หลายธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นเคยในอดีต ปัจจุบันนี้อาจล้มหายตายจาก หรือตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว… คำถามสำคัญคือ ปัจจัยใดทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นถูกลืมเลือน และบทเรียนใดที่เราสามารถเรียนรู้จากเรื่องล้มเหลวนี้ได้ ซึ่งหนังสือเล่มใหม่ของโสภณ ศุภมั่งมี นี่แหละคือคำตอบ BIZ-LIFE CRISIS ธุรกิจวิกฤตเอง จะที่เล่าถึงธุรกิจยักษ์ต่าง ๆ ผู้พลิกโอกาสให้เป็นวิกฤต เขียนโดยคุณโสภณ ศุภมั่งมี อดีตโปรแกรมเมอร์ของไมโครซอฟท์ ที่ผันตัวมาเป็นนักเขียนและนักแปล เจ้าของผลงานโด่งดังอย่าง The Nerd of Microsoft โดยภายในเล่มนี้จะมานำเสนอประวัติความเป็นมาของหลายธุรกิจ Insight ที่หลายคนไม่เคยรู้ เล่มนี้ได้รวมทั้งบทเรียนและคำตอบว่า บรรดาบริษัทที่เคยรุ่งเรืองกลายเป็นร่วงหล่นได้อย่างไร ตั้งใจจะสะท้อนอีกมุมมองความรุ่งโรจน์สู่ล้มเหลว แทนที่จะเป็นบรรดาเคสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมายจนเราเห็นกันจนชินตา แชร์ออกมาเป็นหลายกรณีศึกษาธุรกิจที่ดูเหมือนจะดี แต่สุดท้ายแล้วล้มเหลว โดยรวบรวมเอาบทความทางธุรกิจมาร้อยเรียง กลั่นกรองได้เป็นข้อคิดให้เรียนรู้นำไปปรับใช้ต่อ ตัวอย่างธุรกิจวิกฤตเอง Beepi สตาร์ทอัพรถยนต์มือสองที่พังไม่เป็นท่า คลื่นแห่งอินเทอร์เน็ตได้พัดพาโอกาสแห่งเปลี่ยนแปลงมาสู่หลายอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘อุตสาหกรรมรถยนต์’ จากการซื้อผ่านเต็นท์รถธรรมดา พัฒนาสู่แหล่งซื้อขายออนไลน์ (Marketplace) และ Beepi คือบริษัทผู้เห็นถึงโอกาสทองครั้งนี้ บีปปิ เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เพียงเท่านี้ ทางบริษัทยังการันตีว่า ด้วยการบริการที่ตอบโจทย์และการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำให้ 3 ปีต่อมา รายได้ของบิปปิพุ่งสูงขึ้นกว่า 1000%…
The post รีวิว Biz-Life Crisis ธุรกิจวิกฤตเอง เจาะสาเหตุบริษัทยักษ์ใหญ่เจ๊งเพราะ? appeared first on BT beartai.
หลายธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นเคยในอดีต ปัจจุบันนี้อาจล้มหายตายจาก หรือตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว… คำถามสำคัญคือ ปัจจัยใดทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นถูกลืมเลือน และบทเรียนใดที่เราสามารถเรียนรู้จากเรื่องล้มเหลวนี้ได้ ซึ่งหนังสือเล่มใหม่ของโสภณ ศุภมั่งมี นี่แหละคือคำตอบ
BIZ-LIFE CRISIS ธุรกิจวิกฤตเอง จะที่เล่าถึงธุรกิจยักษ์ต่าง ๆ ผู้พลิกโอกาสให้เป็นวิกฤต เขียนโดยคุณโสภณ ศุภมั่งมี อดีตโปรแกรมเมอร์ของไมโครซอฟท์ ที่ผันตัวมาเป็นนักเขียนและนักแปล เจ้าของผลงานโด่งดังอย่าง The Nerd of Microsoft โดยภายในเล่มนี้จะมานำเสนอประวัติความเป็นมาของหลายธุรกิจ Insight ที่หลายคนไม่เคยรู้
เล่มนี้ได้รวมทั้งบทเรียนและคำตอบว่า บรรดาบริษัทที่เคยรุ่งเรืองกลายเป็นร่วงหล่นได้อย่างไร ตั้งใจจะสะท้อนอีกมุมมองความรุ่งโรจน์สู่ล้มเหลว แทนที่จะเป็นบรรดาเคสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมายจนเราเห็นกันจนชินตา แชร์ออกมาเป็นหลายกรณีศึกษาธุรกิจที่ดูเหมือนจะดี แต่สุดท้ายแล้วล้มเหลว โดยรวบรวมเอาบทความทางธุรกิจมาร้อยเรียง กลั่นกรองได้เป็นข้อคิดให้เรียนรู้นำไปปรับใช้ต่อ
ความสำเร็จคือครูที่แย่มาก เพราะมันล่อลวงให้คนฉลาดคิดว่าพวกเขาไม่มีวันล้มเหลว
— บิล เกตส์ อดีต CEO Microsoft
