เคยสงสัยกันไหมครับ !? ว่าในงานแข่งกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกเขาจับเวลาตัดสินในจังหวะยาก ๆ กันอย่างไร อะไรคือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง โดย ‘OMEGA’ แบรนด์นาฬิกาหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้อยู่เบื้องหลังการจับเวลาโอลิมปิกมาตั้งแต่ปี 1932 และในโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งล่าสุด พวกเขานำเทคโนโลยีอะไรมาใช้กันบ้าง เราไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยครับ
The post รู้จัก OMEGA เทคโนโลยีกล้องสุดล้ำ เบื้องหลังในการตัดสินกีฬา Olympic appeared first on BT beartai.
เคยสงสัยกันไหมครับ !? ว่าในงานแข่งกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกเขาจับเวลาตัดสินในจังหวะยาก ๆ กันอย่างไร อะไรคือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง โดย ‘OMEGA’ แบรนด์นาฬิกาหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้อยู่เบื้องหลังการจับเวลาโอลิมปิกมาตั้งแต่ปี 1932 และในโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งล่าสุด พวกเขานำเทคโนโลยีอะไรมาใช้กันบ้าง เราไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยครับ
กล้อง Photo-Finish ความละเอียดสูง Scan’O’Vision ULTIMATE ตัดสินกันระดับ 40,000 ภาพ/วินาที
จากการแข่งขันกรีฑา วิ่ง 100 เมตรชาย เมื่อคืนวันที่ 4 สิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการรวมเอานักกีฬาตัวตึงไว้ด้วยกัน โดยในช่วงท้าย โนอาห์ ไลล์ส (Noah Lyles) จากสหรัฐฯ ได้เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ด้วยเวลา 9.79 วินาที ตามมาด้วย คิเชน ธอมป์สัน (Kishane Thompson) จากจาเมกา ที่ทำเวลาได้เท่า ๆ กันจนต้องมีการใช้วิธีตัดสินด้วยภาพถ่าย
ภาพจากรายการแข่งขัน วิ่ง 100 เมตรชาย เมื่อคืนวันที่ 4 สิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา โนอาห์ ไลล์ส (Noah Lyles) จากสหรัฐฯ ได้เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ด้วยเวลา 9.79 วินาที ตามมาด้วย คิเชน ธอมป์สัน (Kishane Thompson) จากจาเมกา ที่ทำเวลาได้เท่า ๆ กันจนต้องมีการใช้วิธีตัดสินด้วยภาพถ่าย
เบื้องหลังการตัดสินนี้ไม่ได้ใช้กล้องธรรมดาทั่ว ๆ ไปแต่อย่างใดครับ แต่เป็นกล้องความละเอียดสูง Photoelectric Cell ที่เรียกว่า ‘OMEGA Scan’O’Vision ULTIMATE’ สามารถรัวภาพได้สูงสุด 40,000 ภาพ/วินาที ที่ถูกติดตั้งไว้ที่เส้นชัย โดยนี่ยังเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้กล้องความเร็วสูงขนาดนี้ครับ อย่างในโอลิมปิก โตเกียว 2020 ก็ยังใช้เพียง 10,000 ภาพ/วินาที เรียกว่ารัวกันขนาดเห็นความต่างของภาพเพียงเสี้ยววินาทีได้สบาย
วิดีโอหลักการทำงานของกล้อง OMEGA Scan’O’Vision ULTIMATE ดูแล้วเข้าใจง่ายสุด ๆ
ซึ่งหลักการทำงานของเจ้ากล้องตัวนี้คือจะบันทึกภาพกว้างเพียง 1 พิกเซล ที่หน้าเส้นชัยเท่านั้น ทันทีที่นักกีฬาวิ่งผ่านก็จะเอาพิกเซลเพียง 1 พิกเซลนั้นมาเรียงต่อกันจากขวาไปซ้ายจนได้เป็นภาพ Photo-Finish ขึ้นมา ซึ่งเราก็จะวัดกันตรงนี้นี่ล่ะครับ ที่ไลล์สคว้าชัยชนะไปที่ 9.784 วินาที เฉือนธอมป์สันที่ 9.789 วินาที ไปเพียง 0.005 วินาที
กล้อง Photo-Finish ตัวแรกถูกใช้ในโอลิมปิก ลอนดอน 1948
เทคโนโลยีกล้อง Photo-Finish ไม่ได้เพิ่งถูกนำมาใช้เร็ว ๆ นี้แต่อย่างใดครับ แต่ต้องย้อนกลับไปสมัยภาพขาวดำ กับโอลิมปิก ลอนดอน 1948 ที่เป็นการนำกล้อง ‘OMEGA Magic Eye’ มาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งก็มีการพัฒนาต่อยอดเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน
เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ OMEGA ที่อยู่ในโอลิมปิก ปารีส 2024 ช่วยในการตัดสินกีฬากว่า 329 รายการ 32 ประเภท
ไม่เพียงแค่กล้อง Photo-Finish เท่านั้นในการแข่งขันกีฬานานาชาติโอลิมปิก ปารีช 2024 ยังมีการใช้เทคโนโลยีล้ำ ๆ เข้ามามากมายครับ ไม่ว่าจะปืนส่งสัญญาณออกตัวอิเล็กทรอนิกส์ ที่เมื่อเหนี่ยวไก และมีเสียงดังขึ้น สัญญาณจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์จับเวลาเพื่อความแม่นยำสูงสุด แก้ปัญหาจากสมัยก่อนที่คนจับเวลากับคนยิงให้สัญญาณเป็นคนละคนกันซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้สูง
รวมไปถึงมีการบันทึก Live Data สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วยระบบ ‘Computer Vision system’ ด้วยกล้องที่ถูกติดตั้งไว้รอบสนาม ซึ่งในกีฬาแต่ละประเภทจะมีการเทรน AI ที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละเหตุการณ์ และช่วยตัดสินผลแพ้ชนะได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถบอกถึงสมรรถภาพจองนักกีฬาได้โดยไม่ต้องสวมชุดติดเซนเซอร์แต่อย่างใด ยกตัวอย่างกีฬาวอลเลย์บอล ที่มีการบันทึกข้อมูลได้ทั้งระยะห่างของผู้เล่น ความเร็วของบอล และนักกีฬา รวมไปถึงเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน ความสูงของการกระโดด ประเภทการยิง การบล็อก และการตบลูก ซึ่งนอกจากกีฬาบนบกแล้วกีฬาทางน้ำก็ยังสามารถใช้งานได้เช่นกันครับ
สกอร์บอร์ดความละเอียดสูงแบบ Real-TimeQuantum Timer นาฬิกาจับเวลาความแม่นยำสูงเส้นชัยเทคโนโลยีโฟโตเซลล์บล็อกออกตัวสำหรับนักกีฬา
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ OMEGA ก็ยังมีการใช้กระดานคะแนน Electronic Photocells ที่เชื่อมต่อกับปืนให้สัญญาณ บล็อกออกตัวสำหรับนักกีฬาที่จะรู้ทันทีผลฟาวด์ทันทีเมื่อมีคนออกตัวก่อน 100 มิลลิวินาที (หนึ่งส่วนสิบวินาที) และอุปกรณ์มากมายที่ใช้วัดในกีฬาแต่ละประเภทครับ
The post รู้จัก OMEGA เทคโนโลยีกล้องสุดล้ำ เบื้องหลังในการตัดสินกีฬา Olympic appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/