โครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซีพี ได้เริ่มโครงการข้าวคาร์บอนต่ำเพื่อตอกย้ำเป้าหมาย Zero Carbon โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและนอกองค์กร สนับสนุนเกษตรกรในการปลูกข้าวเพื่อลดภาวะโลกร้อน ข้าวที่ผลิตจากโครงการนี้จะถูกนำมาใช้ในการทำข้าวกล่องสำหรับผู้โดยสารสายการบินเวียดเจ็ท รวมถึงในทุกเมนูข้าวของเชฟแคร์ หลังจากที่ซีอีโอเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ประกาศเป้าหมายความยั่งยืนสามประการหลัก คือ Zero Carbon, Zero Waste และการศึกษา ซีพีได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายเหล่านี้ โดยใช้โครงการพัฒนาผู้นำเป็นกลไกสำคัญในการผลักดัน โครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องที่ดำเนินการโดยโครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคนิคมาตรฐาน GAP และระบบ FSA เพื่อลดคาร์บอนจากการผลิต ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนและการพัฒนากลยุทธองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หนึ่งในสปอนเซอร์ โครงการ Low Carbon Rice Product ภายใต้การพัฒนาโครงการเถ้าแก่ใหญ่ (Senior Leadership Development Program หรือ SLP) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาผู้นำของซีพี กล่าวว่า โครงการพัฒนาผู้นำของซีพีมุ่งเน้นการผนึกกำลังของผู้นำรุ่นใหม่จากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือ มาร่วมกันคิดและดำเนินโครงการที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสตอบสนองทั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจและเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีทั้งโครงการเถ้าแก่น้อย…
The post ซีพีผนึกพันธมิตรปั้นโครงการข้าวคาร์บอนต่ำ หนุนเกษตรกร ลดโลกร้อนตามเป้าหมาย Zero Carbon appeared first on BT beartai.
โครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซีพี ได้เริ่มโครงการข้าวคาร์บอนต่ำเพื่อตอกย้ำเป้าหมาย Zero Carbon โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและนอกองค์กร สนับสนุนเกษตรกรในการปลูกข้าวเพื่อลดภาวะโลกร้อน ข้าวที่ผลิตจากโครงการนี้จะถูกนำมาใช้ในการทำข้าวกล่องสำหรับผู้โดยสารสายการบินเวียดเจ็ท รวมถึงในทุกเมนูข้าวของเชฟแคร์ หลังจากที่ซีอีโอเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ประกาศเป้าหมายความยั่งยืนสามประการหลัก คือ Zero Carbon, Zero Waste และการศึกษา ซีพีได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายเหล่านี้ โดยใช้โครงการพัฒนาผู้นำเป็นกลไกสำคัญในการผลักดัน โครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องที่ดำเนินการโดยโครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคนิคมาตรฐาน GAP และระบบ FSA เพื่อลดคาร์บอนจากการผลิต
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนและการพัฒนากลยุทธองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หนึ่งในสปอนเซอร์ โครงการ Low Carbon Rice Product ภายใต้การพัฒนาโครงการเถ้าแก่ใหญ่ (Senior Leadership Development Program หรือ SLP) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาผู้นำของซีพี กล่าวว่า โครงการพัฒนาผู้นำของซีพีมุ่งเน้นการผนึกกำลังของผู้นำรุ่นใหม่จากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือ มาร่วมกันคิดและดำเนินโครงการที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสตอบสนองทั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจและเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีทั้งโครงการเถ้าแก่น้อย เถ้าแก่เล็ก เถ้าแก่กลาง และเถ้าแก่ใหญ่ สำหรับโครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Rice Product) เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ซีพีพัฒนาขึ้นมาโดยผนึกกำลังผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ เพื่อตอบสนองเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 ตามนโยบายของนายศุภชัย เจียรวนนท์ โดยโครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ มีนายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ รองประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าวขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นเจ้าของโครงการ มีสปอนเซอร์ร่วม 2 คนคือ นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจพืชครบวงจร และ ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนและการพัฒนากลยุทธองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และมีสมาชิกทีมซึ่งเป็นเถ้าแก่ใหญ่จำนวน 6 คนจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ทั้งจาก ซีพีเอฟ ทรู ซีพี ออลล์ กลุ่มธุรกิจพลาสติก โลตัส และกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร โดยโครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังในพื้นที่กว่า 120,000 ไร่ในพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิรักษ์โลก ป้อนให้พันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีเป้าหมายลดโลกร้อนเช่นเดียวกับเครือเจริญโภคภัณฑ์
นายศุภชัย เสือกลับ ผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นเถ้าแก่ใหญ่ โครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ ในโครงการ SLP เปิดเผยว่า โครงการนี้คือการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว ซึ่งร่วมกับบริษัทพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ดำเนินการโครงการผลิตข้าวหอมมะลิรักษ์โลก (Low Carbon Rice) พื้นที่กว่า 120,000 ไร่ โดยมี ดร.สดุดี สุพรรณไพ รองกรรมการผู้จัดการสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ ขับเคลื่อนงานด้านวิชาการ และ นายสุวิทย์ แซ่ย่อง ผู้บริหารธุรกิจฟาร์มโปรครบวงจร ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกร ต่อยอดจากการส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิของธุรกิจข้าวตราฉัตร ตามมาตรฐานการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งมี อาทิ การปลูกข้าวด้วยระบบ GAP (Good Agricultural Practices) และการทวนสอบด้วยระบบมาตรฐาน FSA (Farm Sustainability Assessment) ซึ่งคาดการณ์ว่าสามารถทำให้การผลิตข้าวสามารถลดคาร์บอนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดโลกร้อน โดยนำร่องที่อำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นับว่าเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทยที่ร่วมสร้างความยั่งยืน
นายบุญเรือง มณีไสย์ ตัวแทนเกษตรกร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า การผลิตข้าวตามแนวทางการทำเกษตรยั่งยืน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะมีการอนุรักษ์ดินตรวจวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญมีการวางแผนการเพาะปลูกข้าวทำให้ใช้ธาตุอาหารพืชได้ถูกต้องเหมาะสม และการจัดการศัตรูพืชอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งมีการอบรมพัฒนาเกษตรกรได้รับความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กับการปลูกข้าวของตนเองให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น
นางสาวริญญภัสร์ ภัทรศักดิ์วัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ตัวแทนข้าวตราฉัตร กล่าวสรุปว่า การผลักดันครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่สำคัญของพันธมิตรด้านอาหาร อาทิ ซีพีเอฟ โกลบอล ฟู้ด โซลูชั่น , สายการบินเวียตเจ๊ทไทยแลนด์, และ Chef cares ที่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนในการลดก๊าซเรือนกระจก ได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่สร้างข้าวคาร์บอนต่ำ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่มุ่งมั่น ตั้งใจ ของทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการลดคาร์บอนภาคการเกษตรของไทย ลดก๊าซเรือนกระจกผ่านการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำร่วมกัน สู่การแข่งขันด้านความยั่งยืนทางอาหารในระดับโลก โดยในโอกาสนี้คณะเถ้าแก่ใหญ่และพันธมิตรได้เข้าร่วมศึกษาดูงานพื้นที่ดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ เพื่อยกระดับสินค้าข้าวของไทยที่ปลอดภัยและใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมส่งต่อผู้บริโภค
The post ซีพีผนึกพันธมิตรปั้นโครงการข้าวคาร์บอนต่ำ หนุนเกษตรกร ลดโลกร้อนตามเป้าหมาย Zero Carbon appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/