ในช่วงสิ้นปี ผู้คนมักสัมผัสได้ถึงความสงบนิ่ง แสงแดดที่อ่อนลง เมฆหม่นบนท้องฟ้า และอากาศที่เย็นลงเล็กน้อย ร่วมกับการรับรู้ถึงกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความรู้เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรแบบแปลก ๆ โดยเฉพาะงาน ซึ่งความรู้สึกนี้อาจเป็นสัญญาณของ End of Year Burnout ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปีก็ได้นะ คุณน่าจะรู้จักกับเบิร์นเอาต์ (Burnout Syndrome) หรือภาวะหมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่มักใช้กับการทำงาน ภาวะนี้ทำให้คุณไม่อยากทำงาน หมดแพสชันในการคิด การลงมือทำ การทำงานกลืนกินพลังงานทั้งกาย และใจของคุณมากเป็นพิเศษ และทำให้เครียดมากขึ้นด้วย โดยอาการนี้เกิดจากภาวะความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ร่วมกับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ การสำรวจพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะหมดไฟในช่วงสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบทความนี้จะพาไปรู้จักกับภาวะนี้กัน ทำไมหมดปี แล้วหมดไฟ? แม้ว่าช่วงเวลาสิ้นปีเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน วันหยุด และการเฉลิมฉลองให้กับเรื่องราวที่ผ่านมา และเรื่องราวใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป แต่ผลสำรวจจากสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) พบว่าคนกว่า 31 เปอร์เซ็นต์มีภาวะความเครียด และวิตกกังวลที่สูงขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปี เหตุผลที่ 1: เพราะวันหยุดกำลังมาถึง แม้จะเป็นเรื่องดีที่คุณได้หยุดบ่อยขึ้น หรือนานขึ้นในช่วงสิ้นปี แต่การทำงานนั้นไม่ได้หยุดลง ดังนั้น คุณต้องเตรียมงานสำหรับวันหยุดยาวของคุณไม่ให้ขาด และผิดพลาดน้อยที่สุดเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องรับโทรศัพท์ แล้วเปิดแล็ปท็อปแก้งานขณะดื่มด่ำวิว และความหนาวเย็นขณะอยู่บนดอยสูงแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งเหมือนเป็นความเครีดยจากการที่คุณต้องรีดเค้นพลังงานชีวิตในช่วงวันหยุดมาจัดการมันให้เสร็จก่อนวันหยุดจะมาถึง การรับรู้ว่าวันหยุดจะมาถึง ผู้คนจึงต้องรับผิดชอบมากขึ้นในกรอบเวลาที่จำกัด ส่งผลให้เกิดความเครียดที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปี เหตุผลที่ 2: เพราะถึงช่วงเวลาแห่งการวัดผล ในช่วงสิ้นปี นอกจากการที่ผู้คนจะรีแคปหรือสรุปเรื่องราวในชีวิตตลอดปีที่ผ่านมาลงบนโซเชียลมีเดียแล้ว ในด้านของการทำงาน ช่วงเวลาสิ้นปีมักเป็นช่วงเวลาของการประเมิน เช่น รายได้ ยอดขาย ผลงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ช่วงก่อนสิ้นปีจึงเหมือนช่วงเวลาของชนวนที่กำลังวิ่งจนถึงปลายทาง ซึ่งบางคนไม่สามารถรู้เลยว่าปลายทางของชนวนนั้นจะเป็นพลุที่จุดเพื่อการเฉลิมฉลองความสำเร็จของปีที่ผ่านมา หรือเป็นระเบิดแห่งการทำลายล้างหน้าที่การงานของคุณ
The post รู้จัก End of Year Burnout หมดปี หมดใจ ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปี appeared first on #beartai.
ในช่วงสิ้นปี ผู้คนมักสัมผัสได้ถึงความสงบนิ่ง แสงแดดที่อ่อนลง เมฆหม่นบนท้องฟ้า และอากาศที่เย็นลงเล็กน้อย ร่วมกับการรับรู้ถึงกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความรู้เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรแบบแปลก ๆ โดยเฉพาะงาน ซึ่งความรู้สึกนี้อาจเป็นสัญญาณของ End of Year Burnout ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปีก็ได้นะ
คุณน่าจะรู้จักกับเบิร์นเอาต์ (Burnout Syndrome) หรือภาวะหมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่มักใช้กับการทำงาน ภาวะนี้ทำให้คุณไม่อยากทำงาน หมดแพสชันในการคิด การลงมือทำ การทำงานกลืนกินพลังงานทั้งกาย และใจของคุณมากเป็นพิเศษ และทำให้เครียดมากขึ้นด้วย โดยอาการนี้เกิดจากภาวะความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ร่วมกับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ
การสำรวจพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะหมดไฟในช่วงสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบทความนี้จะพาไปรู้จักกับภาวะนี้กัน
ทำไมหมดปี แล้วหมดไฟ?
