เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางทีมงาน BT beartai เราได้มีโอกาสรับเชิญไปร่วมทดลองกล้อง ‘Canon EOS R1’ ที่เรียกว่าเป็นกล้องฟูลเฟรมมิเรอร์เลสรุ่นเรือธงตัวท็อปสุดของค่ายแคนนอน แต่ที่พิเศษมาก ๆ คือยังได้ทดสอบใช้งานจริงถึงข้างสนามฟุตบอล ในแมตช์ระหว่าง นครปฐม ยูไนเต็ด พบ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ณ สนามโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เรียกว่าได้รับประสบการณ์ใช้งานจริงมาแบบเต็ม ๆ เลยทีเดียว ! เกริ่นสั้น ๆ สำหรับ EOS R1 เป็นเรือธงที่แท้ทรูของกล้องมิเรอร์เลส EOS R System ในบอดี้บึกบึนมี vertical grip built-in มาให้เสร็จสรรพ รองรับงานระดับมืออาชีพด้วยเซนเซอร์และชิปประมวลผลใหม่ที่เร็วแรงกว่าเดิม อัปเกรดระบบโฟกัสไปอีกขั้น มีทั้งกันสั่น 5 แกน 8.5 สต็อป ระบบ Eye Control AF เลื่อนจุดโฟกัสด้วยตา…
The post ลองของจริงถึงข้างสนาม ! Canon EOS R1 เรือธงตัวท็อปสุด สำหรับสายถ่ายกีฬาตัวจริง appeared first on BT beartai.
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางทีมงาน BT beartai เราได้มีโอกาสรับเชิญไปร่วมทดลองกล้อง ‘Canon EOS R1’ ที่เรียกว่าเป็นกล้องฟูลเฟรมมิเรอร์เลสรุ่นเรือธงตัวท็อปสุดของค่ายแคนนอน แต่ที่พิเศษมาก ๆ คือยังได้ทดสอบใช้งานจริงถึงข้างสนามฟุตบอล ในแมตช์ระหว่าง นครปฐม ยูไนเต็ด พบ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ณ สนามโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เรียกว่าได้รับประสบการณ์ใช้งานจริงมาแบบเต็ม ๆ เลยทีเดียว !
เกริ่นสั้น ๆ สำหรับ EOS R1 เป็นเรือธงที่แท้ทรูของกล้องมิเรอร์เลส EOS R System ในบอดี้บึกบึนมี vertical grip built-in มาให้เสร็จสรรพ รองรับงานระดับมืออาชีพด้วยเซนเซอร์และชิปประมวลผลใหม่ที่เร็วแรงกว่าเดิม อัปเกรดระบบโฟกัสไปอีกขั้น มีทั้งกันสั่น 5 แกน 8.5 สต็อป ระบบ Eye Control AF เลื่อนจุดโฟกัสด้วยตา และความสามารถถ่ายรัวระดับ 40fps ทำให้ไม่พลาดทุกการเคลื่อนไหว เหมาะอย่างยิ่งกับในงานระดับมืออาชีพ
สเปกพื้นฐานของ Canon EOS R1
เซนเซอร์ Full frame BSI Stacked CMOS 24.2 ล้านพิกเซล
ส่งข้อมูลไวกว่า EOS R3 ถึง 40%
กันสั่น 5 แกน สูงสุด 8.5 สต็อป
จุดโฟกัสครอบคลุม 100% พร้อมพิกเซลแบบ Cross-Type
ถ่ายรัวสูงสุด 40fps แบบ Blackout-free พร้อม AF/AE (RAW+JPEG)
Pre-capture ก่อนครึ่งวินาทีสำหรับภาพนิ่ง และ 3-5 วินาที สำหรับวิดีโอ
