Pistanthrophobia หรือโรคกลัวการไว้ใจจัดว่าเป็นโรคกลัว (Phobia) ชนิดหนึ่งที่ทำให้คนคนนั้นไม่กล้าและกลัวที่จะไว้ใจคนอื่น ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องของความรัก สาเหตุหลักของโรคกลัวการไว้ใจมักมาจากเหตุการณ์เลวร้ายในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง อย่างการถูกนอกใจ การถูกหักหลัง การถูกปฏิเสธ การถูกบอกเลิก และเหตุการณ์อื่น ๆ คนที่มีโรคนี้จะรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง วิตกกังวล ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และอาการอื่นเมื่อเข้าใกล้ความสัมพันธ์ที่ต้องใช้ความไว้วางใจ โรคกลัวการไว้วางใจ และโรคกลัวชนิดอื่น ๆ จัดเป็นภาวะวิตกกังวลรูปแบบหนึ่ง อาการของโรคกลัวการไว้วางใจสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และสุขภาพได้ อาการของโรคกลัวการไว้ใจ อาการหลังของโรค คือ ความกลัวการไว้ใจแบบสุดขีด ต่อเนื่อง โดยที่เจ้าตัวไม่สามารถควบคุม หรือต่อต้านความกลัวนั้นได้เลย แม้จากเหตุการณ์เล็กน้อยก็ตาม ซึ่งนอกจากความกลัวที่เห็นได้ชัดแล้ว คนที่มีอาการของโรคนี้อาจแสดงความรู้สึก และพฤติกรรมอื่นออกมากด้วย เช่น ผลกระทบของโรคกลัวการไว้ใจ คนที่มีอาการของโรคนี้เสี่ยงต่อผลกระทบได้ 2 ด้านหลัก ๆ ด้วยกัน ผลกระทบด้านการใช้ชีวิต ทั้งจากความคิด พฤติกรรม และอาการของโรคกลัวการไว้ใจอาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตได้ เช่น ผลกระทบด้านสุขภาพ อาการของโรค ร่วมกับผลกระทบด้านการใช้ชีวิตสามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ โดยผลกระทบทั้ง 2 ด้านนี้มีความสัมพันธ์กัน และอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของกันและกันได้ วิธีรับมือกับโรคกลัวการไว้ใจ โรคกลัวการไว้ใจเรียกได้ว่าเป็นโรคทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และสุขภาพได้ในหลายด้าน ซึ่งควรรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อลดผลกระทบจากความกลัว และอาการอื่น ๆ ในเคสที่จิตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคทางอารมณ์ และตรงตามเกณฑ์ของโรค แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการบำบัดความคิด และพฤติกรรม ซึ่งจะเป็นการพูดคุย และรับฟังเพื่อค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการไว้วางใจ และความกลัว รวมถึงเพื่อรับมือกับความรู้สึก และพฤติกรรมอื่นด้วย นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน ในเคสที่มีสัญญาณของโรคกลัวการไว้ใจ
The post โรคกลัวการไว้ใจ (Pistanthrophobia) ภาระทางใจที่ฉุดรั้งให้ไม่กล้าเริ่มต้นใหม่สักที appeared first on #beartai.
Pistanthrophobia หรือโรคกลัวการไว้ใจจัดว่าเป็นโรคกลัว (Phobia) ชนิดหนึ่งที่ทำให้คนคนนั้นไม่กล้าและกลัวที่จะไว้ใจคนอื่น ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องของความรัก สาเหตุหลักของโรคกลัวการไว้ใจมักมาจากเหตุการณ์เลวร้ายในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง อย่างการถูกนอกใจ การถูกหักหลัง การถูกปฏิเสธ การถูกบอกเลิก และเหตุการณ์อื่น ๆ
คนที่มีโรคนี้จะรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง วิตกกังวล ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และอาการอื่นเมื่อเข้าใกล้ความสัมพันธ์ที่ต้องใช้ความไว้วางใจ โรคกลัวการไว้วางใจ และโรคกลัวชนิดอื่น ๆ จัดเป็นภาวะวิตกกังวลรูปแบบหนึ่ง อาการของโรคกลัวการไว้วางใจสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และสุขภาพได้
อาการของโรคกลัวการไว้ใจ
อาการหลังของโรค คือ ความกลัวการไว้ใจแบบสุดขีด ต่อเนื่อง โดยที่เจ้าตัวไม่สามารถควบคุม หรือต่อต้านความกลัวนั้นได้เลย แม้จากเหตุการณ์เล็กน้อยก็ตาม ซึ่งนอกจากความกลัวที่เห็นได้ชัดแล้ว คนที่มีอาการของโรคนี้อาจแสดงความรู้สึก และพฤติกรรมอื่นออกมากด้วย เช่น
รู้สึกต้องการที่หนีอย่างรุนแรง เพื่อออกจากเหตุการณ์ บุคคล หรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกกลัว เช่น สิ่งของของคนรักเก่า เหตุการณ์ถูกขอแฟน หรือการถูกสร้างความประทับใจ
หายใจหอบ หายใจไม่ทัน
หัวใจเต้นรัว
ตัวสั่น
เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความรัก ความไว้ใจ หรือความผูกพัน เช่น ไม่ยอมทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ ไม่ไปเที่ยวกับคนที่มีแนวโน้มว่าจะจีบ
เก็บตัว ไปเจอคนรอบตัวน้อยลง เพราะรู้สึกอึดอัดเมื่อถูกถาม หรือเตือนเรื่องความรู้สึกกลัวจากโรคนี้
ผลกระทบของโรคกลัวการไว้ใจ
คนที่มีอาการของโรคนี้เสี่ยงต่อผลกระทบได้ 2 ด้านหลัก ๆ ด้วยกัน
ผลกระทบด้านการใช้ชีวิต
ทั้งจากความคิด พฤติกรรม และอาการของโรคกลัวการไว้ใจอาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตได้ เช่น
ขาดโอกาสในการรู้จักกับคนใหม่ ๆ
ห่างเหินกับคนใกล้ตัว อย่างครอบครัว และเพื่อนสนิท
เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในที่ทำงาน
พลาดโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ เพราะขาดความมั่นใจ และไม่กล้าไว้ใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพ
อาการของโรค ร่วมกับผลกระทบด้านการใช้ชีวิตสามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้
ความเครียด
โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลอื่น ๆ
การใช้บุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด
ความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย
โดยผลกระทบทั้ง 2 ด้านนี้มีความสัมพันธ์กัน และอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของกันและกันได้
วิธีรับมือกับโรคกลัวการไว้ใจ
โรคกลัวการไว้ใจเรียกได้ว่าเป็นโรคทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และสุขภาพได้ในหลายด้าน ซึ่งควรรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อลดผลกระทบจากความกลัว และอาการอื่น ๆ
ในเคสที่จิตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคทางอารมณ์ และตรงตามเกณฑ์ของโรค แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการบำบัดความคิด และพฤติกรรม ซึ่งจะเป็นการพูดคุย และรับฟังเพื่อค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการไว้วางใจ และความกลัว รวมถึงเพื่อรับมือกับความรู้สึก และพฤติกรรมอื่นด้วย นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน
ในเคสที่มีสัญญาณของโรคกลัวการไว้ใจ แต่ไม่ได้รุนแรงอาจแค่กลัวการเปิดใจ หรือรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพูดคุยกับคนใหม่ ๆ อาจใช้เทคนิคต่อไปนี้ในการรับมือ
เริ่มให้ความไว้วางใจทีละเล็กน้อย แล้วดูว่าจะได้อะไรกลับมา วิธีนี้จะช่วยให้คนที่มีความกลัวการไว้วางใจสามารถเผชิญหน้ากับความกลัวแบบไต่ระดับ เพื่อสำรวจ และได้รู้ว่าการให้ความไว้วางใจในระดับนี้จะได้รับอะไรกลับมา หากได้รับผลตอบรับที่ดีก็สามารถเพิ่มระดับ หรือเพิ่มจำนวนของความไว้วางใจต่อสิ่งต่าง ๆ หากได้รับความผิดหวังก็เปลี่ยนคน แล้วเริ่มใหม่
ให้ความไว้วางใจกับคนที่คุณรู้ว่าให้ได้ เช่น เพื่อนสนิท และครอบครัว ในชีวิตคนเราอาจมีคนที่รู้อยู่ทั้งใจว่าสามารถไว้ใจเขาได้ แต่ด้วยอาการความกลัวอาจทำให้ไม่กล้าแสดงความไว้วางใจออกมา
ลองเลี้ยงสัตว์เลี้ยง การศึกษาพบว่าสัตว์เลี้ยงกับเจ้าของล้วนสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความผูกพันกันทั้งสองฝ่าย แน่นอนว่าไม่เกิดปัญหาเรื่องความไว้วางใจ ช่วยให้คนที่มีโรคกลัวการไว้ใจกล้า และคุ้นเคยที่จะไว้ใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
วางแผนชีวิต คนที่มีโรคเกี่ยวกับความกลัวมักไวต่อการกระตุ้น และขาดความมั่นใจในตัวเองจนกลัวที่จะทำสิ่งต่าง ๆ การวางแผนชีวิต และดำเนินตามนั้นจะช่วยให้คุณมีหลักหรือเส้นทางในการยึดเกาะเพื่อก้าวเดินต่อไป ซึ่งช่วยให้คุณตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้นด้วย
หากรู้สึกกลัวที่จะไว้ใจคนอื่น แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่คือโรคกลัวการไว้ใจรึเปล่า Hack for Health แนะนำให้ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างแพทย์ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์โดยที่อย่าเพิ่งตัดสินว่าตัวเองป่วยหรือผิดปกติ เพราะโรคเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และไม่ดีแน่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
The post โรคกลัวการไว้ใจ (Pistanthrophobia) ภาระทางใจที่ฉุดรั้งให้ไม่กล้าเริ่มต้นใหม่สักที appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/