แม้ว่าช่วงเวลาสิ้นปีเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน วันหยุด และการเฉลิมฉลองให้กับเรื่องราวที่ผ่านมา และเรื่องราวใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป แต่ผลสำรวจจากสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) พบว่าคนกว่า 31 เปอร์เซ็นต์มีภาวะความเครียด และวิตกกังวลที่สูงขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปี
เหตุผลที่ 1: เพราะวันหยุดกำลังมาถึง
แม้จะเป็นเรื่องดีที่คุณได้หยุดบ่อยขึ้น หรือนานขึ้นในช่วงสิ้นปี แต่การทำงานนั้นไม่ได้หยุดลง ดังนั้น คุณต้องเตรียมงานสำหรับวันหยุดยาวของคุณไม่ให้ขาด และผิดพลาดน้อยที่สุดเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องรับโทรศัพท์ แล้วเปิดแล็ปท็อปแก้งานขณะดื่มด่ำวิว และความหนาวเย็นขณะอยู่บนดอยสูงแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งเหมือนเป็นความเครีดยจากการที่คุณต้องรีดเค้นพลังงานชีวิตในช่วงวันหยุดมาจัดการมันให้เสร็จก่อนวันหยุดจะมาถึง
การรับรู้ว่าวันหยุดจะมาถึง ผู้คนจึงต้องรับผิดชอบมากขึ้นในกรอบเวลาที่จำกัด ส่งผลให้เกิดความเครียดที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปี
เหตุผลที่ 2: เพราะถึงช่วงเวลาแห่งการวัดผล
ในช่วงสิ้นปี นอกจากการที่ผู้คนจะรีแคปหรือสรุปเรื่องราวในชีวิตตลอดปีที่ผ่านมาลงบนโซเชียลมีเดียแล้ว ในด้านของการทำงาน ช่วงเวลาสิ้นปีมักเป็นช่วงเวลาของการประเมิน เช่น รายได้ ยอดขาย ผลงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ช่วงก่อนสิ้นปีจึงเหมือนช่วงเวลาของชนวนที่กำลังวิ่งจนถึงปลายทาง ซึ่งบางคนไม่สามารถรู้เลยว่าปลายทางของชนวนนั้นจะเป็นพลุที่จุดเพื่อการเฉลิมฉลองความสำเร็จของปีที่ผ่านมา หรือเป็นระเบิดแห่งการทำลายล้างหน้าที่การงานของคุณ เกิดความกดดัน และความเครียดทั้งในระดับตัวบุคคล แผนก หรือทั้งบริษัท
เหตุผลที่ 3: เพราะความสำเร็จบนโซเชียลมีเดีย
อย่างที่ได้กล่าวไปในเหตุผลก่อนหน้านี้ว่าช่วงสิ้นปีเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนทบทวนชีวิตตัวเองมากที่สุดว่าในปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งหลายคนแชร์ความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะเงินทอง ทรัพย์สิน ความรัก หรือผลตอบแทนของความเหน็ดเหนื่อยที่ทำมาตลอด
การเสพความสำเร็จของคนอื่นอาจสร้างแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันในคุณพยายามต่อไป แต่ในขณะเดียวกันความสำเร็จเหล่านั้นอาจทำให้คุณรู้สึกแย่ เพราะมันอาจตรงข้ามกันกับสถานะปัจจุบันของคุณอย่างสิ้นเชิง การเรียกร้องด้วยความเหน็ดเหนื่อยอย่างแสนสาหัสของคุณไม่ได้ถูกตอบรับด้วยความสำเร็จแบบเดียวกับเพื่อนบนเฟซบุ๊ก จนเกิดเป็นความเครียดที่เหมือนเอาน้ำถังใหญ่สาดใส่กองไฟที่ใกล้มอด
เหตุผลที่ 4: เพราะบรรยากาศทำให้คุณ SAD
สภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะแสงแดด ความชื้น และอุณหภูมิส่งผลต่อภาวะอารมณ์ของมนุษย์มากกว่าที่หลายคนคิด บรรยากาศในช่วงปลายปีที่มีแดดอ่อน อากาศแห้ง บวกกับอุณหภูมิที่ลดลงอาจส่งผลต่อสารเคมีในสมอง อย่างเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ควบคุมด้านการนอนหลับ และอารมณ์ จนทำให้เกิด SAD (Seasonal Affective Disorder) หรือภาวะความเศร้าจากสภาพอากาศ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอาการซึมเศร้า โดยมีสภาพอากาศเป็นตัวกระตุ้น มักเกิดในช่วงปลายปี