Eye Control AF ตีบวกการตรวจจับดวงตา
ระบบโฟกัส Ai ที่รองรับกีฬาหลากหลายประเภท Basketball, Soccer และ Volleyball
มีระบบประมวลผล neural network noise reduction ในตัวกล้อง ISO สูงสุด 102,400
ฟีเจอร์ AI Upscaling 96 ล้านพิกเซล
ฟีเจอร์จดจำหน้าสูงสุด 10 คน
6K/60p RAW internal
DCI 4K 120p
C-Log 2
OLED EVF 9.44 ล้านจุด 0.9x
LCD ระบบสัมผัสพับได้รอบทิศ 2.1 ล้านจุด
Wi-Fi 6 GHz, Full size HDMI, ไมค์, หูฟัง, Sync Flash, Ethernet
บอดี้ Magnesium Alloy แข็งแรงทนทาน
ซีลกันละอองน้ำ ละอองฝุ่น
น้ำหนักรวมแบต, เมมโมรี 1115 กรัม
ในการใช้งานลงสนามจริงครั้งนี้ต้องบอกก่อนว่าทางทีมงานเราไม่เคยถ่ายฟุตบอลจริงจังมาก่อนครับ ซึ่งเหล่าวิทยากรก็ได้มาช่วยไกด์ทั้งการตั้งค่ากล้องต่าง ๆ รวมไปถึงกฎในการถ่ายภาพข้างสนาม ซึ่งเราจะมาเล่าให้ฟังละเอียด ๆ กันเริ่มจากการตั้งค่ากล้องกันก่อนเผื่อใครอยากได้แนวทางในการถ่ายกีฬาประเภทนี้
การตั้งค่ากล้องก่อนลงสนาม
สำหรับ EOS R1 จะมีระบบ ‘Action Priority’ ที่ตัวกล้องสามารถวิเคราะห์ และโฟกัสวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ เช่นในงานกีฬา สมมุตว่ามีนักเตะ 2 คนในเฟรม นักเตะ A กำลังหยุดนิ่ง กับนักเตะ B กำลังออกท่าทางเคลื่อนไหว ตัวกล้องก็จะเน้นความสำคัญโฟกัสไปที่นักเตะ B ก่อนเสมอ ซึ่งถ้ามีลูกบอลเข้าเฟรมมา แล้วนักเตะ A ได้ไป ตัวกล้องเองก็จะให้ความสำคัญกับ subject ที่กำลังเลี้ยงลูกเป็นหลักนั้นเอง ทำให้การโฟกัสติดตามวัตถุระหว่างเกมทำให้ง่ายมากยิ่งขึ้นกว่ากล้องในยุคก่อนหลายขุมเลยทีเดียว
การที่โฟกัสฉลาดขนาดนี้เรื่องการถ่ายรัวก็ไม่ธรรมดาเช่นกันครับ โดยทางวิทยากรแนะนำว่าในโหมดปกติจะถ่ายรัวพื้นฐานไว้แค่ 5fps แต่เมื่อไรที่ต้องการความเร็วสูงการกดย้ำปุ่ม AF-ON ลงไปก็จะได้สลับมาเป็นบูสต์โหมดที่ 30fps กันเลย ผนวกกับฟีเจอร์ pre-capture ที่ช่วยบันทึกภาพให้ล่วงหน้าครึ่งวินาทีที่ลั่นชัตเตอร์ ก็จะยิ่งทำให้เราไม่พลาดช็อตสำคัญ ๆ แน่นอน
แต่ในบ้างครั้งที่เราอยากเปลี่ยนจุดโฟกัสด้วยตัวเอง การเลื่อนจุดก็ไม่อาจสู้การใช้ Eye Control เลื่อนจุดโฟกัสด้วยตา ในช่องมองของ EOS R1 ได้ครับ แต่กว่าจะใช้จนชำนาณอันนี้ก็ต้องฝึกอยู่เหมือนกัน
ส่วนเลนส์ที่ได้มาจะเป็น RF 100-300mm F2.8L IS USM ตั้งค่ากล้อง 1/1250s F2.8 ISO 6400 เป็น JPEG ล้วน (งานแบบนี้เน้นส่งงานไวเป็นหลัก ไม่เน้นแต่งภาพ) ซึ่งการถ่ายภาพกีฬาจะต้องใช้สปีดพอสมควรครับ 1/1250s จึงเป็นค่าที่พื้นฐาน ส่วนใครอยากลองถ่ายฟุตบอลบ้างแล้วรูรับแสงแคบกว่านี้ก็สามารถดัน ISO ขึ้นได้อีกตามสภาพแสงหน้างาน
