ยานอวกาศ Starliner ของ Boeing ได้เดินทางเข้าจอดเทียบท่าส่งนักบินอวกาศของนาซา และเข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติได้สำเร็จเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมยานอวกาศพา 2 นักบินอวกาศกลับสู่โลกเนื่องจากระบบขับดันทำงานผิดปกติ ล่าสุดตามเอกสารที่บริษัทยื่นผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ต่อ กลต.สหรัฐฯ เผยว่าโครงการ Starliner ได้ขาดทุนเพิ่มเติมอีก 125 ล้านเหรียญ (4,414 ล้านบาท) เนื่องจากเที่ยวบินทดสอบพร้อมนักบินอวกาศครั้งแรก (CFT) มีความล่าช้า ซึ่งตามแผนจะใช้เวลา 8 วัน แต่ตอนนี้นักบินอวกาศค้างอยู่บน ISS มานาเกือบ 2 เดือน และรวมบริษัทขาดทุนไปแล้วทั้งหมด 1,600 ล้านเหรียญ (56,500 ล้านบาท)
The post Boeing ขาดทุนจากโครงการ Starliner เพิ่มอีก 4,414 ล้านบาท จากทั้งหมด 56,500 ล้านบาท appeared first on BT beartai.
ยานอวกาศ Starliner ของ Boeing ได้เดินทางเข้าจอดเทียบท่าส่งนักบินอวกาศของนาซา และเข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติได้สำเร็จเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมยานอวกาศพา 2 นักบินอวกาศกลับสู่โลกเนื่องจากระบบขับดันทำงานผิดปกติ ล่าสุดตามเอกสารที่บริษัทยื่นผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ต่อ กลต.สหรัฐฯ เผยว่าโครงการ Starliner ได้ขาดทุนเพิ่มเติมอีก 125 ล้านเหรียญ (4,414 ล้านบาท) เนื่องจากเที่ยวบินทดสอบพร้อมนักบินอวกาศครั้งแรก (CFT) มีความล่าช้า ซึ่งตามแผนจะใช้เวลา 8 วัน แต่ตอนนี้นักบินอวกาศค้างอยู่บน ISS มานานเกือบ 2 เดือน และรวมบริษัทขาดทุนไปแล้วทั้งหมด 1,600 ล้านเหรียญ (56,500 ล้านบาท)
ปี 2014 โครงการให้บริการโดยสารนักบินอวกาศไปกลับระหว่างโลกกับ ISS เชิงพาณิชย์ (CCP) ได้มอบสัญญาให้แก่ 2 บริษัทคือ Boeing และ SpaceX ในการพัฒนายานอวกาศและต้องครอบคลุมการทดสอบเที่ยวบินที่มีนักบินอวกาศอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยมีโครงสร้างการจ่ายเงินเป็นแบบคงที่ คือ หากบริษัททำงานเกินงบที่มอบให้ก็จะต้องจ่ายเงินในส่วนเกินเองทั้งหมด ซึ่ง Boeing ได้รับสัญญามูลค่า 4,200 ล้านเหรียญ (148,314 ล้านบาท) ในการพัฒนายาน Starliner แม้ว่ายอดเงินจะดูมากมายมหาศาล แต่การล่าช้าของภารกิจหลาย ๆ ครั้งก็ได้ทำให้เกิดการขาดทุนอย่างที่เห็น
