แอนดี้ เซอร์คิส (Andy Serkis) นักแสดงมากพรสวรรค์วัย 60 ปี ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวจากเว็บไซต์ ScreenRant ในงาน Fan Expo San Francisco โดยเขาได้อธิบายถึงความสำคัญของเทคโนโลยีโมชั่นแคปเจอร์ (Motion Capture) ว่าช่วยให้เขาได้แสดงบทบาที่หลากหลายขึ้นได้อย่างไร เซอร์คิสได้อธิบายถึงความแตกต่างของบท กอลลัม (Gollum) ในไตรภาค ‘The Lord of the Rings’ (2001, 2002, 2003) และ คิงคอง (King Kong) ใน ‘King Kong’ (2005) ของผู้กำกับ ปีเตอร์ แจ็กสัน (Peter Jackson) รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความล้ำหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เขากลายเป็นตัวละครใดในสถานที่แห่งใดก็ได้ เขากล่าวเสริมว่า ด้วยความสำเร็จอย่างมหาศาลของไตรภาค ‘The Lord of the Rings’ ที่ทำรายได้ทั่วโลกรวมกันไป 2,940…
The post Andy Serkis อธิบาย Motion Capture ยกระดับเขาจาก “ดาราธรรมดา” เป็นยอดฝีมือด้านการแสดง appeared first on BT beartai.
แอนดี้ เซอร์คิส (Andy Serkis) นักแสดงมากพรสวรรค์วัย 60 ปี ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวจากเว็บไซต์ ScreenRant ในงาน Fan Expo San Francisco โดยเขาได้อธิบายถึงความสำคัญของเทคโนโลยีโมชั่นแคปเจอร์ (Motion Capture) ว่าช่วยให้เขาได้แสดงบทบาที่หลากหลายขึ้นได้อย่างไร
เซอร์คิสได้อธิบายถึงความแตกต่างของบท กอลลัม (Gollum) ในไตรภาค ‘The Lord of the Rings’ (2001, 2002, 2003) และ คิงคอง (King Kong) ใน ‘King Kong’ (2005) ของผู้กำกับ ปีเตอร์ แจ็กสัน (Peter Jackson) รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความล้ำหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เขากลายเป็นตัวละครใดในสถานที่แห่งใดก็ได้
ตอนที่เราเริ่มสร้าง ‘The Lord of the Rings’ จริง ๆ นั้น ผมได้เข้าฉากพร้อมชุดรัดรูปที่บางมาก ซึ่งตอนนี้ทุกคนรู้จักชุดนี้เป็นอย่างดีแล้ว ตอนนั้น ปีเตอร์ แจ็กสัน มองผมสวมบทเป็นกอลลัม แล้วคลานไปมารอบ ๆ ห้อง และเขาก็เกิดความคิดว่า “เราจะถ่ายการเคลื่อนไหวของแอนดี้” จากนั้นทีมแอนิเมเตอร์ก็จะลอกเลียนการเคลื่อนไหวเพื่อวาดภาพกราฟิกขึ้นมาซ้อนทับ
แต่ถ้าเป็นฉากที่ต้องโคลสอัพตัวละคร ผมต้องสวมชุดโมชั่นแคปเจอร์แล้วแสดงแบบเดิมซ้ำ 2 รอบ (นั่นคือ การแสดงคนเดียวเพื่อให้ทีมงานเก็บภาพการเคลื่อนไหว และการเข้าฉากร่วมกับนักแสดงคนอื่น ๆ) มันเป็นเทคโนโลยีใหม่มากในตอนนั้น เป็นการจับภาพการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ซึ่งเรายังใช้งานมันไม่คล่องเลย
ผมมาดูฉากที่ถ่ายทำไปแล้วบนจอ ผมเห็นตัวเองกำลังยกมือ จากนั้นผมก็ได้เห็นกอลลัมกำลังยกมือ มันเหมือนกระจกวิเศษที่ผมต้องเรียนรู้การทำงาน ผมต้องเป็นทั้งหุ่นเชิดและคนควบคุมหุ่นเชิดไปพร้อมกัน เราค่อย ๆ พัฒนากระบวนการนี้ไปทีละขั้น จนกระทั่งในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องที่ 3 นั่นคือ ‘The Return of the King’ เราก็สามารถถ่ายทำโมชั่นแคปเจอร์บนฉากจริงไปพร้อมกันได้
เขากล่าวเสริมว่า
หลังการถ่ายทำได้เสร็จสิ้นลง ผมคิดว่าต้องกลับไปแสดงบทเดิม ๆ ซ้ำต่อไป จากนั้น ปีเตอร์ แจ็กสัน ก็ติดต่อให้ผมไปแสดงเป็นคิงคอง ซึ่งผมคิดว่า “มันเหลือเชื่อมาก ผมได้แสดงเป็นผู้คลั่งแหวนที่มีส่วนสูงเพียง 3 ฟุตครึ่ง แล้วตอนนี้ผมก็จะได้เป็นกอริลลายักษ์ขนาด 25 ฟุต ซึ่งหมายความว่าผมไม่ต้องแสดงบทที่ซ้ำซากอย่างเช่นในอดีตอีกไปแล้ว มันเป็นโอกาสอันน่าเหลื่อเชื่อมากสำหรับผม
นี่คือเครื่องมือแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สามารถทำให้นักแสดงกลายเป็นตัวละครใดก็ได้ และสร้างสรรค์ฉากให้กลายเป็นสถานที่แห่งใดก็ได้
ด้วยความสำเร็จอย่างมหาศาลของไตรภาค ‘The Lord of the Rings’ ที่ทำรายได้ทั่วโลกรวมกันไป 2,940 ล้านเหรียญ พร้อมคว้ารางวัลออสการ์รวมกันถึง 17 ตัว และ ‘King Kong’ ที่ทำรายได้ทั่วโลกไป 550.5 ล้านเหรียญ และคว้ารางวัลออสกร์ 3 ตัว ทำให้เซอร์คิสซึ่งรับบทกอลลัมและคิงคอง ได้รับคำชื่นชมในบทบาทการแสดงที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอันลึกซึ่ง และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ
เขายังรับบทในชุดโมชั่นแคปเจอร์ในภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง เช่น ซีซาร์ (Caesar) ในไตรภาค ‘Planet of the Apes’ (2011, 2014, 2017) และ ผู้นำสูงสุดสโน๊ค (Supreme Leader Snoke) ใน ‘Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi’ (2017) เป็นต้น
นอกจากนี้ เซอร์คิสกำลังจะกลับมารับบทกอลลัมอีกครั้งใน ‘The Lord of the Rings: The Hunt for Gollum’ ที่มีกำหนดฉายในปี 2026 และเป็นการกลับมาร่วมงานกับแจ็กสันอีกครั้ง
War for the Planet of the Apes (2017)
The post Andy Serkis อธิบาย Motion Capture ยกระดับเขาจาก “ดาราธรรมดา” เป็นยอดฝีมือด้านการแสดง appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/