ที่มาของบทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นจากที่ BT (Beartai) ได้เห็นคุณจูนที่งาน Techsauce โดยเนื้อหาจากบทความนี้จะมาคุยถึงประเด็น Startup เอาเงินมาคืนนักลงทุน? กับคุณจรีพร จารุกรสกุล CEO จาก WHA โดยทางแบไต๋ก็ได้อยู่ในงานสัมมนานี้ด้วย ซึ่งเป็นงานของ Techsauce และ Depa ที่ร่วมมือกันแถลงเรื่องสำคัญและคุณจูนก็ได้ขึ้นเวทีวันนั้นแบบปลุกเวทีให้ร้อนพร้อมเสียงปรบมือเกลียวกาวจากคำพูดที่บอกว่า Startup เอาเงินมาคืนนักลงทุนด้วย? วันนี้เราจะมาขยายกันผ่านบทสัมภาษณ์นี้
The post สัมภาษณ์ จูน จรีพร ในมุมเจ็บกับ Startup ไทย แต่ไทยยังมีโอกาสการลงทุนจากต่างชาติ appeared first on BT beartai.
ที่มาของบทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นจากที่ BT Beartai ได้เห็นคุณจูนที่งาน Techsauce ซึ่งเป็นงานของ Techsauce และ Depa ที่ร่วมมือกันแถลงเรื่องสำคัญและคุณจูนก็ได้ขึ้นเวทีวันนั้นแบบปลุกเวทีให้ร้อนพร้อมเสียงปรบมือเกรียวกราวจากคำพูดที่บอกว่า Startup เอาเงินมาคืนนักลงทุนด้วย? วันนี้เราจะมาขยายกันผ่านบทสัมภาษณ์นี้ พร้อมประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอย่างการลงทุนจากต่างชาติที่ WHA ถือเป็นผู้นำ สามารถพาแบรนด์รถยนต์จากจีนมากมายมาลงทุนตั้งโรงงานในไทย รวมถึงเรื่องธุรกิจ Data Center ของไทยที่น่าจะมีอนาคตด้วย
คุณจรีพร จารุกรสกุล CEO จาก WHA: ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้วเวลาพี่ขึ้นเวทีพี่มักจะพูดในเรื่องบวก ๆ นะ แต่วันนั้นพี่เห็น Startup มากันเพียบเลย พี่ว่าเราต้องยอมรับความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น เหตุผลของวันนี้มันคือจากอะไรจากเหตุที่พวกคุณทำกันมา เพราะพี่ก็พูดเสมอว่าพี่ทำธุรกิจมาตั้งแต่ตั้งแต่เริ่มจากศูนย์เพราะเมื่อก่อนพี่ต้องกู้แบงค์เพราะไม่มีการ Rise Fund แบบนี้
เมื่อ 31 ปีก่อน WHA ใช้เงินลงทุนเพียง 1 ล้านบาท?
ต้องนับเป็น 31 ปี ก่อน 31 ปีก่อนตอนที่ทำบริษัทแรกคือ 1 ล้านบาท ทำทั้ง Trading Company จน 10 ปีต่อมาก็คือ 21 ปีก่อน WHA ถึงเกิด เกือบได้เงิน 10 ล้านบาท แต่วันนี้มูลค่าบริษัท 190,000 ล้านแล้วนะมันเบ่งบานมาได้ขนาดนั้นค่ะ พี่ถึงบอกมันเกิดจากเรามีเครดิต ถามว่าเครดิตเกิดจากอะไร เครดิตไม่ใช่เกิดจากพี่นามสกุลใหญ่โต ไม่ใช่เกิดจากพี่มีเงินมากมาย มันคือเกิดจากคำพูดของพี่ พี่ไม่เคยผิดคำพูดกับใครแม้แต่คำเดียว มันคือ Credibility พี่พูดเสมอว่าคนเราต้องมี Credibility
พี่ทำธุรกิจ พี่ต้องไปกู้เงินแบงค์เพราะว่าเราไม่มีเงินในการลงทุนมากมาย ถามว่าทำไมแบงค์ให้เครดิตเรา เพราะเขาเชื่อเครดิตเรา เขาถึงปล่อยกู้ แต่เครดิตของพี่ในสมัยก่อนคือพี่ไม่ต้องมีอะไรไปค้ำแบงค์ ต้องมีบ้านส่วนตัว มีนู่นมีนี่ขึ้นมา แล้วก็มีผลประกอบการ ซึ่งมันจะต้องมีกำไรตรงนั้นถึงจะกู้แบงค์ได้ เราถึงมีการทำงาน ทำทุกอย่างด้วยความระมัดระวังทั้งหมด ใช้เงินทุกอย่างอย่างมีคุณค่า
สมัยก่อนที่พี่กับคุณหมอเริ่มธุรกิจต่าง ๆ เชื่อมั้ย 2 คนสามีภรรยามีเงินติดตัวพันเดียว แต่ว่าเราหาเงินเดือนได้เยอะนะ แต่เราก็ใช้เงินในการลงทุนหมด กว่าจะมีวันนี้ กินก๋วยเตี๋ยวข้างทาง กระทั่งพี่มีบริษัทใหญ่โตขึ้นมา พี่ยังแบบชิล ๆ ของพี่อยู่เลย ทุกวันนี้ถ้าเกิดว่าพี่จะใช้เงินทำอะไร นี่คือเงินจากเงินปันผล เงินปันผลที่พี่ได้จากผลประกอบการที่เรามีการปันผลออกมา
จะทำธุรกิจอย่าใช้เงินของบริษัทไปทำสิ่งที่คุณอยากได้ หรือคุณบอกว่าไปกู้หนี้ยืมสินมาเยอะแยะนั่นคือคุณเอาเงินอนาคตมาใช้จ่ายในความพอใจของคุณในวันนี้ ไม่ใช่ค่ะ! มันคือระเบียบของการใช้เงินด้วย
ประสบการณ์ Startup ไทย
Startup มาถึงสมัยนี้ Startup บอกว่ามันขาดทุนแน่นอนแหละ แล้วก็ต้อง Rise Fund แต่ว่านักลงทุนก็มองภาพว่าอนาคตจะมีกำไรถึงให้มูลค่า ให้เงินไปในการระดมทุนเพื่อสร้างผลประกอบการขึ้นมาซึ่งอนาคตหวังว่ามันต้องกำไร แล้วก็ Exit เพราะว่าพวกเราก็ไม่ใช่มูลนิธิที่จะเอาเงินไปลงทุนแล้วไม่ได้หวังผลหรือบริจาค บางคนก็มองว่านักลงทุนเหมือนฟ้ามาโปรดทำฝันให้เป็นจริง ส่วนหนึ่งที่พี่ลงทุนก็เพราะพี่มองภาพว่าพี่ต้องการช่วยเด็ก