ตัวอย่างธุรกิจวิกฤตเอง
Beepi สตาร์ทอัพรถยนต์มือสองที่พังไม่เป็นท่า
คลื่นแห่งอินเทอร์เน็ตได้พัดพาโอกาสแห่งเปลี่ยนแปลงมาสู่หลายอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘อุตสาหกรรมรถยนต์’ จากการซื้อผ่านเต็นท์รถธรรมดา พัฒนาสู่แหล่งซื้อขายออนไลน์ (Marketplace) และ Beepi คือบริษัทผู้เห็นถึงโอกาสทองครั้งนี้ บีปปิ เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เพียงเท่านี้ ทางบริษัทยังการันตีว่า
ด้านผู้ขายนั้นจะได้ราคาสูงกว่าขายเต็นท์ทั่วไป พร้อมทั้งถ้าขายไม่ออกภายใน 30 วัน Beepi จะซื้อไว้เอง
ส่วนผู้ซื้อ ก็มีบริการตรวจสภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และหากไม่พอใจ ยินดีคืนเงินภายใน 10 วัน ถ้ามีปัญหาภายใน 30 วัน จะซ่อมให้ฟรีอีกด้วย
ด้วยการบริการที่ตอบโจทย์และการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำให้ 3 ปีต่อมา รายได้ของบิปปิพุ่งสูงขึ้นกว่า 1000% ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทสูงถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ แต่การเติบโตนี้ดูเหมือนจะเป็นดาบสองคม ทำให้บริษัทดิ่งลงเหวได้เหมือนกัน จากการจ้างพนักงาน ขยายทีมอย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายอันสูงลิ่ว ทำให้เงินสดเริ่มขาดมือ ธุรกิจไร้เงินก็ไปต่อไม่ได้ ถึงจุดจบในเวลาต่อมา
Yahoo! จากอดีตราชาอินเตอร์เน็ตสู่บราวเซอร์ที่ไม่มีเหลียวแล
ในช่วงเวลาหนึ่ง บริษัทยาฮู เคยมีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้ยาฮูไม่อาจยิ่งใหญ่จนเทียบเงากูเกิลได้เลย แม้ว่าจะเริ่มต้นที่ไวกว่าอาจเพราะ 2 สาเหตุหลัก ประการแรกคือ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าบริหารไร้วิสัยทัศน์ ไม่มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะนำพาบริษัทไปยังทิศทางใด จึงทำให้เกิดอีกสาเหตุแห่งความล้มเหลงต่อมา ส่งผลให้บริษัทยาฮูซื้อธุรกิจนับร้อย ๆ บริษัทนั้นก็ไม่สร้างกำไรอย่างเป็นชิ้นเป็นอันสักที
อย่างไรก็ตาม หากไม่มียาฮูในวันนั้นเราคงไม่มีกูเกิลใช้ในชีวิตประจำวัน ดั่งเช่นวันนี้ เพราะ Yahoo! คือ รากฐานแห่งจุดเริ่มต้นที่แม้วันนี้จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม
BlackBerry โทรศัพท์ฮิตสู่ขิตเพราะลืมพัฒนา
บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ปุ่มกดที่น้อยคนนักจะไม่รู้จัก ที่จำหน่ายสมาร์ทโฟนที่จุดกระแสความนิยมในยุค 2000 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก ไมค์ ลาซาริดิส ชายหนุ่มที่เติบโตมาพร้อมความอยากรู้อยากเห็นเขาชื่นชอบเกี่ยวกับวิทยุและอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยความสนใจนี้ทำให้เขาเลือกเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ตลอดจนได้ไปฝึกงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ control Data Corporation และเข้าทำงานที่นี่ในเวลาต่อมา จึงเป็นรากฐานหนึ่งที่ทำให้เขามีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและเพจเจอร์ จนคิดค้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เรียกว่า Blackberry
