน DeepSeek แชตบอตเอไอสัญชาติจีน ซึ่งได้มีการเปรียบเปรยถึงความก้าวหน้าของ Deepseek R1 ว่าเป็น “ช่วงเวลาของสปุตนิกแห่งเอไอ” โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ในปี 1957 ที่สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกที่โคจรรอบโลก และได้กระตุ้นสหรัฐฯ เร่งพัฒนาการศึกษา วิจัยและสำรวจอวกาศอย่างหนัก
สัปดาห์นี้ มหาวิทยาลัยเซินเจิ้นที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน ประกาศจะเปิดตัวหลักสูตรเอไอเกี่ยวกับ DeepSeek, มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของจีนได้เริ่มเปิดหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับ DeepSeek ในเดือนกุมภาพันธ์, มหาวิทยาลัยเจียวทงที่ตั้งอยู่ในเซี่ยงไฮ้ได้นำ DeepSeek มาใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้เกี่ยวกับเอไอ และมหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน ได้นำ DeepSeek มาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการสอนและวิจัย
เดือนมกราคมที่ผ่านมา แอปฯ AI assistant ของ DeepSeek ได้ขึ้นแท่นเป็นแอปฯ ฟรีอันดับ 1 ใน Apple App Store ของสหรัฐฯ ซึ่งแซงหน้า ChatGPT ของ OpenAI หลังจากพึ่งเปิดตัวเมื่อ 10 มกราคม ซึ่งแอปฯ ดังกล่าวขับเคลื่อนโดย โมเดล DeepSeek-V3 ที่ฝึกโดยใช้ชิปรุ่นเก่า H800 ของ NVIDIA ที่จ่ายเงินไม่เกิน 6 ล้านเหรียญ (210 ล้านบาท) ซึ่งน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการเทรนโมเดลเอไอของสหรัฐฯ ที่ใช้ชิปรุ่นประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ประสิทธิภาพของ DeepSeek-V3 นั้นใกล้เคียงกับ ChatGPT 4o และต่อมา DeepSeek ได้เปิดตัว DeepSeek R1 โมเดลการให้เหตุผลที่มีประสิทธิภาพเทียบชั้นกับ GPT o1 ของ OpenAI
DeepSeek ได้รับคำชมจากผู้บริหารและวิศวกรบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ หลายคนว่า โมเดล DeepSeek-V3 และ DeepSeek-R1 นั้นมีประสิทธิภาพเทียบชั้นกับโมเดลขั้นสูงของ OpenAI และ Meta
นอกจากนี้ มาร์ก แอนเดรียสเซน นักลงทุนสายเทคโนโลยีชื่อดังได้ทวีตว่า “Deepseek R1 เป็นช่วงเวลาของสปุตนิกแห่งเอไอ” ซึ่งแม้ว่าจะมีหลายเสียงออกมาค้านว่ามันไม่ถึงขนาดนั้น เพราะ R1 ยังไม่ได้เหนือกว่าโมเดลของสหรัฐฯ แต่ในความเป็นจริงมันก็กระตุ้นสหรัฐฯ ได้จริง ๆ เพราะมีข่าวว่าทรัมป์กำลังพิจารณาจำกัดส่งชิป NVIDIA ไปจีนเพิ่มเติม รวมถึงพันธมิตรของสหรัฐฯ ได้เริ่มออกมาตรวจสอบหรือสั่งห้ามใช้ Deepseek เช่น ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้
เดือนมกราคม ก่อนกระแสความนิยมใน DeepSeek รัฐบาลจีนได้ออกแผนปฏิบัติการของประเทศฉบับแรก ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้าง ระบบการศึกษาคุณภาพสูงและอยู่ในระดับที่ดีที่สุดในโลก ภายในปี 2035 และวันจันทร์ที่ผ่านมามีรายงานว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีนได้ประชุมกับ เหลียง เหวินเฟิง ผู้ก่อตั้ง DeepSeek และแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba รวมถึงผู้นำบริษัทเทคโนโลยีของจีนอย่าง Huawei, BYD, New Hope, Will Semiconductor, Unitree Robotics และXiaomi ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจีนได้เปลี่ยนท่าทีจากการปราบปรามด้วยกฎระบียบ หันมาสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับสหรัฐฯ
The post มหาวิทยาลัยในจีนแห่กันเปิดหลักสูตร AI ตามกระแส DeepSeek appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/