ถ้าไปดูย้อนเทปของพี่เมื่อหลายปีก่อนพี่บอกว่าพี่จะทำธุรกิจอย่างนี้เองก็ได้แต่พี่ไม่ทำ พี่บอกว่าพี่อยากจะสร้าง Startup ถ้าสร้างนักลงทุนไปแล้วเขาโตขึ้นมาเราก็โอเค โอเคในแง่เราก็ได้กำไรจากที่เราลงทุน พี่ต้องการสร้าง Colony ของ Startup นั่นคือความตั้งใจของพี่ เพราะพี่บอกว่าถ้าเกิดเด็กพวกนี้โตมันจะส่งผลดีต่อประเทศ พวกพี่แก่ไปมันก็โรยลามันต้องเอารุ่นนี้โตขึ้นมาให้ได้
แต่สิ่งที่เราลงทุนไปและสิ่งที่เราเจอคือ ได้เงินพี่ไปเสร็จแล้วพี่เห็นในเฟซบุ๊กไปเที่ยวต่างประเทศไปซื้อรถสปอร์ต รถซุปเปอร์คาร์ เห็นแต่เรื่องการใช้เงินในเฟซบุ๊กหรือในโซเชียล ซึ่งเราไม่เห็นเรื่องการทำงานของเขามันทำให้เราผิดหวังมาก ๆ นะกับสิ่งที่เกิดขึ้น พี่ถึงพูดเสมอว่าการที่คุณได้เงินไปเพราะเขาเชื่อคุณ เชื่อว่าคุณจะสร้างผลประกอบการกำไรในอนาคต นั่นคือคุณขายเครดิตในตัวคุณคุณขายศักดิ์ศรีในความเป็นคนของตัวคุณ นี่คือศักดิ์ศรีของความเป็นคนพี่คิดอย่างนั้น คุณไม่ต้องคืนด้วยเงินกู้เพราะมันไม่ใช่เงินกู้ คุณต้องคืนด้วยผลประกอบการของบริษัท
Startup ของไทยเรานี่ต้องบอกว่า Startup ดี ๆ ก็มีนะคะ แต่พอดีของเรามันมีน้อย เวลาพี่สัมภาษณ์ Startup ต่าง ๆ พี่ถามเลยว่าคุณมีคนทำ Tech ในทีมกี่คน แล้วก็เรื่องผู้ก่อตั้ง พี่จะดูว่า Founder นั้นคุณมาด้วยกันแล้วจะแตกกันเมื่อไหร่หรือเปล่า เรามองภาพตรงนี้จริง ๆ เราอยากจะช่วยให้มันเกิดขึ้นมา
หรือบางคนที่พี่ลงทุนไป พอลงทุนเสร็จคุณจะออกจากบริษัท คุณยังไม่บอกเราเลย เรามารู้ทีหลังว่าคุณออก แต่ตอนที่คุณมาหาเราขอให้เราช่วยลงทุน คุณมากันบอกว่าโอเค ก็มาหาพี่ว่าเขาทำบริษัทนี้ด้วยความตั้งใจ คุณคิดว่าคุณมีปัญหาข้างในกันขึ้นมาแล้วอยู่ ๆ คุณออกไปแล้ว ทิ้งคนซึ่งเราไม่รู้จักเอาไว้ เรารู้จักคุณ เราถึงลงทุน เรายังถามว่าคุณมั่นใจนะ เพราะพี่ให้เงินไป พี่เชื่อในตัวคุณ อีกคนหนึ่งพี่ไม่รู้จักอย่างนี้ พอคุณออกโดยไม่บอกพี่ แล้วพี่มารู้ทีหลังว่าออกไปแล้ว ก่อนจะออกยังมีการตอบกลับให้พี่ว่า เราใส่เงินเข้าไปเหมือนเป็นเงินกู้ขึ้นมา ซึ่งเราถามว่าคุณรู้อยู่แล้วว่าเหตุการณ์มันไม่ดีใช่ไหม กล้ามาเอาเงินก้อนที่ส่งจากพี่อีกเหรอ แล้วตอนหลังเอาดอกไม้มากราบขอโทษพี่บอกดอกไม้คุณ 1 ช่อกับเงินพี่ 60 ล้านมันคุ้มไหม พี่บอกพี่ผิดหวังมาก
พี่ก็ลงทุนไปไม่กี่บริษัทน่าจะสัก 5 บริษัท ที่เลือก 5 บริษัทเพราะว่าพี่เลือกกับสิ่งที่ relate กับธุรกิจของบริษัท ส่วนมากพี่ลงต่างประเทศ
ในจำนวนนี้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีหมดเลยไหม
สิ่งที่เขาทำก็คือว่าปีแรกได้เงินแล้วไปขยายธุรกิจใหญ่โต ขยายคนเพิ่ม 2-3 เท่าตัว พี่ถามว่าภายในไม่กี่เดือนคุณเพิ่มคนขนาดนี้แล้วคุณจะควบคุมได้ยังไง ขนาดบางบริษัทมาปรึกษาพี่ พี่ก็ห้ามแล้วนะบางคนมาถึงบอกว่าจะจ้าง C Level พี่ก็ถามว่าคุณจะจ้าง Director เต็มไปหมดเลย คุณเป็น Founder 3 คน คนนึงเป็น CEO เป็น CTO แล้วก็จะจ้าง Director เต็มไปหมดเลย พี่ถามว่าขอโทษนะแล้วคุณ 3 C ไม่ทำงานแล้วเหรอพี่ลงทุนคุณเพราะต้องการให้คุณทำงานไม่ใช่คุณจ้าง Director มาทำงานแทนคุณแล้วถาม Director คุณจะตั้งมาทีเดียว 5 คน 5 แผนกทำไม คำถามพี่ก็คือว่าแล้วคนที่มาใหม่เขาจะรู้เรื่องเหรอ คุณขยายแบบนี้ได้เหรอ อะไรอย่างนี้ จะจ้างใครสูงมาจากบริษัทใหญ่จะมาลงทุนตามมันใช่เหรอ
ขนาดเอา HR เราไปช่วยสกรีนแล้วนะ พี่ช่วยขนาดนี้แล้วนะไม่งั้นหนักกว่านี้อีก แล้วตอนหลังพี่ก็จะให้เขาเจอพี่ไตรมาสละครั้งก็จะสอนให้โค้ชให้ พอตอนหลังแบบเชื่อมั่นตัวเองสูงมาก จนกระทั่งพี่บอกว่าถึงจุดนึงพี่ต้องพูดแล้วล่ะพี่จะไม่เข้าเจอเขาอีกแล้ว พี่จะพูดในวันนี้คุณจะอาจจะโกรธพี่ก็ได้ แต่ถ้าคุณเข้าใจ คุณจะเปลี่ยนเป็นอีกคนนึง แต่ถ้าเกิดว่าคุณไม่เข้าใจพี่ว่าชีวิตคุณจบละ คุณคิดใหม่แล้วกลับตัวได้นะ พี่พูดแรงขนาดนั้นให้สติกันแหละ จบแล้วพี่ก็จบแค่นั้น พี่ถือว่าพี่พูดในสิ่งที่พี่ต้องการพูดแล้ว
Startup 5 บริษัทที่ลงทุนไปตอนนี้
จำได้ไหมน้องคนแรกกลับมาที่พี่เล่าว่า ได้ว่าไปเขากลับมาแล้วมาขอบคุณพี่ขอบคุณที่เตือนสติผมในวันนี้ แล้วพี่เชื่อว่าเขาจะกลับมาได้จากที่เราลงทุนไปคือมันหายไปแล้วละ จากขาดทุนมายับเยินตอนนี้เริ่มมีกำไรแล้ว เขาก็บอกเขาจะเข้าตลาด พี่ได้ยินแบบนี้ก็พี่โอเคนะ พี่บอกถ้าเกิดพี่ไม่พูดเด็กมันก็อาจจะคิดไม่ได้ แต่เกิดพูดแรงไปอาจจะโกรธพี่อย่า แต่เด็กคิดได้อย่างนี้พี่โอเค
นิยามของการมาขอเงินลงทุนจาก WHA ขาดทุนไม่ได้เลย?