ในช่วงแรกนั้น Blackberry มีการทดลองใช้ในสำนักงานโดยให้พนักงานลองเอาไปเล่นที่บ้านได้ฟรี 1 เดือน ถ้าชอบค่อยจ่ายเงินซื้อ หากไม่ชอบก็ส่งคืน ผลลัพธ์คือแทบไม่มีใครส่งคืนมาเลย และความนิยมนี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วหันมองไปทางไหนก็มีแต่คนใช้ Blackberry ไม่ว่าจะเป็นบรรดานายธนาคารนักกฎหมายทนายหรือฝ่ายขาย กระทั่งบริษัทเริ่มเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไปมากขึ้นสิ่งนี้เองทำให้ชื่อเสียงของ Blackberry เพิ่มขึ้นได้อย่างไวเพราะด้วยความเสถียรของเครือข่ายสัญญาณ และการสื่อสารไปมาที่ตอบโจทย์
จากความฮิตยอดนิยมของ BlackBerry ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีร่วงหล่นสู่แบรนด์ที่ไม่มีใครสนใจได้อย่างไร? หลายคนก็บอกว่า Blackberry นั้นล้มเพราะการมาถึงของ iPhone ในปี 2007 หรือเปล่า แต่ความเป็นจริง iPhone เป็นเพียงแค่เรื่องราวส่วนหนึ่งของความล้มเหลว เนื่องจากทางบริษัทเองก็ลืมพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้วย พวกเขาเชื่อมั่นแต่ผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่พวกเขามี แล้วเมื่อการมาถึงของโทรศัพท์ไร้ปุ่ม จอสัมผัส นั่นจึงเป็นจุดจบตลอดกาลของ Blackberry
Kodak กล้องฟิล์มผู้ไม่ยอมก้าวสู่เส้นทางดิจิทัล
“คุณแค่กดชัตเตอร์ ที่เหลือเราทำเอง” (You press the button, we do the rest) สโลแกนติดหูของ Kodak ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกล้องที่เกือบจะครอบจักรวาล โดย จอร์จ อีสต์แมน ผู้ก่อตั้ง Kodak นั้นตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมภาพถ่ายเพราะกล้องตัวแรกๆที่สร้างขึ้นสู่สาธารณะชนนั้นเป็นกระบวนการถ่ายภาพที่ยุ่งยาก แต่หลังจากผลิตภัณฑ์ของโกดักออกมา ทำให้ในทุกๆครอบครัวต้องมีกล้องถ่ายรูปและฟิล์มโกดักติดตัวไปด้วยเสมอ
ช่วงหยุดปลายระหว่าง 1,890-1,900 โกดักเติบโตอย่างรวดเร็วมีการสร้างศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และเริ่มขยายไปยังยุโรปและออสเตรเลีย โดยหนึ่งในโปรดักต์ไลน์ที่โด่งดังที่สุดคือ ‘โกดักบราวนี’ ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากขายได้ 150,000 ชิ้นในปีแรก ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายและจุดกระแสการถ่ายรูปของช่างภาพมือสมัครเล่นให้เติบโตมากขึ้น
แต่หลังจากการเสียชีวิตของ อีสต์แมน ผู้ก่อตั้ง ก็ทำให้โกดักต้องพบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ไปจนถึงสงครามเย็น อีกทั้งปรัชญาการสร้างธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่มก็ค่อย ๆ เลือนหายไป เนื่องจากพวกผู้บริหารลืมที่จะโฟกัสลูกค้า และขาดพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงกล่าวได้ว่า “แม้ในทุกวันนี้โกดักส์ในวงการกล้องฟิล์มยังไม่ตายไปไหน แต่หากพวกเขาก้าวทันเข้ามาในโลก Digital ทัน พวกเขาควรจะยิ่งใหญ่กว่านี้หรือไม่? “
ทุกสิ่งคือประสบการณ์ ธุรกิจสำเร็จก็สอนเราได้ และธุรกิจล้มเหลวก็ให้บทเรียนได้เช่นกัน
ในท้ายที่สุด อ่านจนจบก็ทำให้เข้าใจวัฎจักรของธุรกิจว่า “ต่อให้ยิ่งใหญ่แค่ไหนย่อมต้องมีร่วงหล่น” และสิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นธรรมดาในโลกธุรกิจเหลือเกิน ดังนั้นสิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากเรื่องราวธุรกิจยักษ์ที่อาจไม่ได้สวยงามสามารถเป็นบทเรียนแห่งความล้มเหลวให้เราได้เรียนรู้มันต่อไป
ชื่อหนังสือ: Biz-Life Crisis ธุรกิจวิกฤตเอง
ผู้เขียน: โสภณ ศุภมั่งมี
สำนักพิมพ์: LOUPE
ราคา: 370 บาท
The post รีวิว Biz-Life Crisis ธุรกิจวิกฤตเอง เจาะสาเหตุบริษัทยักษ์ใหญ่เจ๊งเพราะ? appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/