
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการพัฒนา “เซรั่มน้ำยางพารา” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถต้านอัลไซเมอร์ มะเร็ง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคเบาหวาน นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยางพาราของไทย และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี
The post ไทยพัฒนานวัตกรรม ‘เซรั่มน้ำยางพารา’ สู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ พลิกโฉมอุตสาหกรรมยางพารา appeared first on BT beartai.
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการพัฒนา “เซรั่มน้ำยางพารา” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถต้านอัลไซเมอร์ มะเร็ง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคเบาหวาน นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยางพาราของไทย และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี
ความสำเร็จนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และภาคเอกชน ซึ่งสนับสนุนให้ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเซรั่มน้ำยางพารา (CERB) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการศึกษาวิจัยจนสามารถนำเซรั่มน้ำยางพารามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สามารถเพิ่มมูลค่าของยางพาราได้มากขึ้นกว่า 100 เท่า
จากการศึกษาพบว่า เซรั่มน้ำยางพาราประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ ได้แก่ Hevea latex oligosaccharides (HLOs) ที่มีคุณสมบัติต้านอัลไซเมอร์และมะเร็ง, Beta-glucan oligosaccharide (BGOs) ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ลดริ้วรอย และต้านมะเร็ง, Quebrachitol ที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและเบาหวาน และ 5’-Methylthioadenosine (MTA) ที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย วัณโรค และมะเร็ง เป็นต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 2 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ 1) การสกัดแยกส่วน (Separation-based technology) ที่ใช้แยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเซรั่มน้ำยางพารา และ 2) การย่อยด้วยเอนไซม์ (Digestion-based technology) ที่ใช้เอนไซม์เฉพาะเพื่อสกัดสารชีวภาพที่มีมูลค่าสูง เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เวชสำอาง และยาชีวภาพ
ปัจจุบัน CERB ได้พัฒนาโรงงานต้นแบบร่วมกับบริษัท อินโนซุส จำกัด ด้วยเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และวางแผนเดินหน้าจัดตั้งโรงงานผลิตตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตยางพารา
การพัฒนาเซรั่มน้ำยางพารานี้ ไม่เพียงแต่เป็นการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่ยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้เข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพและการแพทย์ระดับสากล อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อย่างยั่งยืน
ในอนาคต CERB มีเป้าหมายผลักดันการขึ้นทะเบียนสารชีวภาพจากเซรั่มน้ำยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมขยายโอกาสการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ อาหารเสริม ยาชีวภาพ และเวชสำอาง เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน
The post ไทยพัฒนานวัตกรรม ‘เซรั่มน้ำยางพารา’ สู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ พลิกโฉมอุตสาหกรรมยางพารา appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/