ขาดทุนได้พี่ไม่ได้บอกว่าพี่ลงทุนพี่ต้องปันผลกำไร แต่ที่พี่ต้องดูสิ่งที่คุณทำถ้าคุณทำแล้วสุดความสามารถคุณคุณทำอย่างมีสติแล้วมันมีผลแบบนี้พี่ไม่ได้ว่าอะไร แต่ถ้าคุณไม่มีสติแค่คุณคิดว่ามันจะไปแล้วคุณก็ไปเพิ่มคนเพิ่มนู่นเพิ่มนี่ แล้วอีกภายในไม่กี่เดือนคุณต้องลดคน คุณเพิ่มคนจาก 30 คนขึ้นไปถึง 100 กว่าคนอีก 6 เดือนต่อมาก็รู้ว่ามันไม่ใช่ขึ้นมาทุกอย่างเจ๊งไปละ จากนั้นลดคนจาก 100 คนเหลือ 30 คน พี่ก็งงกับการทำงานว่าแบบนี้คืออะไร เพราะพี่บอกแล้วพี่ลงทุนเพื่อจะช่วยพวกเขาพี่ไม่ได้ลงทุนเพราะต้องการกำไรถ้าพี่ต้องการกำไรมาก ๆ พี่ทำธุรกิจพี่เองพี่ก็กำไรเยอะ พี่อยากจะช่วยแต่คอนเซ็ปต์ความคิดต้องมีสติ อย่างบางคนมาสารภาพบาปนะ ผมคิดอย่างนี้อย่างนี้ขึ้นมาแล้วมันก็พลาดจริง ๆ อย่างนี้คุยกันต่อได้ ผิดตรงนี้แล้วคิดยังไงแก้ยังไงแบบนี้พี่คุยต่อ
พี่จูนมองตลาด Startup ในประเทศไทยอย่างไร
พี่ว่าเราไปตามเขาโดยที่เราไม่รู้ของเรามีของจริงรึเปล่าเมื่อหลายปีก่อนพี่ไป Silicon Valley มีแต่คนออก White Paper แค่เขียนเขี่ย ๆ มา 1 แผ่นก็ได้เงินเป็น 100 ล้านแล้วเด็กหนุ่ม ๆ อายุ 20 ยังไม่จบมหาวิทยาลัยเลย พี่ก็งงมากเขียนกระดาษ 1 ใบมันได้ 100 ล้าน
จำได้ว่ามาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ให้เงิน 2,000 ล้านเหรียญกับเด็กเล่นเกมคนหนึ่งชื่อว่า Palmer Luckey ที่มาเสนอแว่น VR รับตังค์เสร็จสักพักลาออก อันนี้ก็เป็นมุมนึงที่มาร์คอาจจะคิดว่าจะเจอ Another มาร์ค เลยให้ 2,000 ล้านเหรียญไป คิดว่าจะเป็นเหมือนเขาได้ ซึ่งคนเรามักจะมองคนอื่นเหมือนที่เราเป็น อย่างพี่ตั้งใจแล้วพี่ขยันพี่อดทน คนอื่นก็น่าจะคิดว่าเป็นเหมือนพี่ กว่าจะมาเข้าใจว่าคนอื่นไม่ได้เป็นเหมือนเราทั้งหมดเราก็ต้องระวังมากขึ้น
แต่บางครั้งพี่คิดว่าหลาย ๆ คนที่เป็นผู้ใหญ่อยากจะให้โอกาส แต่ประเทศไทยเราจะสร้างคนแบบนี้หรือเปล่า เราไม่ได้ sharp ขนาดนั้น Tech ของเราไม่ได้ Deep ขนาดนั้น สิ่งที่ต้องสร้างให้ได้ก่อนคือสร้าง Integrity ให้ได้ ก็คือความซื่อสัตย์ ความเชื่อมั่น ความไว้ใจกันในแบบนี้ คุณต้องสร้าง Culture ในแบบนี้ให้ได้ก่อน
Startup ต้องมองเงินลงทุนเป็นภาระในการจะทำให้สำเร็จไม่ใช่เป็นเงินรางวัล
Startup มันคือ Start เริ่มต้นมันคือเริ่มต้นแล้วคุณบอกคุณได้รางวัลตั้งแต่คุณเริ่มต้นเหรอ คุณยังไม่ได้วิ่งสนามจริง ในการวิ่งแข่งมันยากขนาดไหนคุณยังไม่เริ่มวิ่งเลยคุณจะเอารางวัลแล้วเหรอ ชีวิตจริงคุณยังไม่ได้เจอเลยแค่คุณขายไอเดียแล้วคนเชื่อคุณ คุณยังไม่ได้ปฏิบัติเลย
หนุ่ย พงศ์สุข : วันนี้นั่งสัมภาษณ์กับพี่จูนนะสารภาพว่าผมคนสัมภาษณ์เนี่ยรู้สึกเหมือนโดนด่าเองอยู่นะครับตอนนี้แต่ก็รู้สึกถูกต้องแหละที่ต้องพูดกันตรง ๆ เพราะว่าสังคมเราพูดอ้อม ๆ กันมาเยอะ วันนี้มันเป็นคำตอบว่าทำไม Startup ไทยถึงไปไม่ถึงฝันกันซะส่วนใหญ่ ก็เพราะว่าอาจจะไม่ได้มองเรื่องเครดิตความน่าเชื่อถือของการรับเงินเอามาทำให้สำเร็จ
เรื่อง 5% นี่นะคะมันไม่ใช่แค่เรื่อง Startup 5% พี่บอกเลยนะกี่ 10 ปีที่ผ่านมาการทำธุรกิจมีการเปิดตัวบริษัทใหม่ปีนึงเปิด 100 บริษัท เหลืออีก 5 ปีจะเหลือแค่ 5 บริษัท มันคือตัวเลขแบบนี้ พอพูดเป็น startup ก็ Success คือ 5% มันคือ Succession Rate ของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Startup หรือจะเปิดบริษัท SME หรืออะไรก็ตาม Succession Rate มันคือ 5% แล้วจะทำอย่างไรให้คุณเป็น 5% และให้รอดภายใน 5 ปีไม่ใช่บอกว่า ผมแต่งตัวดี ผมชนะรางวัล ผมใส่เสื้อดี รองเท้าวิ่งผมอย่างดี ชุดผมพร้อมวิ่งมากเลยเพราะฉะนั้นต้องให้รางวัลผม คุณยังไม่เริ่มวิ่งเลยของจริงคือวิ่งไปถึงเส้นชัยภายในกี่วินาที อันนั้นน่ะเขาไปเอารางวัล
ขีดความสามารถของ Startup Gen Z เป็นอย่างไรในปัจจุบัน
พี่เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเด็ก ๆ นะคะ แล้วพี่ก็เป็นคนเชื่อมั่นในเด็กไทย แล้วพี่เป็นคนเชื่อมั่นในคนไทย พี่เชื่อมั่นว่าคนเราสามารถคว้าทุกโอกาสที่มาถึงเราได้ พี่ก็เติบโตจากที่พี่ไม่มีอะไร พี่มีความฝันอันยิ่งใหญ่ของพี่ พี่ต้องการสร้างธุรกิจของพี่ พี่ก็เดินตามความฝันของพี่ แต่ความฝันของพี่อยู่บนความเป็นจริงที่มันจะเกิดขึ้น พี่ไม่ได้นั่งฝันแล้วก็ฟุ้งเฟ้อว่าพี่จะต้องรวยนะคะ พี่ได้ไม่นั่งดูหนังไทยพี่จะเจอเจ้าชายแล้วแต่งงานแล้วไปรวยอยู่ในวังนั่นมันบ้าบอคอแตกมากเลยเลย นี่คือการสร้างความเพ้อฝัน คุณจะวางแผนชีวิตของคุณสิ่งแรกต้องรู้ตัวคุณเองให้ได้ก่อน รู้ว่าคุณมีความสามารถขนาดไหน นี่คือของที่ติดตัวคุณมา พี่เรียกว่าต้นทุน และคุณมีความชอบอะไรเพราะพี่บอกว่าคนเรามันต้องทำงานด้วยความสุข คุณทำงานทั้งวัน ถ้าคุณทำงานแล้วทุกข์กับมัน แล้วเราจะทำไปเพื่ออะไร คุณต้องมีความสุขในงานที่คุณจะทำ รักมันมีความสามารถอะไร รักมันใช่ไหม รักในงานตรงนี้ใช่ไหม แล้วขาดอะไร จุดอ่อนคุณคืออะไรก็เติมมันไป เรียนรู้ไป ตอนฝึกงานก็ถามนู่นถามนี่ไม่ใช่คิดว่าข้ารู้ทุกเรื่อง ถ้าคิดว่าข้าทุกเรื่องก็คือจบชีวิตคือหมดแล้ว เติมเข้าไปตั้งใจขยันหาโอกาส และการหาโอกาสคือไม่ใช่การนั่งอยู่เฉย ๆ