แม้ว่า SAD จะไม่ได้ทำให้คุณหมดไฟ แต่อาการของ SAD อย่างไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกเศร้า อ่อนไหว สิ้นหวัง และไม่มีสมาธิอาจส่งผลทางลบต่องานของคุณจนเกิดเป็นความเครียดสะสมจากการทำงานอีกทางหนึ่ง
รับมือกับ End of Year Burnout ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปี
ภาวะหมดไฟไม่ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไหนก็ส่งผลต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของคุณได้ ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ปัญหาอื่น อย่างโรคเครียด นอนไม่หลับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด ไปจนถึงโรคซึมเศร้า และที่สำคัญ คือ ภาวะนี้ทำให้คุณไม่มีความสุข
การรับมือที่ Hack for Health เตรียมมาอาจพอช่วยเติมเชื้อเพลิงปลุกกองไฟที่กำลังมอดดับไปของคุณให้ลุกโชนได้บ้าง
1. Work Smarter Not Harder
หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท หรือมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะออกจากงาน แล้วใช้ชีวิตสุขสบายโดยไม่กังวลเรื่องเงิน การทำงานต่อไปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณอาจเหนื่อย และเครียดน้อยลงถ้าคุณจัดการงานเหล่านั้นได้
Work Smarter Not Harder เป็นสำนวนตะวันตกที่เชิญชวนให้คนหันมาทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อชดเชยการทำงานหนัก ซึ่งสามารถปรับใช้ได้หลายรูปแบบเพื่อรับมือกับ End of Year Burnout เช่น
จัดเรียงความสำคัญของงานเพื่อให้คุณรู้ว่าควรทุ่มแรงที่มีอยู่ให้กับงานไหนก่อน แล้วค่อยแบ่งเวลาไปจัดการกับงานที่สำคัญรองลงไป
เป็น Perfectionist ให้น้อยลง การเป็นคนที่หลงใหลในความสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องดี แต่มันสร้างภาระ และความเครียดให้กับคุณเอง
เลิกเป็น ‘เดอะ แบก’ บุคคลมากความสามารถที่ทำได้ทุกอย่าง คุณควรคืนงานบางอย่างที่ไม่ใช่ของตัวให้กับเจ้าของที่แท้จริง แม้เขาจะทำออกมาได้ไม่มีคุณภาพเท่าคุณก็ตาม คุณอาจแนะนำเขาตามความเหมาะสม
ใช้ AI และ เทคโนโลยีให้มากขึ้น ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์มากมายที่ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้น เช่น ฟีเจอร์การตั้งเวลาส่งอีเมล ChatGPT ที่ช่วยสรุปและวางแผนงาน การใช้ AI ใน CANVA เพื่อเปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นงานนำเสนอที่สวยงาม
อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนหมดไฟกลับมาฮึด และจัดการกับงานด้วยวิธีเหล่านี้ แต่อย่างน้อยถ้าคุณกำลังหมดไฟ และได้เห็นวิธีเหล่านี้ แสดงว่าคุณรับรู้แล้วว่ามีอีกหลายวิธีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระงานของคุณ
2. กล้าที่จะถูกเกลียด
คุณอาจคุ้นตากับคำนี้ เพราะเป็นชื่อหนังสือขายดีเล่มหนึ่งที่ว่าด้วยหลักจิตวิทยาของ ‘การกล้าที่จะถูกเกลียด’ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้นำมาใช้กับคนหมดไฟในที่ทำงานได้เป็นอย่างดี ระลึกไว้เสมอว่าคุณเป็นเพียงคนตัวเล็กจ้อยที่ทำงานให้กับบริษัทอันใหญ่โต ในระบบเศรษฐกิจมโหฬาร คุณอาจเป็นคนสำคัญในวงเล็ก ๆ แต่โลกไม่ได้หมุนรอบตัวคุณ
ดังนั้น จงกล้าที่จะใช้สิทธิ์ที่เป็นของคุณ ไม่ว่าจะวันลาหยุดตามกฎหมาย เรียกร้องสิทธิ์เมื่อถูกละเมิดตามกฎหมายแรงงาน การตอบโต้อย่างชาญฉลาดเมื่อถูกเพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ กล้าจะเรียกร้องความชอบจากผลงานที่โดดเด่นของคุณ และกล้าที่จะเป็นตัวของคุณเองเพื่ออิสระของของคุณเอง อย่างไรก็ตาม คุณภาพของงานที่ดี และความจริงใจต่อคนรอบข้างช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับการเรียกร้องของคุณได้
