บลูออริจิน (Blue Origin) บริษัทการบินและอวกาศสัญชาติสหรัฐฯ ของ เจฟฟ์ เบโซส (Jeff Bezos) ได้ปล่อยภารกิจครั้งที่ 25 ของจรวดและแคปซูลอวกาศ New Shepard หรือมีชื่อเรียกว่า NS-25 ในการนำส่งผู้โดยสาร 6 คน ออกจากฐานปล่อยจรวดที่ 1 ของบริษัทที่ตั้งอยู่ในเท็กซัสตะวันตก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม เวลา 10:37 a.m. EDT (21:37 น. ในประเทศไทย) ขึ้นไปท่องบนขอบอวกาศเหนือเส้นคาร์มานที่ห่างจากโลก 100 กิโลเมตร และเดินทางกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ New Shepard ได้กลับมาบินส่งผู้โดยสารในรอบเกือบ 2 ปี
The post Blue Origin ส่งผู้โดยสารท่องขอบอวกาศได้สำเร็จอีกครั้งในรอบเกือบ 2 ปี appeared first on BT beartai.
บลูออริจิน (Blue Origin) บริษัทการบินและอวกาศสัญชาติสหรัฐฯ ของ เจฟฟ์ เบโซส (Jeff Bezos) ได้ปล่อยภารกิจครั้งที่ 25 ของจรวดและแคปซูลอวกาศ New Shepard หรือมีชื่อเรียกว่า NS-25 ในการส่งผู้โดยสาร 6 คน ออกจากฐานปล่อยจรวดที่ 1 ของบริษัทที่ตั้งอยู่ในเท็กซัสตะวันตก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม เวลา 10:37 a.m. EDT (21:37 น. ในประเทศไทย) ขึ้นไปท่องบนขอบอวกาศเหนือเส้นคาร์มานที่ห่างจากโลก 100 กิโลเมตร และเดินทางกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ New Shepard ได้กลับมาบินส่งผู้โดยสารในรอบเกือบ 2 ปี
Soon, Ed Dwight will complete a mission that began 63 years ago. Watch: https://t.co/TH41xP0MkB pic.twitter.com/aNmFjltM6z
— Blue Origin (@blueorigin) May 19, 2024
ผู้โดยสารในเที่ยวบิน NS-25 ได้แก่ เอ็ด ดไวต์ (Ed Dwight) อดีตกัปตันกองทัพอากาศที่ได้รับเลือกจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ให้เข้าร่วมฝึกอบรมเป็นนักบินอวกาศผิวดำคนแรกของสหรัฐฯ เมื่อปี 1961 แต่เขาไม่เคยได้ขึ้นบินสู่อวกาศซะที จนถึงวันนี้ความฝันของเขาได้กลายเป็นจริง คนต่อมาคือ เคน เฮสส์ (Ken Hess) วิศวกรซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการ และ แครอล ชาลเลอร์ (Carol Schaller) นักบัญชีเกษียณ
ส่วนคนที่ 4 ก็คือ ซิลเวน ชีรอน (Sylvain Chiron) ผู้ก่อตั้งโรงเบียร์ Brasserie Mont Blanc คนต่อมา โกปิ โททาคุระ (Gopi Thotakura) นักบินที่เรียนรู้วิธีบินก่อนที่เขาจะขับรถได้ และคนสุดท้ายคือ เมสัน แองเจิล (Mason Angel) นักลงทุนที่ Industrious Ventures
บลูออริจินได้หยุดภารกิจส่งผู้โดยสารไปท่องขอบอวกาศชั่วคราว หลังจากเมื่อ 12 กันยายน 2022 ได้ปล่อยจรวด New Shepard ในภารกิจ NS-23 แต่เกิดปัญหาตรงหัวฉีดของเครื่องยนต์ส่งผลให้เกิดการยกเลิกเที่ยวบินอัตโนมัติ และบริษัทได้ถูกสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) สอบสวน
ต่อมาเดือนธันวาคม 2023 บลูออริจินได้ทำภารกิจ NS-24 ในเที่ยวบินไร้คนขับที่บรรทุกสิ่งของทางวิทยาศาสตร์ 33 ชิ้น และงานการวิจัย 38,000 ชิ้น รวมทั้งสัมภาระอื่น ๆ ไปสู่ขอบอวกาศในแนวตั้งสำเร็จ จึงได้รับอนุญาตให้กลับมาบินส่งผุูโดยสารไปท่องขอบอวกาศในภารกิจ NS-25 ซึ่งเป็นภารกิจที่ 7 ที่มีผู้โดยสาร และจนถึงวันนี้ก็ได้ส่งผู้โดยสารไปท่องอวกาศแล้วทั้งหมด 37 คน
The post Blue Origin ส่งผู้โดยสารท่องขอบอวกาศได้สำเร็จอีกครั้งในรอบเกือบ 2 ปี appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/