พี่เคยทำงาน 24/7 เสาร์อาทิตย์พี่ไม่เคยหยุดพี่ไปหาโอกาส ไปหาคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่พอจะรู้จัก ไปฟังความรู้ฟังนู่นฟังนี่ไปดูงาน ทำทุกอย่างเพื่อจะหาช่องทางในอนาคตที่มันจะเกิดขึ้นให้ได้ คนจะรุ่นไหนก็ตาม Gen X, Y, Z หรือ C มันก็เหมือนกันทั้งหมด
พี่ก็เคยเป็นเด็กในอดีตพี่ก็ดื้อ พ่อแม่สอนพี่ฟังที่ไหน พี่บอกว่าพ่อแม่อย่าขีดกรอบชีวิตพี่ พี่ต้องเลือกทางเดินชีวิตพี่ พี่เรียนจบจ้างเงินเดือนพี่ได้เงิน 3 เท่าแต่พี่จะเป็นลูกน้องเขาพี่ก็ไม่เอา พี่ก็มาแบบนี้ของพี่ แต่คุณจะต้องมีของ คุณจะต้องทำมันให้ได้ พิสูจน์ให้ทางพ่อแม่คุณเห็นว่าทำได้จริง ๆ
ไม่ว่าคุณจะ Gen อะไรก็ตาม คุณจะตั้งใจไม่ตั้งใจ Gen ทุกวันนี้ดีกว่าสมัยพี่ด้วยซ้ำไป สมัยพี่กว่าจะหาหนังสืออ่านได้ต้องเข้าห้องสมุด โบราณมากห้องสมุดสมัยก่อน แต่สมัยนี้คุณหาข้อมูลได้ทั่วโลกเลย คุณหาได้แถมมี AI มาช่วยคิดแทนคุณอีก แต่ใช้ AI เรื่อย ๆ ก็จะโง่นะเพราะวิเคราะห์เองไม่เป็น เขาคิดแทนคุณหมด ขอให้ AI วิเคราะห์ให้
แต่ปัญหาคือเดี๋ยวคุณจะเชื่อที่ AI วิเคราะห์ คุณต้องวิเคราะห์เองถ้าให้เจ๋งจริง ๆ คุณดูก่อนแล้วคุณคิดก่อนว่าคุณคิดอะไรคุณจะวิเคราะห์แบบนี้แล้วคุณถาม AI ถ้า AI มันตอบดีกว่าคุณ แล้วจึงนำไปต่อยอด แต่ไม่ใช่ไปถามทุกเรื่องเพราะสมองจะฟ่อเพราะฉะนั้นก่อนจะใส่ Prompt กับ AI คิดก่อนว่าเป็นเราจะตอบยังไง แล้วพอมัน Generative ออกมาเราก็นำไปเทียบได้ ถ้ามันดีกว่าเราดูเป็นต้นแบบ แต่ถ้ามันดีไม่เท่าเราแต่เดี๋ยวมันก็จะดีกว่าเราแหละเพราะเขาได้ข้อมูลของเราไป คือ AI เขาเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ที่คนใส่เข้ามา กว่าคุณจะเป็นคุณใช้เวลากี่ปีในการเป็นคุณแต่ทุกวันนี้ AI มันทำได้โดยใช้เวลาไม่นานเพราะมี Data
เราพูดมานานว่า Big Data นี่แหละคือ Big Data ของจริงแต่ว่ามันมาเป็นเรื่อง analyst ถูกวิเคราะห์ขึ้นมา เราจะอยู่อย่างไรในโลก AI อันนี้คือเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เด็กรุ่นนี้มีโอกาสมากกว่าเด็กรุ่นที่แล้วเยอะเช่นกัน เด็กรุ่นหน้าก็มีโอกาสมากกว่าเด็กรุ่นนี้ เพราะฉะนั้นอยู่กับปัจจุบันนี่แหละ อยู่ให้เห็นเลยว่าสิ่งที่คุณมีอยู่ โลกทั้งหมดมีอยู่ คุณจะใช้ประโยชน์อะไรได้กับตรงนั้นขึ้นมา อย่ามัวแต่โทษฟ้าดิน และอย่าโทษใคร ถ้าคุณมัวแต่โทษคนอื่น คุณจะไม่เคยรู้ตัวเองแล้วคุณจะไม่มีเวลาวิเคราะห์ตัวเองคุณจะไม่มีเวลามานั่งดูว่าจะไปข้างหน้ายังไง อย่าไปสนใจอย่างอื่น สิ่งอะไรที่มันดี เอาเรื่องบวก ๆ Think Big Think Positive เอาเรื่องดี ๆ มาคิด ถ้าคุณ Think แต่ Negative ชีวิตคุณจะไม่เหลืออะไรที่มันดีเลย คิดแต่เรื่องบวก ๆ เอาไว้
กว่าจะมาเป็น CEO WHA Group
มันยากมากกว่าพี่จะมีวันนี้ มันก็ยากมากพี่ต้องปากกัดตีนถีบนะซึ่งมันยิ่งกว่านั้นอีก เพราะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มันโตขึ้นมา แต่มันต้องโตขึ้นมาแบบที่คนอื่นต้องไม่เดือดร้อน ไม่อย่างนั้นทุกวันนี้เราพูดอะไรไปคนเชื่อถือหมด คำพูดพี่บอกว่าแค่ไม่ต้องมีสัญญาแค่คำพูดพี่นี่มันเชื่อมั่นได้ยิ่งกว่าสัญญา คุณทำอย่างนี้ได้หรือเปล่าถ้าคุณทำได้คุณก็เจริญ
วันนั้นพี่ถึงพูดแรงมาก เพราะคุณต้องเข้าใจถ้าคิดจะโต คุณต้องมองภาพตรงนี้ให้ได้ว่ามันคืออะไร แล้วมันต้องสู้มันต้องอึด มันต้องอดทนใคร ๆ ก็อยากรวยใช่ไหม แต่จะถึงจุดนั้นกี่คนมันไม่ได้ฟลุ๊คนะ ทุกอย่างมันไม่ไม่ได้มาด้วยความฟลุ๊ค
รู้ไหมพี่ทำธุรกิจตอนแรก 31 ปีก่อนที่ตั้งบริษัท Trading ปีกว่าที่พี่ขับรถไปแสนกว่ากิโลขึ้นเหนือล่องใต้แล้วพี่ก็เป็นผู้หญิง คือตอนนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีต้มยำกุ้งอะไรต่าง ๆ ค่าเงินบาทลอยตัวทุกอย่างมันแย่หมด พี่ไม่จับลูกค้าเอกชนเอกชนมีแต่เจ๊งไง พี่ถึงจับลูกค้าราชการพอมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจรัฐบาลต้องคุมการใช้งบ ก็ขับรถขึ้นเหนือล่องใต้ พี่ไม่ได้ค้างคืน พี่ก็ไม่กล้าไปค้างคืนตอนนั้นพี่อายุ 20 กว่าเอง และในตอนนั้นพี่ขับรถไปมีลูกน้องผู้หญิงนั่งไปด้วยคนหนึ่ง พี่ไม่กล้าจ้างคนขับรถผู้ชาย เพราะพี่เป็นผู้หญิง อีกอย่างคือพี่นั่งรถพี่ชอบหลับ พี่ขับรถไปไกล ๆ อย่างเช่นจังหวัดอุตรดิตถ์พี่ขับจากบ้าน 4:00 น. เพื่อขับไปถึงอุตรดิตถ์ขึ้นไปไปถึงตอนเช้าแล้วพี่ค่อย ๆ เจอลูกค้ารายแรก 9:00 น. แล้วพี่ก็ขับไล่ ๆ มาถึงนครสวรรค์คือ 16:00 น. พี่กลับเข้ากรุงเทพ 19:00 น.อย่างนี้ พี่ก็เป็นของพี่แบบนี้ ถามว่ามันลำบากมากกับตรงนั้นขึ้นมาค่อนข้างมุทะลุกับสิ่งที่ก่อร่างสร้างมา พี่จูนก็คือ Startup ยุคนั้นเหมือนกันเพียงแต่ว่ามันยังไม่มีศัพท์นั้นในวันนั้น และพี่ไม่สามารถกู้แบงค์ได้โดยที่พี่ยังขาดทุน บริษัทต้องมีกำไรเล็กน้อยถึงจะเริ่มกู้แบงค์ได้
รับมือกับสถานการณ์อย่างไรกับสินค้าจีนบุกไทย
