ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และอีกแบบคือภาวะซึมเศร้าที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว ภาวะซึมเศร้า จัดเป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่ง โดยที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการเหล่านี้ และจากภาวะอาการทั้งหมดนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ หรือบางรายนอนมากเกินปกติ ชอบพูดเรื่องชวนหดหู่ และถ้าภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับที่รุนแรงก็อาจจะส่งผล ทำให้มีการทำร้ายตัวเองได้ ปัจจัยการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางร่างกาย เช่นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้นมาก็อาจจะทำให้จิตใจแย่ลงได้ หรือปัจจัยทางสังคม เช่นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับครอบครัว หรือโลกยุคใหม่ได้ หรือผู้สูงอายุอาจจะเป็นโรคทางจิตเวช ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดเพี้ยนไป ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าผู้สูงอายุในบ้านกำลังมีภาวะซึมเศร้า ควรที่จะรีบพาไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็กโดยละเอียด เพื่อเจาะลึกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า คุณหมอจะได้นำมาวางแผนในการจ่ายยา หรือวางแผนวิธีการบำบัดรักษาในด้านอื่น ๆ ต่อไป และสิ่งที่คนในครอบครัวทำได้ ก็คือ การมอบความเข้าใจ ความรัก และความใส่ใจให้กับผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ
The post ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ปัญหาที่คนในครอบครัวไม่ควรมองข้าม appeared first on BT beartai.
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และอีกแบบคือภาวะซึมเศร้าที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว
ภาวะซึมเศร้า จัดเป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่ง โดยที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการเหล่านี้
ไม่มีความสุข หดหู่ รู้สึกเบื่อไปหมด
มองโลกในแง่ร้าย ชอบอยู่เงียบ ๆ ตามลำพัง
รู้สึกชีวิตสิ้นหวัง
หงุดหงิด โมโหง่าย น้อยใจง่าย
มีปากเสียงกับคนในบ้านบ่อย ๆ
และจากภาวะอาการทั้งหมดนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ หรือบางรายนอนมากเกินปกติ ชอบพูดเรื่องชวนหดหู่ และถ้าภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับที่รุนแรงก็อาจจะส่งผล ทำให้มีการทำร้ายตัวเองได้
ปัจจัยการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางร่างกาย เช่นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้นมาก็อาจจะทำให้จิตใจแย่ลงได้ หรือปัจจัยทางสังคม เช่นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับครอบครัว หรือโลกยุคใหม่ได้ หรือผู้สูงอายุอาจจะเป็นโรคทางจิตเวช ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดเพี้ยนไป
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าผู้สูงอายุในบ้านกำลังมีภาวะซึมเศร้า ควรที่จะรีบพาไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็กโดยละเอียด เพื่อเจาะลึกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า คุณหมอจะได้นำมาวางแผนในการจ่ายยา หรือวางแผนวิธีการบำบัดรักษาในด้านอื่น ๆ ต่อไป
และสิ่งที่คนในครอบครัวทำได้ ก็คือ การมอบความเข้าใจ ความรัก และความใส่ใจให้กับผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ
The post ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ปัญหาที่คนในครอบครัวไม่ควรมองข้าม appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/