3. ดูแลสุขภาพกาย
แม้ว่า End of Year Burnout จะเป็นปัญหาด้านจิตใจ แต่ความพร้อมของร่างกายก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน อย่าง SAD ที่เป็นผลมาจากสภาพอากาศ ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายจึงสามารถช่วยให้เตาไฟในตัวคุณอุ่นขึ้น แม้อากาศข้างนอกจะหนาวเหน็บ
เคลื่อนไหวให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ การเคลื่อนไหวร่างกายช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และช่วยให้เลือดสูบฉีดทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ยิ่งการออกกำลังกายจะช่วยลดความเครียด ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง แก้ปัญหาไม่สดชื่นจากสภาพอากาศ และสภาพอารมณ์ได้
เติมอาหารดี ๆ ให้สมองบ้าง
การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่างฟาสต์ฟู้ดบ่อย ๆ สัมพันธ์กับความเครียด การเติมอาหารดี ๆ ให้กับตัวคุณเองอาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ไม่ต้องถึงขั้นอาหารคลีน แค่เพียงเติมผัก ผลไม้ อัลมอนด์ ปลาทะเลในมื้ออาหารบางมื้อก็พอจะช่วยได้แล้ว
ให้ความสำคัญกับการนอน
แม้ว่าคุณไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย หรือเลือกซื้ออาหารดี ๆ แต่คุณต้องมีเวลานอน ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการนอนมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เช่น งดเล่นมือถือก่อนนอน ปิดเสียงหรือปิดโทรศัพท์ขณะนอน และนอนให้ครบ 7–9 ชั่วโมง/คืนเพื่อฟื้นคืนสมดุลของสมอง อารมณ์ และร่างกาย
ขีดเส้นระหว่างงานกับสุขภาพ
จงมีชีวิตไว้เพื่อใช้ชีวิต ไม่ใช่เพื่องานที่เอาเปรียบคุณ ถ้าช่วงไหนงานหรือภาระหน้าที่เหล่านั้นหนักหนา และรบกวนสุขภาพของคุณนั่นไม่ใช่ลักษณะของงานที่ดีนัก จงอดทนเท่าที่จำเป็น และเหมาะสม
4. ขอความช่วยเหลือจากเซฟโซนในชีวิต
อะไรที่หนัก แบกไว้คนเดียวคงไม่ไหว คุณอาจหาใครสักคนที่จะคอยรับฟังคุณ เช่น ครอบครัว คนรัก หรือเพื่อน แม้ว่าคนเหล่านี้ไม่สามารถแก้ปัญหาหมดไฟหรือปัญหาในการทำงานของคุณได้ทันที แต่การได้ระบายสามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางจิตใจของตัวคุณได้ หรือคุณอาจได้แง่คิด หรือวิธีคิดใหม่ ๆ จากการปรึกษาเซฟโซนของคุณ
หรือคุณโบกมือเพื่อขอความช่วยเหลือจากหัวหน้า หรือเพื่อนที่ทำงานอย่างจริงใจ และตรงไปตรงมา เล่าเหตุผล และสิ่งที่คุณกำลังเผชิญ ซึ่งความช่วยเหลืออาจมาในรูปแบบของคำพูด คำแนะนำ หรือการลงมือทำ จงน้อมรับมันไว้ด้วยความจริงใจ
End of Year Burnout ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปีอาจส่งผลต่อคนแต่ละคนรุนแรงแตกต่างกันไป แต่ถ้าคุณพบสัญญาณของอาการหมดไฟ เช่น เครียด เหนื่อยล้า เศร้า หมดแพสชัน ไม่พอใจ ไม่มีความสุขกับงาน ไม่อยากทำงาน หรืออยากลาออกจากงาน อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยวิธีที่ Hack for Health ได้แนะนำไป แล้วถ้าไม่ดีขึ้น คุณอาจลองมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่ให้คุณได้เปลี่ยนบรรยากาศ และเติบโต หรือไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างนักจิตวิทยาเพื่อให้ทางออกทางความรู้สึก
ที่มา: Forbes, WebMD, Cleaveland Clinic
The post รู้จัก End of Year Burnout หมดปี หมดใจ ภาวะหมดไฟช่วงสิ้นปี appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/