มันเป็นปัญหาที่เกิดจากปัญหาในหลายปีที่ผ่านมา คนที่เราทำธุรกิจต่าง ๆ พี่ก็ต้องพูดอย่างเห็นใจนะคะว่ามันยากจริง ๆ พี่เคยเห็นภาพ แล้วต้นทุนเรา 10 บาทจีนเอาเข้ามาขาย 3 บาท แล้วคุณจะขายแข่งยังไง ขาดทุน 7 บาทเลย สมัยก่อนตอนที่พี่ทำบริษัทแรกทำเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก Product พี่ทำของเด็กเล่นด้วย ของเด็กเล่นคุณก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าเกิดนำเข้าจากจีนมันถูกมาก แต่พี่อยู่ที่ประเทศไทยอยู่ไกล เพราะฉะนั้นพี่ทำของชิ้นใหญ่ ๆ ถ้าขนมาขนไม่ยากหรอกแต่ค่าส่งมันแพง สิ่งที่พี่ทำคืออุโมงค์อันใหญ่ ๆ อุโมงค์ใหญ่ ๆ แปลว่าอะไร คือมันเป็นท่อ มันต้องมีตรงกลาง เหมือนคุณขนอากาศมา แต่ละอย่างที่พี่ทำคือสิ่งที่ว่าจุดได้เปรียบของเราคืออะไร ต้องคิดก่อนเราอยู่ที่ประเทศเรา อยู่ที่ตรงนี้ถ้าคุณไปแข่งทำของชิ้นเล็กขนส่งถูก ๆ นะคุณก็ตาย แต่แข่งของชิ้นใหญ่ของเด็กเล่นมีเยอะแยะ พี่ทำ Playground พี่ทำของใหญ่ ๆ ขึ้นมา เพราะว่าอะไรคุณก็ขนอากาศมาแข่งกับพี่สิเพราะฉะนั้นพี่ก็ชนะไง เพราะต้นทุนเรื่องขนส่งพี่ชนะพี่ถึงขายได้ดีมากมาย
พี่ตีตลาดจีนด้วยเพราะก่อนหน้านี้มีคนนำตลาดจีนเข้ามา พี่บอกว่าพี่อยู่ตรงนี้ พี่ผลิตเองขึ้นมา กลายเป็นว่าคนที่นำของเข้าจากจีนมาซื้อของพี่ไปขาย อันนี้คือสิ่งที่พี่ทำแต่เดี๋ยวนี้พี่ไม่ได้ขาย Product ตรงนั้นอีกแล้ว แต่ละเรื่องมันก็มีจุดดีจุดแข็งวิเคราะห์เรื่องให้มันออกว่ามันคืออะไร ในเมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่าเขามีกำลังการผลิตต้นทุนแถมรัฐบาลสนับสนุนแบบนี้ด้วยนะ คุณจะแข่งกับเขาหรือเปล่า ก็เหมือนที่พี่บอกว่าทางด้าน e-commerce โตมากเลยแพลตฟอร์มโตมากเลยแต่ที่เจ๋งคือ Express แข่งกันขาดทุน เพราะคิดว่าใครมีเงินมากกว่าจะให้อีกคนนึงพังไปมันก็เลยพังกันหมด แข่งกันขาดทุน
พี่ไม่เคยคิดทำเรื่อง Pricing Strategy เลยนะ ธุรกิจอะไรที่แข่งกันเรื่องราคาอย่างเดียวพี่บอกว่าพี่ไม่ทำเพราะว่ามันไม่มี Value
ทำไม Warehouse ของ WHA ถึงโต
พี่ทำ Warehouse เมื่อ 21 ปีก่อนเปิด WHA คุณคิดว่ามี Warehouse ไหมก็เรียกโกดังเต็มไปหมดถามว่าทำไมพี่โตกับพวกนั้นเยอะมากมายสิ่งที่พี่เข้าไปดู Warehouse มีคนทำกันเยอะแยะแต่ว่ามาตรฐานมันคืออะไร มันคือ Very Poor Standard คือ Warehouse สมัยก่อนที่เขาทำก็จะตอกเข็มบ้างไม่ตอกเข็มบ้างพื้นใช้ไปทรุดไปหรือตอกเข็มก็แค่ 2 ตันโหลดความสูง 6 เมตรขึ้นมา ร้อนก็ร้อนก็อยู่สภาพนั้นกันไป เช่ากัน 70 บาท 80 บาทต่อตารางเมตร พี่มาถึงเสร็จให้พี่ทำอย่างนี้แข่ง Pricing ราคาอย่างเดียวพี่ก็ไม่เอา เวลาเศรษฐกิจดีมันก็คนเช่าเต็ม เศรษฐกิจไม่ดีก็ลดราคาแข่งกัน Originate Built to Suit Concept เข้าตลาดเมืองไทยจริง ๆ น่าจะเป็นที่แรกของโลกด้วย Built to Suit Concept ก็คือพี่บอกไปเลยว่าคุณต้องการอะไรพี่จะสร้างตาม Requirement เหมือนกับตัดสูทให้คุณ ถ้าคุณใส่สูทพี่คุณใส่สบาย คุณหล่อคุณไปทำธุรกิจคุณหาลูกค้าได้เช่นกันค่ะพี่ก็จับกลุ่มลูกค้าระดับบนก่อนเลยตอนนั้นพี่จับกลุ่มที่ทำทางด้านตัวบริษัทที่เป็นท็อปของประเทศเป็น Distributor ซึ่งเขาต้องการ Product แบบนี้แต่ว่ามันไม่มี Product ในเมืองไทยแบบนี้
พี่คุยจาก Requirement พี่ออกแบบจากภายในสู่ภายนอก โดยเริ่มจากการดูเรื่อง Operation ก่อนว่า ต้องการอะไรแบบไหน เช่น Warehouse แบบไหนที่เรียกว่า Distribution Center ซึ่งไม่ใช่ Warehouse เพราะ Warehouse หมายถึงคลังสินค้า เป็นการจัดเก็บ inventory แต่ธุรกิจที่พี่คิดเมื่อ 21 ปีก่อน พี่คิดว่าจะจัดเก็บให้น้อยที่สุดและ Distribute ให้เร็วที่สุดเพื่อลด Inventory Time ดังนั้นจึงทำเป็น Distribution Center จากการออกแบบหน้าท่า (ท่าเทียบรถ) ถ้าเป็นคลังสินค้าจะมีลักษณะหนึ่ง แต่พอเป็น Distribution Center จะมีหน้าโหลดเยอะ ๆ เพื่อให้เข้าออกได้เร็วที่สุด ลดต้นทุนลูกค้า
พี่บอก consolidate จากใช้ 7-8 ที่มารวมเป็นที่เดียวกัน 53,000 ตารางเมตร อาคารที่พี่สร้างหลังแรกใหญ่ที่สุดในเอเชียในตอนนั้น In one Roof เท่ากับ 8 สนามฟุตบอล ลูกค้าพี่รายหนึ่งเคยใช้คลังประมาณ 8,000 ตารางเมตร ใช้คนงาน 600 คน ตอนนี้อยู่กับพี่ 53,000 ตารางเมตร คนงานก็เหลือ 600-700 คนเท่าเดิม เพราะการดีไซน์ดี ออกแบบให้ไม่ต้องใช้คนเยอะ นี่คือการดีไซน์ Built to Suit พี่สร้างโลจิสติกส์ สร้าง Warehouse จนเป็นเบอร์ 1 ของประเทศซึ่งต่างชาติก็ชอบ
การคิดและวิเคราะห์ให้แตกต่างสำคัญมาก พี่ชอบสอนคนให้สงสัย อย่าเชื่อโดยไม่คิด คิดให้แตกต่าง อย่าเลียนแบบแล้วจะได้อะไรแปลก ๆ พี่ทำนิคมอุตสาหกรรมเมื่อปี 2015 ซื้อนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คนถามว่าพี่ซื้อทำไม เพราะคิดว่านิคมอุตสาหกรรมเป็น Sunset Business แต่ตอนนี้ทุกคนชื่นชมหมดเลย พี่ไม่ได้ทำเหมือนเดิม หากทำเหมือนเดิมก็อาจจะเหมือนเดิม มีอยู่แล้วก็ได้ พี่เปลี่ยนใหม่หมด พี่ปรับเปลี่ยนทางด้านเป็น Smart Eco Friendly นิคมอุสาหกรรมปรับทางด้านเทคโนโลยีเข้าไป ถึงเวลาลูกค้าต่างชาติมาอยู่ที่พี่ได้หมด แล้วแบรนด์ดัง ๆ อยู่กับพี่หมด มันตอบโจทย์หมด
พี่ปรับ infrastructure เรื่องพลังงานเป็นพลังงานสะอาด เรื่องน้ำทำระบบ Reuse อะไรอย่างนี้ แล้วพี่ก็สร้างใหม่พี่กำลังสร้างใหม่ทำเรื่อง Green Logistics ทำต่าง ๆ มากมาย เห็นมั้ยคะอย่าคิดว่าเราหมดโอกาสน้อง ๆ รุ่น ใหม่อย่าคิดว่าเราไม่มีโอกาส จริง ๆ มีโอกาสมากมาย ยิ่งตรงนี้โอกาสยิ่งมาก มันเป็นเรื่องเทคโนโลยี AI มาคนรุ่นเก่าไม่รู้จัก AI คุณรู้เรื่องพวกนี้เอามาสร้าง Business ได้ไหมสร้างรายได้ได้ไหมอะไรแบบนี้
เทคนิคความสำเร็จ ทักษะเจรจาลูกค้า?