กฎการถ่ายรูปข้างสนาม
ส่วนกฎในการถ่ายภาพฟุตบอลข้างสนามจะมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 4 ข้อ ได้แก่
งดใช้แฟลชขณะทำการแข่งขัน
หลีกเลี่ยงการเดินไปมาขณะแข่งขัน
หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับนักกีฬาขณะแข่งขันหรืออบอุ่นร่างกาย
ไม่อนุญาตให้นำขวดน้ำเข้าไปในสนามแข่งขัน
ประสบการณ์ที่ได้จากการลงสนามด้วย Canon EOS R1
การหยิบเจ้า EOS R1 ลงไปถ่ายกีฬาจริง ๆ ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ว้าวพอสมควรครับ เพราะจากเดิมที่ผ่านมือมาตั้งแต่ EOS R6/R5 มาเป็น EOS R6 Mark II ก็ว่าโฟกัสเทพอยู่แล้ว แต่สำหรับ EOS R1 ก็ยังทำให้ทึ่งได้อยู่ดี ด้วยระบบโฟกัส Action Priority ที่เหมือนมีผู้ช่วยคอยคิดเรื่องการโฟกัสให้ เราอยากโฟกัสไปที่จุดไหนระบบก็ตอบสนองความคิดเราได้ทันทีทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องสั่งมันด้วยซ้ำ เพียงแค่กดชัตเตอร์ลงครึ่งเดียวเท่านั้น (เสริมว่าเจ้านี่ยังเป็นระบบโฟกัสแบบ Cross-type ด้วยน๊า ไม่ฉลาดอย่างเดียวแต่คือโคตรแม่น)
อย่างจังหวะขณะมีการแย่งบอล เมื่อมีผู้เล่นแย่งบอลได้ไประบบโฟกัสก็สลับคนมาให้ทันทีเป็นอะไรที่สะดวกสุด ๆ เราเหมือนมีหน้าที่เลี้ยงเฟรมไปเรื่อย ๆ ที่เหลือให้กล้องจัดการให้ก็พอ
ซึ่งการที่กล้องมันรัวได้เร็วมาก ๆ จังหวะที่อยากได้ 30fps ก็เพียงแค่กดปุ่ม AF-ON ลงไปเท่านั้น ก็จะได้ภาพต่อเนื่องมาเป็นชุด แถมบัฟเฟอร์ก็ใหญ่มหาศาล กดรัวได้เป็นหลัก 10 วินาที แค่นี้ยังไม่พอแม้จะลองกดจนเต็มแล้ว แต่ buffer ก็สามารถเคลียร์ได้เร็วมาก สมแล้วที่ใช้เป็นการ์ด CFexpress Type B แบบคู่ ที่มีความเร็วสูงกว่า SD Card แบบคนละโลก ทำให้การใช้งานไม่มีติดขัดใด ๆ เลยครับ ลื่นไหลยันจบเกม (ทำให้เข้าใจเลยว่าทำไมไม่ใช้ SD Card แบบปกติในตัวนี้แล้ว) แถมช่องมองภาพก็ใหญ่โตสว่าง สบายตา ใส่แว่นก็ใช้งานได้แบบไม่มีติดขัดอะไร
หรือจังหวะไหนที่ยังไม่ลั่นชัตเตอร์แค่รอจังหวะ การกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงเพื่อโฟกัสเลี้ยงไว้ ยังเป็นการเปิดฟีเจอร์ Pre-Capture ให้ด้วย ทำให้แม้เรากดชัตเตอร์พลาดไปเสี้ยววิ แต่ตัวกล้องก็มีการบันทึกภาพให้ก่อนล่วงหน้าแล้วเป็นเวลาครึ่งวินาที
