หลังจากไปมาแล้วหลากหลายที่ทั่วเอเชียก็ได้เวลาที่นิทรรศการ ‘Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Total Concentration Exhibition’ เดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย! โดยความน่าสนใจของนิทรรศการนี้คือการถอดฉากและกลิ่นอายสำคัญ ๆ ต่างในอนิเมะชื่อดัง ‘ดาบพิฆาตอสูร’ ไล่ตั้งแต่ ภาครถไฟนิรันดร์ และ ภาคย่านเริงรมย์ ให้ออกมาเป็นประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสด้วยตนเองกับมือ! มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ภายในงานจะแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ที่เดินเข้ามาเลยจะเจอกับเครื่องแบบหน่วยพิฆาตอสูรและดาบนิจิริน ซึ่งพอเขยิบไปอีกหน่อยก็จะเข้าเริ่มต้นเข้าสู่นิทรรศการอย่างจริงจัง โดยมุมแรกจะเป็นตกแต่งให้เหมือนกับภูเขาฟูจิคาซาเนะ ในภาคสอบคัดเลือดรอบสุดท้าย ที่ก็จะมีสแตนด์ 2 พี่น้องตระกูล อูบุยาชิกิ (Kiriya Ubuyashiki) ต้อนรับคือน้องคานาตะ (Kanata) และ คิริยะ รอต้อนรับ เดินเข้ามาอีกหน่อยทางฝั่งซ้ายของทางเดินจะเป็นโปสเตอร์ของตัวละครหลักทั้ง 6 ในภาคภูเขานาตะงุโมะ ที่ถูกมีชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นคันจิติดลงไปด้วย ส่วนฝั่งขวาผู้เขียนไม่สามารถเปิดเผยภาพได้นะครับ แต่จะเป็นการอธิบายข้อมูลของตัวละครหลักฝั่งหน่วยพิฆาตอสูรทั้งหมด เช่น รายละเอียดฝักดาบนิจิรินที่ไม่สามารถเห็นได้ชัดมากพอในฉบับอนิเมะ, ใบหน้าและทรงผมของตัวละครในองศาต่าง ๆ หรือว่าง่าย ๆ คือเป็น Facts เพิ่มเติมที่ไม่สามารถเจอได้ในตอนที่ดูอนิเมะ ซึ่งก็เพลิน ๆ ดี ผู้เขียนชอบสุดเลยคือของ โอบาไน อิงุโระ (Iguro Obanai) ที่ทำให้เข้าใจตรรกะหลาย ๆ ในการออกแบบตัวละครนี้ขึ้นมา และถ้าหันหลังกลับไปก็จะเจอกับพรอปประจำตัวของแต่ละตัวละครทั้ง 6 ในภาคภูเขานาตะงุโมะ ที่ต้องบอกว่าทำรายละเอียดออกมาได้สวยมาก ๆ โดยเฉพาะดาบนิจิรินของ ฮาชิบิระ อิโนะสุเกะ (Inosuke Hashibira) ที่เก็บรายละเอียดใบมีดและผ้าพันดาบได้สมจริงดูผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน เดินมาอีกนิดจะเจอกับบ้านผีเสื้อที่มีสแตนด์ 2 สาวเจ้าบ้านรอต้อนรับ คานาโอ สึยุริ (Kanao
The post พาชม นิทรรศการดาบพิฆาตอสูร Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Total Concentration Exhibition in THAILAND 28 ก.พ. – 30 เม.ย. appeared first on #beartai.