ก่อนที่คุณจะเจรจาต่อรองอะไรกับใครคุณต้องรู้เขารู้เรา คุณต้องรู้เขาต้องการอะไร เรามีจุดแข็งคืออะไร ทำไมเราต้องต้องการเขา ต้องทำให้เขาต้องการเรามากกว่าเราต้องการเขา คุณทำได้เปล่า อยากให้เขามาพึ่งเราหรือต้องการเรา มันต้องหลายอย่างประกอบกัน บุคลิกก็สำคัญกับความเชื่อมั่น พี่เล่นไพ่ไม่เป็นนะแต่คนที่เล่นไพ่เกทับกันด้วยหน้าตาแววตา ความเชื่อมั่น ถึงแม้ความจริงจะแพ้แต่ทำหน้าตาชนะอะไรประมาณนั้น พี่ว่าไอ้พวกนี้มันคือการเกทับกันในเรื่องแบบนี้ แต่จริง ๆ แล้วความจริงใจ บางทีมองหน้าแล้วมองตาเสร็จรู้สึกได้ว่าคนนี้เขาเชื่อ ลูกค้าพี่เชื่อมั่นพี่สูงมากคือการที่ทำธุรกิจแบบนี้มันคือเรื่องของความเชื่อมั่น
ลองคิดดูพี่ทำนิคมอุตสาหกรรมหรือโลจิสติกส์ ลูกค้าต่างชาติเขามาประเทศไทยเขาต้องหาคนที่เขาไว้ใจได้ ก็เหมือนเราไปต่างประเทศอ่ะมันไม่ใช่ท้องที่ของเรา เราต้องเจอคนที่เราไว้ใจได้ ลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมยิ่งกว่าการแต่งงานอีกนะ แต่งงานสินสอดเท่าไหร่อย่างมากก็ 100 ล้าน แต่ลงทุนในนิคมทีหมื่นล้าน มันเลิกยาก เพราะมาตั้งรกรากตั้งโรงงาน เวลามีปัญหาขึ้นมาแล้วช่วยเขาไม่ได้ จนเขาต้องปิดโรงงาน คือความเชื่อมั่นที่มันต้องมีขึ้นมาซึ่งตรงนี้ของเราเกินร้อย
พี่ว่าสิ่งแรกเราต้องมีของมีของให้เขารู้ว่าเราใช่ เราคือของจริงก่อน แล้วคุณค่อยต่อรอง ส่วนมากการต่อรองไม่ได้ก็คือเป็นเรื่องการเจรจาต่าง ๆ แต่จีนก็จะมีคนที่เก่งมากในการต่อรอง บางทีจบไปกระทั่งเซ็นสัญญา MOU แล้ว เซ็นกันเรียบร้อยแล้วจะไปลงสู่สัญญาจริง ก็มีการต่อรองกันก่อนที่จะไปสู่กระบวนการเซ็นสัญญาจริง ในเมื่อถ้าเกิดเขาจะมาขอเจรจาเพิ่มเขาต้องการได้เปรียบ พี่ก็คุยกับระดับผู้ใหญ่ว่าจะทำไงให้เราเทรนคนของเราให้ต่อรองเก่งบ้าง คือคนของเขาบางทีอายุ 20 กว่าเองนะที่มาดีลงาน มีความครบเครื่องในการต่อรอง จะทำยังไงให้คนของเรากล้าและครบเครื่องแบบนั้น
สมัยก่อนพี่เปิดบริษัทแรกพี่เป็นเจ้าของบริษัทแต่พี่ไม่ได้บอกพี่เป็นเจ้าของบริษัท พี่บอกพี่เป็นแค่ MD มีเจ้านายพี่อีก ถามว่าทำไมตอนนั้นบริษัทพี่เล็กแต่ดูดี ถ้าพี่บอกว่าพี่เป็น MD เป็นลูกน้องเขา เขาต้องคิดว่าบริษัทพี่ใหญ่มากถึงจ้างพี่ได้ แต่ถ้าพี่บอกพี่เป็นเจ้าของบริษัทเขาจะคิดว่าเด็กคนนี้อายุแค่นี้เป็นเจ้าของบริษัทมันจะรอดไหม แต่ไม่เหมือนสมัยนี้เพราะสมัยนี้ก็จะแยกเป็น CEO เป็นสารพัด C ตำแหน่งใหญ่มาก แต่ว่าของพี่มันคือสมัยก่อนคนเขาไม่รับหรอกว่าพี่อายุ 20 มันต่างกัน
แล้วมันมีทางถอยในการเจรจาตกลงกัน บางทีพี่รู้ว่ามันทำได้แต่พี่รู้แล้วว่าเราให้ไปเขาต้องต่อพี่เพิ่ม หรือมันให้ง่ายไปก็รู้สึกว่าไม่ภูมใจ ลูกค้าเราเขาจะมีความภูมิใจว่ามันได้ยาก พี่ก็เลยบอกว่าเดี๋ยวพี่ขอกลับไปถามเจ้าของก่อนนั่นคือทางถอยของพี่ หรือบางครั้งมันต่อไม่ได้แล้วจริง ๆ ถ้าคุณปฏิเสธเขาเลยอาจจะโกรธเราก็ได้ เดี๋ยวเขากลับไปถามก่อน แล้วกลับมาบอกกับเขาใหม่ว่ามันไม่ได้แล้วจริง ๆ เพราะไปต่อรองกับเจ้านายแล้วมันขาดทุนแล้วก็ว่ากันไป เขาไม่โกรธเราเขาก็ซื้อนี่คือการเจรจาต่อรอง เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นเราต้องเป็นเบอร์ 1
ส่วนลูกน้องของพี่ พี่ก็จะมีขอบเขตให้เขาแล้วแต่ตำแหน่งเขา แต่ละตำแหน่งจะมีสิทธิ์เจรจาต่อรองได้ระดับไหน ถ้าหากมันเกินจากนั้นต้องถามใคร หรือต้องมาถามพี่เพราะไม่ฉะนั้นเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องตัดสินใจอะไรเลย เราต้องให้เขาตัดสินใจไม่อย่างนั้นถึงเวลาคุณก็ต้องมาดูในทุกเรื่อง ในความเป็นจริงมันไม่ได้หรอกเพราะเด็กก็ไม่เติบโต
จุดแข็ง จุดอ่อน การลงทุนบ้านเรา?