สิริรวมถ่ายฟุตบอล 1 แมตช์ กดไป 11,000 กว่ารูป แบตเพิ่งจะลดไปเพียงขีดเดียวเท่านั้น เรียกว่าอึดแบบสุด ๆ ใช้ทำงานกันได้แบบยาว ๆ ไม่ต้องกลัวแบตหมดกันเลยครับ ด้วยความที่บอดี้เป็นแบบ built-in vertical grip นอกจากจะจับถนัดมือ รองรับเลนส์ใหญ่ ๆ ได้แล้ว แบตยังก้อนใหญ่ไซซ์เดียวกันตั้งแต่ยุค 1DX Mark II และ EOS R3 แต่พิเศษคือรองรับแบตรุ่นใหม่ LP-E4N ที่เคลมว่าถ่ายได้มากขึ้นจาก R3 ถึง 60%
ฟีเจอร์อัปสเกล 96 ล้านพิกเซล ด้วย AI
ในช็อตที่นักเตะอยู่หน้าประตูอีกฝั่ง เลนส์ช่วง 300mm บางทีก็รู้สึกจะไกลไม่พอ ฟีเจอร์อัปสเกลจะมีประโยนช์ตรงนี้นี่ล่ะครับ กดจากในตัวกล้องได้เลยจากหน้า playback จะครอป หมุนภาพ อะไรก็ได้หมด แถมความละเอียดแบบอัปสเกลสูงสุดยังได้ถึง 96 ล้านพิกเซล เลยทีเดียว
อย่างภาพนี้ ครอปเหลือเฟรมนิดเดียวแล้วใช้ AI อัปสเกล ก็ยังได้ความละเอียดเกือบเต็ม 24 ล้านพิกเซลกันเลยนะ แถมภาพที่ได้ก็ใช้งานได้สบาย ๆ เลย มีประโยชน์สุด ๆ
ฟีเจอร์คัดภาพเบลอ ถ่ายมาเยอะ ๆ คัดเองคงลำบาก EOS R1 ช่วยได้ !
อันนี้น่าจะเป็น Pain point ของสายถ่ายรัว บางทีถ่ายมาเยอะจะคัดว่าภาพไหนชัดไม่ชัดก็คงยาก ยิ่งการรัวระดับ 30fps ด้วยแล้ว แต่ EOS R1 เขามีฟีเจอร์ ‘Blue/Out-of-focus detection’ ที่ภาพไหนเบลอขณะกดดู playback ก็จะมีสัญลักษณ์แจ้งเตือนทันทีบนจอ
ถ้าภาพชัดจะมีลูกศรขึ้นมุมซ้ายแบบนี้
อันนี้เบลอก็แจ้งเตือนเครื่องหมายตกใจให้เห็น
พอเราคัดง่าย ๆ แบบนี้แล้วเราก็สามารถกด Rate ติดดาวหลังกล้องรูปที่เราเลือกส่งต่องานได้ทันทีเลยครับ ไม่ต้องไปนั่งเพ่งกันต่อในคอมว่าชัดไม่ชัด ซึ่งตัวฟีเจอร์นี้ยังสามารถตั้งได้อีกว่าให้ sensitive ระดับไหน เผื่องานไหนซีเรียสมาก ๆ เบลอนิดนึงก็ไม่ได้
สรุป
Canon EOS R1 เรียกว่าเป็นการมาของกล้องเรือธงที่สมการรอคอยของแฟน ๆ ค่ายหนอนทีเดียวครับ นอกจากความไวระดับปิศาจแล้ว ระบบการทำงานร่วมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ ยังตอบโจทย์การใช้งานระดับมืออาชีพสุด ๆ ทั้ง Action Priority, อัปสเกล AI, Pre-Capture, ระบบโฟกัสก็ถูกพัฒนามาไกลมาก ทำให้ work-flow ทำงานง่ายขึ้นอีกเป็นกอง จนคิดไม่ออกเลยว่าถ้า EOS R1 Mark II ออกมาจะดีได้มากกว่านี้ยังไง สมกับราคาค่าตัวเฉพาะบอดี้ 235,900 บาท
สุดท้ายต้องขอบคุณทาง Canon Thailand ที่เชิญไปร่วมทดสอบกล้องในครั้งนี้ด้วยครับ
The post ลองของจริงถึงข้างสนาม ! Canon EOS R1 เรือธงตัวท็อปสุด สำหรับสายถ่ายกีฬาตัวจริง appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/