ส่วน SpaceX ได้รับสัญญามูลค่า 2,600 ล้านเหรียญ (91,813 ล้านบาท) และได้ปฏิบัติตามสัญญาจนสามารถใช้แคปซูลอวกาศ Crew Dragon ทดสอบให้บริการโดยสารนักบินอวกาศไปกลับระหว่างโลกและ ISS ได้สำเร็จในภารกิจ Demo-2 เมื่อปี 2020 และ SpaceX ก็ได้เหมาตั๋วโดยสารอวกาศให้กับนาซาและลูกค้าแบบส่วนตัวอยู่รายเดียว ในขณะที่ Boeing ก็ได้แค่สาละวนอยู่กับการแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่
ความสำเร็จของภารกิจ Demo-2 ของ SpaceX ตามสัญญามีผลให้บริษัทได้รับการจ้างให้บริการรับส่งนักบินอวกาศไปกลับ ISS รวม 6 เที่ยวบิน คือ ภารกิจ Crew-1 ไปจนถึง Crew-6 แต่ความล่าช้าของ Starliner ทำให้เดือนมีนาคม 2022 นาซาได้ตีตั๋วแคปซูล Crew Dragon ของ SpaceX เพิ่มอีก 3 เที่ยวบิน และเดือนกันยายน 2022 นาซาก็ได้ตีตั๋วเพิ่มอีก 5 เที่ยวบิน ซึ่ง SpaceX ได้เหมาเพียงรายเดียวรวมทั้งหมด 14 เที่ยวบิน
20 ธันวาคม 2019 โบอิ้งได้ปล่อยยาน Starliner ที่ไม่มีนักบินอวกาศโดยสาร (Orbital Flight Test : OFT) ไปยัง ISS เป็นครั้งแรก แต่กลับพลาดใช้เชื้อเพลิงมากเกินไปจนต้องเดินทางกลับสู่โลกก่อนที่จะไปถึง จากนั้นได้พยายามแก้มือทดสอบบินครั้งที่ 2 (OFT-2) แต่ก็มีปัญหาและเลื่อนภารกิจไปหลายครั้ง จนในที่สุดสามารถทำภารกิจ OFT-2 ได้สำเร็จเมื่อพฤษภาคม 2022 แต่ก็พบปัญหาว่าก่อนที่เข้าสู่วงโคจรตัวขับดัน 2 ตัวไม่สามารถจุดระเบิดได้ และมีผลทำให้ภารกิจบินทดสอบพร้อมนักบินอวกาศครั้งแรก (CFT) ต้องเลื่อนออกไปหลายครั้ง จน 5 มิถุนายนก็สามารถปล่อยยานอวกาศ Starliner พร้อมนักบินอวกาศไปสู่อวกาศและจอดเทียบท่า ISS ได้สำเร็จ
ในการประชุมรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 เดฟ คาลฮูน (Dave Calhoun) ซีอีโอของ Boeing เผยคาดว่าโครงการพัฒนาแบบราคาคงที่จะยังคงมีปัญหาจนกว่าบริษัทจะพัฒนาเสร็จ และกล่าวอีกว่าจากบทเรียนที่บริษัทได้เรียนรู้ในการทำโครงพัฒนาแบบราคาคงที่เหล่านี้ บริษัทควรระมัดระวังในการทำสัญญากับทุกโอกาสในอนาคต
นอกจากนี้ นาซาประกาศว่าจะเลื่อนภารกิจแรกในการให้บริการโดยสารนักบินอวกาศไปกลับ ISS ของยาน Starliner ออกไปก่อน ซึ่งจะไม่เร็วกว่าเดือนสิงหาคม 2025 คืออีกประมาณ 1 ปี ซึ่งระหว่างนี้ Boeing จะต้องแก้ไขปัญหาระบบขับดันให้สำเร็จ และก็มีค่าใช้จ่ายรออยู่มิใช่น้อย
30 กรกฎาคม นาซาเผยว่าการทดสอบเครื่องขับดันทั้งหมดของยาน Starliner กลับมาอยู่ในระดับก่อนบิน และ 31 กรกฎาคม Boeing เผยว่าขณะนี้กำลังเตรียมการเดินทางกลับมาของยาน Starliner คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม
The post Boeing ขาดทุนจากโครงการ Starliner เพิ่มอีก 4,414 ล้านบาท จากทั้งหมด 56,500 ล้านบาท appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/