ต้องบอกว่าแต่ละประเทศมันก็มีจุดแข็งกับจุดอ่อนไม่เหมือนกัน ไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ซึ่งแต่ละประเทศต้องมีจุดแข็งของตัวเองถึงดึงการลงทุนเข้าไปได้ เพราะฉะนั้นธุรกิจต่าง ๆ ต่างชาติที่จะเข้ามาแต่ละที่ เขาไม่ได้บอกว่าเขาจะมาไทยเลยหรือจะไปเวียดนามเลย เขาเรียกภูมิภาคนี้ว่าเป็น South East Asia มองเราเป็นก้อนเดียวกัน เขาจะมองประเทศไหนมันขึ้นอยู่ที่ว่าบริษัทนั้น ๆ ทำอุตสาหกรรมอะไรและมีความต้องการอะไร
เช่นที่บอกว่าพี่สามารถดึงการลงทุนทางด้าน EV มาจนกระทั่งเราเป็น EV Hub ได้ไม่ว่าจะเป็น BYD GWM Changan MG อยู่กับพี่หมด ซึ่งถ้าเกิดย้อนไปสัก 3 ปีก่อนจะมีใครเชื่อไหมว่าเราจะมีวันนี้ เราก็นึกว่าจีนก็คงจะมาขายแป๊บ ๆ แล้วก็กลับประเทศหรือไปประเทศอื่นหมด เช่นไปอินโดนีเซียเพราะว่าอินโดเนเซียมีแร่นิกเกิล ถ้าคุณไปฟังที่พี่สัมภาษณ์บอกว่ามันไม่ใช่คำตอบ มีแค่แร่แล้วได้ EV ไป พี่บอกคุณตั้งแต่เริ่มต้นว่าเราต้องรู้จุดแข็งของเรา พี่ต้องรู้จุดแข็งประเทศไทยจุดแข็งของเราคือ Ecosystem ที่ใหญ่ของทางด้านรถยนต์ เรามี Domestic Demand เรามี Supply Chain ทั้งหมดที่มันครบลูป ถึงบอกว่าเรารู้จุดแข็งตรงนี้ของเรา Ecosystem โอเค พลังงานเราโอเค infrastructure เราดี เรามีสิทธิพิเศษจากภาครัฐในการกระตุ้นการลงทุนในเรื่องนี้ สิ่งแรกที่พี่ทำคือดึง Magnet มาก่อน ดึงตัวแม่มาให้ได้ก่อน พอดึงตัวแม่มาเนี่ยเดี๋ยว Supply Chain ตามมา
พี่มีนิคมที่เวียดนามนิคมเวียดนาม มีจุดแข็งคืออะไร เวียดนามยกเว้นฮานอยกับโฮจิมินห์ เพราะว่าฮานอยกับโฮจิมินห์ จุดแข็งตรงนี้ไม่ค่อยมีแล้วก็คือค่าแรงถูก แต่ที่พี่ไปลงทุนไปลงทุนที่เหงะอานคือภาคกลางตอนบน มีแรงงานล้านกว่าคนประชากร 3 ล้านกว่าคน ค่าแรงครึ่งหนึ่งของไทย นั่นคือจุดแข็งของเวียดนาม พี่ก็ถึงได้ลูกค้าที่อยากเป็น Sub ของ Foxconn ที่ทำให้กับทาง Apple เขาต้องการแรงงานจำนวนมาก ๆ แรงงานราคาถูก เนี่ยเรารู้จุดแข็งของประเทศนั้น ๆ เราก็ดึงตรงกลุ่มนี้ไปได้ กลับมาที่คำตอบ จุดแข็งของเมืองไทยคืออะไร
คือด้าน infrastructure ของเราโอเคเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน
แรงงานในด้านที่ต้องการอย่าง Auto Electronic หรือ Consumer เรามี Skilled Labor ที่ดีกว่า
ความเป็นอยู่ เขาอยากอยู่บ้านมันปลอดภัย อาหารการกินดี มีโรงเรียนนานาชาติ คนงานเรามี Royalty คือไม่เปลี่ยนงานเรื่อย ๆ นี่คือสิ่งที่เป็นเสน่ห์ของเมืองไทย เรามี Privilege ที่รัฐบาลให้ นี่คือจุดแข็งของเมืองไทย
จุดแย่ของไทยคือเรื่องอะไร
พี่ไม่ได้คิดว่ามันแย่พี่อย่างที่พี่บอกไปอย่างเช่นถ้าคุณจะเอาพวกอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น Low end เราไม่มีคนงานมาก ๆ เราไม่มีแรงงานราคาถูก คุณคิดว่ามันมีจุดแย่หรือเปล่าล่ะ มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ
มีคนถามพี่มาเยอะมากเลยว่าค่าแรงขึ้นกระทบลูกค้าในนิคมพี่ไหม พี่บอกว่าไม่กระทบ คนก็บอกไม่กระทบได้อย่างไร พี่บอกเพราะลูกค้าในนิคมพี่เป็น Skilled Labor ได้ค่าแรงสูงกว่านั้นอยู่แล้ว คนที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำคืออะไรคะ เช่นประมง หรืออะไรต่าง ๆ ซึ่งขอโทษนะคนไทยก็ไม่ค่อยทำแล้ว เพื่อนบ้านเรามาทำเพื่อนบ้านเราถึงดีใจนะเราขึ้นค่าแรง เพื่อนบ้านเราได้ แต่ถามว่ากระทบกับคนประกอบการธุรกิจไหม คือกระทบพวก SME ต่าง ๆ ที่ยังต้องใช้แรงงานแบบนี้อยู่ ต้นทุนก็เพิ่มขึ้นไง พี่ก็ไม่รู้ตัวเลขจริง ๆ นะต้องไปดูจริง ๆ ว่าคนไทยได้เท่าไหร่กี่เปอร์เซ็นต์ก็ต้องดูที่ตรงนี้ แต่ต้นทุนกระทบแน่ต้นทุนก็คือต้นทุนของผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องใช้แรงงานแบบนี้ กระทบแน่สูงขึ้นกว่าเดิมแน่ ส่วนพวก Hi-tech นี่ยังไงจ้าง Skilled Labor มันแพงกว่านี้อยู่แล้ว เขายินดีจ่ายแพงกว่านี้ด้วยถ้าเราเจ๋งกว่านี้อย่างนั้นเลย
วิธี Upskill ให้กับแรงงานไทย
หนุ่ย พงศ์สุข : ผมสังเกตเห็นแบรนด์ที่ผมร่วมงานด้วยหลายเจ้าเนี่ยก็ต้องยอมรับว่าถ้าเป็นผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปเขาก็ใช้ประเทศไทย แต่พอเป็นสินค้า Hi-tech ขึ้นเช่นมือถือสมาร์ตโฟนไปต่างชาติเช่นพวก CPU แน่นอน tsmc คือไต้หวันก็เป็นเจ้าอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าในแง่ของการจะทำ Skilled Labor ในไทยให้มันอัปเกรดขึ้นจะมีวิธีไหน
จรีพร จารุกรสกุล : ต้องบอกว่า tsmc ไม่ใช่รัฐบาลเราไม่คุยนะคะ เขามีการพูดคุยค่ะแต่ปัญหาคือว่าอย่างเช่นไปญี่ปุ่น ถ้าเขาลงทุน 100,000 ล้าน รัฐบาลต้องจ่ายสนับสนุนให้ 50,000 ล้าน แล้วที่เหลือก็คือเป็นการร่วมทุนกับ ถ้าเกิดพี่จำชื่อไม่ผิดน่าจะ Sony นะคะ แต่รัฐบาลช่วยไปครึ่งนึงแล้วนะคุณลองคิดถ้าเกิดรัฐบาลไทยช่วย คงโดนด่าตายเลย เราก็คุยเรื่องนี้ รัฐบาลก็คุยเรื่องนี้ขึ้นมาเขาต้องการครึ่งหนึ่งเลย ใครจะเชิญเข้าไปครึ่งหนึ่งก็ต้องช่วยออกครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออาจจะร่วมทุนปล่อยกู้ด้วยนะ เวียดนามที่ได้ไปคือ Samsung Intel
เทรนด์ลดโลกร้อนกับทิศทางการผลิตในอนาคต?