หลังจากไปมาแล้วหลากหลายที่ทั่วเอเชียก็ได้เวลาที่นิทรรศการ ‘Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Total Concentration Exhibition’ เดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย! โดยความน่าสนใจของนิทรรศการนี้คือการถอดฉากและกลิ่นอายสำคัญ ๆ ต่างในอนิเมะชื่อดัง ‘ดาบพิฆาตอสูร’ ไล่ตั้งแต่ ภาครถไฟนิรันดร์ และ ภาคย่านเริงรมย์ ให้ออกมาเป็นประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสด้วยตนเองกับมือ! มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง
ภายในงานจะแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ที่เดินเข้ามาเลยจะเจอกับเครื่องแบบหน่วยพิฆาตอสูรและดาบนิจิริน ซึ่งพอเขยิบไปอีกหน่อยก็จะเข้าเริ่มต้นเข้าสู่นิทรรศการอย่างจริงจัง โดยมุมแรกจะเป็นตกแต่งให้เหมือนกับภูเขาฟูจิคาซาเนะ ในภาคสอบคัดเลือดรอบสุดท้าย ที่ก็จะมีสแตนด์ 2 พี่น้องตระกูล อูบุยาชิกิ (Kiriya Ubuyashiki) ต้อนรับคือน้องคานาตะ (Kanata) และ คิริยะ รอต้อนรับ
เดินเข้ามาอีกหน่อยทางฝั่งซ้ายของทางเดินจะเป็นโปสเตอร์ของตัวละครหลักทั้ง 6 ในภาคภูเขานาตะงุโมะ ที่ถูกมีชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นคันจิติดลงไปด้วย ส่วนฝั่งขวาผู้เขียนไม่สามารถเปิดเผยภาพได้นะครับ แต่จะเป็นการอธิบายข้อมูลของตัวละครหลักฝั่งหน่วยพิฆาตอสูรทั้งหมด เช่น รายละเอียดฝักดาบนิจิรินที่ไม่สามารถเห็นได้ชัดมากพอในฉบับอนิเมะ, ใบหน้าและทรงผมของตัวละครในองศาต่าง ๆ หรือว่าง่าย ๆ คือเป็น Facts เพิ่มเติมที่ไม่สามารถเจอได้ในตอนที่ดูอนิเมะ ซึ่งก็เพลิน ๆ ดี ผู้เขียนชอบสุดเลยคือของ โอบาไน อิงุโระ (Iguro Obanai) ที่ทำให้เข้าใจตรรกะหลาย ๆ ในการออกแบบตัวละครนี้ขึ้นมา
และถ้าหันหลังกลับไปก็จะเจอกับพรอปประจำตัวของแต่ละตัวละครทั้ง 6 ในภาคภูเขานาตะงุโมะ ที่ต้องบอกว่าทำรายละเอียดออกมาได้สวยมาก ๆ โดยเฉพาะดาบนิจิรินของ ฮาชิบิระ อิโนะสุเกะ (Inosuke Hashibira) ที่เก็บรายละเอียดใบมีดและผ้าพันดาบได้สมจริงดูผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน
เดินมาอีกนิดจะเจอกับบ้านผีเสื้อที่มีสแตนด์ 2 สาวเจ้าบ้านรอต้อนรับ คานาโอ สึยุริ (Kanao Tsuyuri) และโคโจ ชิโนบุ (Kocho Shinobu)
บริเวณนี้ผู้เขียนขอให้เห็นแค่ภาพรวม ไม่เจาะแต่ละภาพละกันนะครับ เพราะอยากให้ใครที่สนใจไปงานได้เห็นด้วยตัวเองแบบชัด ๆ แต่ละใบ โซนนี้เราจะได้เห็นภาพร่างของเหล่าอสูรทั้งหลายในเรื่องก่อนจะออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวในอนิเมะที่เราได้ดู ของจริงนี่บอกเลยว่าฟินมาก เพราะนอกจากมันจะเป็นภาพร่างที่สวยแล้ว เรายังจะได้เห็นว่ากว่าจะออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวหนึ่งตัว ทีมแอนิเมชันเขาคิดแล้วคิดอีกใส่รายละเอียดกันหัวระเบิดขนาดไหน
