
โรคที่กรมควบคุมโรคมักเตือนให้ระวังในช่วงหน้าร้อน นอกจากอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มโรคทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอาหารเป็นพิษ และอาการท้องเสีย แล้วเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า เมื่อเรามีอาการอาหารเป็นพิษหรือเจอใครท้องเสียทีไร ประโยคแรกที่มักถูกถาม (หรือไปถามเขา) ก็คือ “เมื่อกี้ไปกินอะไรมา ?” และอาหารจานล่าสุดก็มักจะตกเป็นผู้ต้องสงสัยอย่างไม่ต้องสงสัย จริง ๆ แล้ว อาหารจานล่าสุดที่เรากินเข้าไปคือตัวการจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ เราจะมีวิธีการตรวจสอบว่า คือเมนูไหนกันแน่ได้อย่างไร ไปหาคำตอบกันกับบทความนี้ อาหารเป็นพิษ อาจไม่ใช่เพราะจานสุดท้ายเสมอไป จากสถิติของโรงพยาบาลสมิติเวช เปิดเผยว่า “ปี 2566 ที่ผ่านมา มีคนไทยมีอาการอาหารเป็นพิษถึง 70,010 คน โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่เป็นฤดูโปรดของเหล่าเชื้อโรค” ก่อนจะโยนความผิดให้กับอาหารมื้อล่าสุด ลองนับนิ้วกันดูก่อนว่า อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนั้นห่างจากอาหารจานสุดท้ายที่เรากินไปจำนวนกี่ชั่วโมง หากคำตอบที่ได้ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แสดงว่ามื้อนั้นอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง โดย ดร.ทรอย (Dr.Troy Madsen) แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินของมหาวิทยาลัย Utah Health ได้อธิบายไว้ว่า อาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ จะเริ่มมีอาการหลังผ่านไปแล้ว…
The post อาการท้องเสียมาจากไหน ใช่อาหารที่เพิ่งกินไปรึเปล่า? แล้วรับมือด้วยวิธีไหนดี? appeared first on BT beartai.
โรคที่กรมควบคุมโรคมักเตือนให้ระวังในช่วงหน้าร้อน นอกจากอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มโรคทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอาหารเป็นพิษ และอาการท้องเสีย
แล้วเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า เมื่อเรามีอาการอาหารเป็นพิษหรือเจอใครท้องเสียทีไร ประโยคแรกที่มักถูกถาม (หรือไปถามเขา) ก็คือ “เมื่อกี้ไปกินอะไรมา ?” และอาหารจานล่าสุดก็มักจะตกเป็นผู้ต้องสงสัยอย่างไม่ต้องสงสัย
จริง ๆ แล้ว อาหารจานล่าสุดที่เรากินเข้าไปคือตัวการจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ เราจะมีวิธีการตรวจสอบว่า คือเมนูไหนกันแน่ได้อย่างไร ไปหาคำตอบกันกับบทความนี้
อาหารเป็นพิษ อาจไม่ใช่เพราะจานสุดท้ายเสมอไป
จากสถิติของโรงพยาบาลสมิติเวช เปิดเผยว่า “ปี 2566 ที่ผ่านมา มีคนไทยมีอาการอาหารเป็นพิษถึง 70,010 คน โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่เป็นฤดูโปรดของเหล่าเชื้อโรค”
ก่อนจะโยนความผิดให้กับอาหารมื้อล่าสุด ลองนับนิ้วกันดูก่อนว่า อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนั้นห่างจากอาหารจานสุดท้ายที่เรากินไปจำนวนกี่ชั่วโมง หากคำตอบที่ได้ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แสดงว่ามื้อนั้นอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
โดย ดร.ทรอย (Dr.Troy Madsen) แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินของมหาวิทยาลัย Utah Health ได้อธิบายไว้ว่า อาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ จะเริ่มมีอาการหลังผ่านไปแล้ว 6 ชั่วโมง แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจแสดงอาการก่อน 6 ชั่วโมง หรือผ่านไปเป็นวัน ๆ แล้วก็ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อที่ปะปนมาในอาหาร
เยียวยาตัวเองด้วยการถ่ายให้หมด หรือรีบไปหาหมอ ?
อาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ ถือเป็นกลไกหนึ่งในการขับของเสียหรือขับพิษออกจากร่างกาย คล้าย ๆ การดีท็อกซ์ คือ เมื่อร่างกายได้รับพิษ หรือได้รับเชื้อโรค ร่างกายก็จะต้องขับสิ่งเหล่านั้นออกให้หมด และอาการท้องเสียจะค่อย ๆ บรรเทาลง
แต่หากยังท้องเสียต่อเนื่องเกิน 2 วัน หรือถ่ายเกินวันละ 4 ครั้ง หรือมีเลือดปน มีไข้สูง อาเจียนหนัก กินอะไรไปก็ออกหมด ดร.ทรอย (รวมทั้งคุณหมอทุกคน) แนะนำว่า ควรไปหาหมอให้เร็วที่สุด เนื่องจากหากร่างกายสูญเสียน้ำซึ่งประกอบไปด้วยเกลือแร่ที่จำเป็นในการทำงานของร่างกายอย่างรุนแรง อาจจะเสี่ยงภาวะช็อก หรืออันตรายถึงชีวิตได้
ท้องเสีย ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย
หากใครที่เคยมีความเข้าใจว่า เวลาท้องเสีย ควรกินยาหยุดถ่าย จะได้หายไว ๆ นั้น ควรรีบปรับความเข้าใจเสียใจใหม่ เนื่องจากอาการดังกล่าวคือการดีท็อกซ์ หรือการขับเอาของไม่ดีออกจากร่างกายนั่นเอง
ที่สำคัญคืออย่าลืมสังเกตตนเองว่า ระหว่างนี้มีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่ หากไม่มีก็แค่จิบน้ำตาลเกลือแร่ หรือโออาร์เอส (Oral Rehydration Salts: ORS ) เพื่อชดเชยอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) ที่สูญเสียไปก็พอ และอาจจะหาอะไรรองท้องเบา ๆ ย่อยง่าย และปรุงสดใหม่ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หรืออาหารที่มีการปรุงรสน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงอาหารประเภทของทอด อาหารรสจัด รวมไปถึงผักผลไม้ และประเภทนม จนกว่าจะหายดี
และจิบ “น้ำตาลเกลือแร่” (ซึ่งเป็นคนละชนิดกับน้ำเกลือแร่สำหรับคนออกกำลังกาย) เรื่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 1-2 หน่วยบริโภค ห้ามดื่มรวดเดียว เพราะอาจทำให้ลำไส้แปรปรวนและท้องเสียมากกว่าเดิมได้
“น้ำตาลเกลือแร่” ไม่ใช่ “น้ำเกลือแร่” สำหรับคนออกกำลังกาย
เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต ผู้ที่ท้องเสียและมีสัญญาณของการขาดน้ำอย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับสารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ (ให้น้ำเกลือ) แต่หากอาการท้องเสียไม่รุนแรง การดื่ม “น้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสีย” หรือโออาร์เอส ก็มักจะเพียงพอสำหรับชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป ซึ่งการเลือกชนิดของน้ำเกลือแร่ที่เหมาะสม รวมทั้งวิธีการผสมและดื่มที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญซึ่งทุกคนควรรู้
ผงน้ำตาลเกลือแร่ “โออาร์เอส” หรือ ORS (Oral Rehydration Salts) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านและมีจำหน่ายทั่วไปที่ร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อ โดยโออาร์เอสที่ร้านสะดวกซื้ออาจถูกวางอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผงเกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย ทำให้ผู้ใช้ยาเกิดความสับสนและเข้าใจว่าสามารถใช้แทนกันได้ แต่แท้จริงแล้วผงเกลือแร่ทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน เนื่องจากผงเกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกายมักมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าโออาร์เอส และอาจทำให้ผู้ที่ท้องเสียถ่ายเหลวมากกว่าเดิมก็เป็นได้ ดังนั้น ผู้ที่ท้องเสียจึงควรดื่มน้ำเกลือแร่ที่ผสมจากโออาร์เอสเท่านั้น
โดยผสมโออาร์เอสกับน้ำดื่มตามสัดส่วนและวิธีการที่ระบุไว้ข้างซอง ซึ่งน้ำที่นำมาใช้ผสมนั้นต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำดื่มที่สะอาดและมั่นใจได้ว่าไม่มีเชื้อโรคอื่นที่อาจปนเปื้อน จนทำให้อาการท้องเสียแย่ลง หากไม่สามารถหาน้ำดื่มสะอาดได้ อาจต้มน้ำและรอให้เย็นลงจนดื่มได้ก่อน จึงค่อยผสมกับโออาร์เอส และห้ามผสมโออาร์เอสกับเครื่องดื่มใด ๆ นอกจากน้ำเปล่า
น้ำตาลทราย + เกลือ ผสมน้ำ ใช้แทนโออาร์เอส ?
ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาโออาร์เอสได้ ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำไว้ว่า อาจใช้วิธีผสมน้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสียเองโดยเติม “น้ำตาลทราย 6 ช้อนชาและเกลือครึ่งช้อนชา” ในน้ำดื่มสะอาด 1 ลิตร (1,000 ซีซี) อย่างไรก็ตาม ปริมาณของเกลือแร่ที่ได้ก็จะไม่เหมือนกับที่ผสมจากโออาร์เอส สูตรนี้จึงเหมาะสำหรับใช้แทนโออาร์เอสในกรณีจำเป็นเท่านั้น
นอกจากนี้ การดื่มน้ำอัดลมเติมเกลือ เช่น สูตรสุดฮิตอย่างสไปรท์ใส่เกลือนั้น มีความคล้ายคลึงกับน้ำเกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกายมากกว่าโออาร์เอส จึงไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ท้องเสียเช่นกัน
แล้วอาการ “กินปุ๊บ ออกปั๊บ” ผิดปกติไหม ?
สำหรับคนที่มักถูกเพื่อน ๆ แซวว่าเป็นคน “ลำไส้ตรง” กินอะไรไปไม่นานก็ต้องไปเข้าห้องน้ำนั้น (โดยไม่ได้มีอาการท้องเสีย) จริง ๆ แล้ว เป็นกลไกการทำงานตามปกติของร่างกายที่เราเรียกกันว่า “Gastrocolic Reflex” เหมือนการเคลียร์ของเก่า เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับของใหม่ ซึ่งใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่จะช้า-เร็วต่างกันไปเท่านั้นเอง
และหากไม่อยากขับถ่ายหลังมื้ออาหารทุกมื้อ สามารถปรับพฤติกรรมด้วยการออกกำลังกายให้มากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ระบบการย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญ ทำงานได้เป็นระบบเข้าที่เข้าทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณขับถ่ายอย่างเป็นเวลานั่นเองครับ
The post อาการท้องเสียมาจากไหน ใช่อาหารที่เพิ่งกินไปรึเปล่า? แล้วรับมือด้วยวิธีไหนดี? appeared first on BT beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/