พี่มองเป็นโอกาสแล้วต้องมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ must do ไม่ใช่ should do มันไม่ใช่โลกร้อนนะ มันโลกเดือด มันคือความรับผิดชอบของเราว่าเราจะส่งต่อโลกเดือดแบบนี้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานเราหรือเปล่า มันอยู่กันไม่ได้ ถามว่าทำไมพี่กังวลเรื่องนี้มาก เพราะพี่กังวลเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว พี่ทำธุรกิจซึ่งมันกระทบโดยตรง ถ้าพี่ทำไม่ดี พี่ทำนิคมอุตสาหกรรม ถ้าพี่ปล่อยน้ำเสียออกไป ชาวบ้านเดือดร้อนแน่นอน พี่ปล่อยอากาศเป็นพิษ ชาวบ้านเดือดร้อน การใช้พลังงานที่มันไม่โอเค นั่นคือความรับผิดชอบต่อสังคมที่พี่ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มันอยู่ใน DNA ของ WHA
คนเรามีความภูมิใจมากที่ได้ทำเรื่องแบบนี้ขึ้นมา เวลาพี่ไปสร้างนิคมที่ไหนต้องมีการทําประชาพิจารณ์ ซึ่งพี่ผ่านฉลุยทุกที่ กระทั่งเมื่อหลายปีก่อนพี่ไปทำประชาพิจารณ์เรื่องพี่สร้างโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมทุกคนไฟเขียวหมด ชาวบ้านไฟเขียวหมด เพราะเขาชื่อในความเป็น WHA
สิ่งที่เราทำธุรกิจแรกของเราคือการขนส่งทุกวันนี้พี่ไปเล่นเรื่อง Green Logistics แล้วเพราะลูกค้าของเราคือ Big Corporate ทั่วโลก เขาโดนบังคับมาจากบริษัทแม่อยู่แล้วว่าต้องใช้เรื่อง Green เรื่อง EV เมื่อก่อนพี่ไม่ทำ Transport เลยนะ แต่พี่มานั่งคิดเลยว่าถ้าเราจะไปเรื่อง Green แบบนี้ ประเทศไทยจะไปอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อผู้ประกอบการส่วนมากยัง Very Fragmented คือมีผู้ประกอบการหลายคนที่ทำขนส่งขึ้นมา มันมีเป็นล้านคัน
พี่บอกน่าจะเข้าไปทำได้แล้ว หนึ่งเราจะช่วยลดต้นทุน Logistics ลง สองเพิ่มทักษะความสามารถในการแข่งขันคนของเราขึ้น แต่ที่พี่ทำไม่ใช่พี่ปล่อยเช่ารถ EV นะ พี่ทำมากกว่านั้นค่ะ EV คือแค่ส่วนเดียว EV พี่ปล่อยให้ทางด้านลูกค้าที่เป็นตัวขนส่ง Third Party Logistics ขณะเดียวกันพี่มีแพลตฟอร์มทางด้านเทคโนโลยี
พี่ทำเรื่อง Green Mobility แพลตฟอร์มของ WHA เองขึ้นมา ซึ่งในแพลตฟอร์มนี้มันควบคุม 6 โมดูลทั้งหมดสามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่องได้ตั้งแต่แบตเตอรี่ เรื่องการจัดการต่าง ๆ ขึ้นมาเรื่อง optimization มันสามารถควบคุมตรงนี้ได้หมดเลย อันนี้คือสิ่งที่เราทำเรื่องนี้ขึ้นมา คือจัดการพลังงานในโรงงานด้วยพลังงานสะอาดได้นี้คือแค่เรื่องการขนส่งอย่างเดียว
นอกจากนี้พี่มีธุรกิจเรื่องพลังงานเน้นทำเรื่องพลังงานสะอาดเรื่องโซลาร์ติดตั้งบนหลังคาลูกค้า จ่ายไฟให้ลูกค้า แล้วก็มีแพลตฟอร์มเรื่องค้าขายพลังงานด้วย ลูกค้าพี่สามารถขายไฟกันเองได้ อันนี้รอแค่รัฐบาลทำให้มันเป็นเชิงพาณิชย์ได้
ตอนนี้จะลดต้นทุนยังไงปี 2030 จะต้องเกิด Carbon Neutrality WHA เกิดตั้งแต่ปี 2021 ค่ะเป็นคาร์บอนเป็นกลางตั้งแต่ 2021 ก็เพราะว่าสิ่งที่พี่มี Carbon Emission ออกมาพี่มีธุรกิจโซลาร์มัน Offset ไปเรียบร้อยแล้ว พี่เอาส่วนเกินไปขายแล้วเลยชดเชย ทางด้านตัว 2050 คือเป็น Net Zero
แล้วลูกค้าพี่ในนิคมอุตสาหกรรมก็โดนบังคับแบบนี้หมดขึ้นมา เพราะเป็นต่างชาติซัก 80% ทุกคนมุ่งเน้นที่เรื่องนี้มาก ๆ แทบทุกโรงงานแล้วต้องติดตั้งโซลาร์ สมัยก่อนอาจจะยากเพราะมันแพง เดี๋ยวนี้มันถูกซื้อไฟโซลาร์ถูกกว่าไฟจากรัฐบาล ทุกอย่างเรามองภาพตรงนี้กันหมดจะลดการใช้พลังงานอย่างไร พี่มี UOC คือ Unified Operation Center ในการ Control เรื่องแบบนี้ขึ้นมา พี่ทำทางด้านตัว AI เอา AI มาสอนเรื่องการอ่านคาดการณ์แผงโซลาร์ เรื่องการจ่ายพลังงานต่าง ๆ เราก็ใช้ AI ในการทดสอบขึ้นมา
เคล็บลับในการบริหารคน?
อะไรที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก พี่ใช้ Outsource หมดเลย ถามว่าคุณจะไปทำเรื่องก่อสร้างทำอะไร บางบริษัทชอบทำก่อสร้างเอง หรือไม่ได้ทำก่อสร้างเองก็จ้างผู้รับเหมาแต่ซื้อของเอง พี่บอกคุณให้เขากำไรไปเถอะบริษัทก่อสร้าง แต่ต้องมีคุณภาพนะ ต้องมีนวัตกรรมให้เรา เพราะเราต้องมีมาตรฐานสูง คือให้คุณกำไรบ้างก็ได้นะ คุณเป็นคนดูแลเรื่องก่อสร้าง แค่ก่อสร้างบางไซต์พี่ใช้คนงานพันคนถึงเวลาเกิดว่ามันสร้างเสร็จแล้วคนงานพันคนอยู่ที่ไหน ไม่ต้องทำเองทุกเรื่องก็ได้นะ อะไรที่มี Strategic Planner สร้างมันซะ เราทำในสิ่งที่เราถนัดพอ พี่ถึงสร้าง Core Value ด้วยตัวเอง อะไรที่เป็นเรื่อง innovation เรื่องใหม่ ๆ ขึ้นมาเราทำเอง ก็คนของพี่เก่ง ๆ หมด เห็นอย่างนี้ทำได้ดีกว่าที่เราคิดอีก บางไอเดียก็เกิดจากลูกน้องพี่นะทีมช่วยกันคิด
บ้านเราค่าไฟแพง Data Center คุ้มไหม?
ถามว่า Data Center เมื่อก่อนอยู่ที่ไหนคะ อยู่สิงคโปร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าไฟกับบ้านเราค่าไฟสิงคโปร์แพงกว่า เพราะว่าเมืองเขาเจริญ บ้านเขาถึงได้โอกาส เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลพยายามจะดึง Data Center มาจากสิงคโปร์มาลงที่ประเทศเราให้ได้ แต่มันก็ดึงมาไม่ได้ ของเราตอนนั้นมันมีประเด็นหลายเรื่อง ทั้งเรื่องรัฐบาลเราปฏิวัติเขาก็กลัวเรื่องความมั่นคง มันก็เป็นหลายเรื่องมาก หรือทางด้านสาย Fiber Obtic ที่มาทางใต้ทะเลมันแพงอยู่ แต่พอตอนหลังหลายปีที่ผ่านมาที่สิงคโปร์เขาไม่ให้มีการสร้าง Data Center เพิ่มแล้ว เพราะว่ามันกินพลังงานสูงมากมันก็เลยไม่เกิดการสร้าง นี่แหละค่ะเราถึงเริ่มมี Data Center
ถัดมาเรื่องของ AI มันกลายเป็นว่าการใช้ทางด้าน Data Center มันทะลุทะลวงขึ้นมาหมดเลย ถามว่าพอตรงนี้ขึ้นมาเสร็จแล้ว พี่ถึงว่าให้เทียบกับสิงคโปร์ ถ้าคุณใช้ไฟเทียบกับเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนามค่าไฟถูกกว่าบ้านเราแต่ไฟติด ๆ ดับ ๆ Data Center จะทำได้ไหม เราก็ต้องมีความเสถียรมากพอ แล้วก็ต้องมีไฟสำรองอีกเพราะฉะนั้นบ้านเราถึงได้โอกาสตรงนี้ มันถึงมี Data Center มา ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่คุณเห็นทั้งหมดก็มีการคุยกันนะคะ บางประเทศประกาศไปแล้วแต่ว่าเราหัวเราะทีหลังดังกว่า
พี่ยังไม่จบดีล แต่ว่าจะเกิดขึ้นที่เมืองไทย นอกจากนี้ยังมีเรื่องดี ๆ อีกมากแต่พี่ก็พูดมากไม่ได้
The post สัมภาษณ์ จูน จรีพร ในมุมเจ็บกับ Startup ไทย แต่ไทยยังมีโอกาสการลงทุนจากต่างชาติ appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/