โซนถัดมา ‘ศึกรถไฟสู่นิรันดร์’ หนึ่งใจจุดพีกของดาบพิฆาตอสูรเลยก็ว่าได้ ซึ่งในนิทรรศการก็จัดให้โซนนี้เป็นจุดไว้ให้ถ่ายรูปแบบจุใจเลย ภาพแรกเป็นสแตนด์ของตัวละครหลักฝั่งตัวเอกในภาคนี้ ถัดมาจะเป็นการนำจุดเด่นของเอนมุ (Enmu) อสูรข้างแรมที่ 1 ตัวร้ายหลักของภาคนี้มาเป็นจุดไว้ให้ถ่ายรูปโดยที่จะมีบริเวณคล้าย ๆ กับพลังของตัวละครดังกล่าวให้เข้าไปถ่ายรูปพร้อมมีลูกเล่นให้กดได้ด้วยนะ ส่วนถัดมาจะเป็นมุมหนึ่งในรถไฟที่เหล่าตัวละครเอกนั่งพูดคุยกันนิดหน่อย ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือมีกล่องข้าวเบนโตะที่ถูกกินหมดเกลี้ยงวางไว้อยู่ให้เราได้นึกถึงฉากนี้ เห็นแล้วคำว่า ‘อร่อย!’ มันลอยเข้ามาในหัวเลยละ
โซนถัดมาก็ถึงคราวของภาคย่านเริงรมย์แล้ว เอาจริง ๆ โซนนี้ผู้เขียนไม่อยากเอาภาพใด ๆ มาเปิดเผยเลย เพราะลูกเล่นสนุก ๆ เยอะมาก เอาเป็นว่ามันคือการถอดฉากอาคารสถานในภาคนี้ โดยจะมีรูปริศนาจำนวนมากให้เราสามารถเอาตาเข้าไปส่องได้ (ไม่ต้องห่วงนะ ไม่มีจัมป์สแกร์ ฮ่า ๆ) ซึ่งก็จะได้เจอเข้ากับตัวละครหลักทั้งฝั่งดีและร้ายข้างใน แล้วถ้าใครช่างสังเกตก็อาจจะได้เจอเข้ากับนินจู หนูนินจาของ อุซุย เทนเง็น (Uzui Tengen) นอกจากนี้ก็ยังจะมีพรอปจำลองสวย ๆ ของตัวละครดังกล่าวให้เราได้ดูเป็นบุญตา มีสแตนด์ของดากิ (Daki) และกิวทาโร (Gyutaro) อสูรตัวร้ายหลักของภาคนี้ที่ก็ตกแต่งได้ออกมาโดดเด่นเป็นอย่างมาก
โซนสุดท้ายของนิทรรศการ ที่คุณจะเข้าใจระดับหนึ่งว่าทำไมอนิเมะเรื่องนี้ถึงได้มีคุณภาพเหลือเกิน เพราะนี่จะเป็นโซนที่เราจะได้เห็นคอลเล็กชันงานภาพนิ่งสวย ๆ จากนักแอนิเมชันที่ช่วยกันรังสรรค์ภาพเคลื่อนไหวของเรื่องนี้ขึ้นมา ที่ก็ขอย้ำอีกว่าอยากให้มาดูกันด้วยตาของตัวเองเพราะมันคือประสบการณ์ความประทับใจส่วนตัวจริง ๆ
แน่นอนว่างานนิทรรศการจะขาดโซนขายของที่ระลึกได้อย่างไร!? ของจาก Official มาครบเลย ไล่ตั้งแต่กระเป๋า, โปสเตอร์, พวงกุญแจ, Standee, กาชาปอง, ฟิกเกอร์ และ อีกมากมาย ให้ทุกคนได้สะสมกันครับ
สำหรับใครที่สนใจ นิทรรศการดาบพิฆาตอสูร Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Total Concentration Exhibition in THAILAND 28 ก.พ. – 30 เม.ย. จัดที่ The Market Bangkok, Ratchaprasong (G Floor) โดยจะเปิดให้เข้าชมระหว่าง 12.30 – 22.00 น. โดยราคาค่าเข้าจะมีด้วยกันทั้งสิ้น 3 เรต ได้แก่
General Admission: ราค 550 บาท
Special Admission (ส่วนสูงไม่เกิน 110 ซม.) ราคา 350 บาท
At Door Ticket: ราคา 650 บาท
หรือใครต้องการซื้อแบบออนไลน์ก็จัดไปได้เลยที่ Melon Ticket
The post พาชม นิทรรศการดาบพิฆาตอสูร Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Total Concentration Exhibition in THAILAND 28 ก.พ. – 30 เม.ย. appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/