ทุกคนเคยเป็นกันไหม? มีความกังวล คิดมากเกี่ยวกับอนาคต จนทำให้ชีวิตในปัจจุบันไม่มีความสุข เพราะรู้สึกเหมือนตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวตลอดเวลา ความกังวลประเภทนี้เราเรียกว่า Anticipatory Anxiety เอาละ ลองมาสำรวจกันดีกว่าว่า คุณมีความกังวลต่ออนาคตมากน้อยขนาดไหน กับการตอบคำถามว่า “คุณมีความกังวลเหล่านี้เป็นประจำหรือไม่?” ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Anticipatory Anxiety เช่น วิธีจัดการ Anticipatory Anxiety ด้วยตัวเอง การอดนอนหรือนอนน้อย จะยิ่งทำให้อาการความวิตกกังวลแย่ลง ขอแนะนำให้คุณฝึกหายใจหรือทำสมาธิ ซึ่งอาจทำให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่! สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ “เรื้อรัง” ควรไปพบคุณหมอ เพราะการทำสมาธิอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป สุดท้าย เราอยากให้คุณค้นหาว่า “สาเหตุ” ของความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ และให้เริ่มแก้จากจุดนั้น ซึ่งก็จะช่วยคลายความวิตกกังวลไปได้มาก หรือถ้าพยายามแก้ไขด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่ได้ผล การเข้ารับการบำบัดกับคุณหมอจิตแพทย์ก็ยังคงเป็นทางออกที่ดีอยู่เสมอ
The post Anticipatory Anxiety วิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น appeared first on BT beartai.
ทุกคนเคยเป็นกันไหม? มีความกังวล คิดมากเกี่ยวกับอนาคต จนทำให้ชีวิตในปัจจุบันไม่มีความสุข เพราะรู้สึกเหมือนตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวตลอดเวลา
ความกังวลประเภทนี้เราเรียกว่า Anticipatory Anxiety เอาละ ลองมาสำรวจกันดีกว่าว่า คุณมีความกังวลต่ออนาคตมากน้อยขนาดไหน กับการตอบคำถามว่า “คุณมีความกังวลเหล่านี้เป็นประจำหรือไม่?”
มีความรู้สึกวิตกหรือหวาดกลัวเป็นประจำ
รู้สึกเครียดหรือตกใจง่าย
มักกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด
คาดการณ์ถึงสิ่งที่เลวร้ายที่สุดก่อนเสมอ ๆ
หัวใจเต้นแรงและมักหายใจถี่
ปวดหัวอ่อนเพลีย และนอนไม่หลับ
เหงื่อออก ตัวสั่น และกล้ามเนื้อกระตุก
ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย หรือท้องเสีย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Anticipatory Anxiety เช่น
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล
มีปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ
มีความเครียดในระดับสูง
เคยประสบกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาในอดีต
มีการใช้ยาเสพติด หรือติดแอลกอฮอล์
วิธีจัดการ Anticipatory Anxiety ด้วยตัวเอง
เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดการบริโภคคาเฟอีนและน้ำตาล
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดความวิตกกังวลได้
การนอนหลับ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลมักนอนหลับยาก ดังนั้นคุณจึงควรพยายามนอนเวลาเดิมทุกคืน และตื่นเวลาเดิมทุกเช้า เพื่อกำหนดนาฬิกาการนอนให้กับร่างกาย
การอดนอนหรือนอนน้อย จะยิ่งทำให้อาการความวิตกกังวลแย่ลง ขอแนะนำให้คุณฝึกหายใจหรือทำสมาธิ ซึ่งอาจทำให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่! สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ “เรื้อรัง” ควรไปพบคุณหมอ เพราะการทำสมาธิอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป
สุดท้าย เราอยากให้คุณค้นหาว่า “สาเหตุ” ของความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ และให้เริ่มแก้จากจุดนั้น ซึ่งก็จะช่วยคลายความวิตกกังวลไปได้มาก หรือถ้าพยายามแก้ไขด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่ได้ผล การเข้ารับการบำบัดกับคุณหมอจิตแพทย์ก็ยังคงเป็นทางออกที่ดีอยู่เสมอ
The post Anticipatory Anxiety วิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/