ความเครียด ส่งผลต่อเราทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องการเงิน หรือเมื่อต้องรับมือกับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นอย่างที่หวัง หากความเครียดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและหายไปได้ในเวลาไม่นานก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลอะไร แต่ความเครียดที่มากเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกแย่และทำให้คุณป่วยทั้งทางจิตใจและร่างกายได้ ขั้นตอนแรกในการควบคุมความเครียดคือการรู้อาการของความเครียด แต่การรับรู้อาการความเครียดอาจยากกว่าที่คุณคิด เพราะส่วนใหญ่คนมักคุ้นเคยกับความเครียด และไม่รู้ว่าตัวเองเครียดจนกว่าเราจะถึงจุดแตกหัก ความเครียดคืออะไร ? ความเครียดคือปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือการรับรู้ก็ตาม เมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม ปฏิกิริยาทางเคมีจะเกิดขึ้นในร่างกายซึ่งทำให้คุณสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า “สู้หรือหนี” หรือการตอบสนองต่อความเครียด ในระหว่างการตอบสนองต่อความเครียดอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น หายใจเร็วขึ้น กล้ามเนื้อกระชับ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ความเครียดมีความหมายที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละคน สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดในคนหนึ่งอาจเป็นเรื่องที่อีกคนอาจไม่รู้สึกอะไร บางคนสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และไม่ใช่ว่าความเครียดจะเลวร้ายไปเสียทุกอย่าง เพราะในอีกมุมหนึ่งความเครียดสามารถช่วยให้คุณทำงานให้สำเร็จ เพื่อหลีกหนีผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมา ร่างกายของเราได้รับการออกแบบมาให้รับมือกับความเครียดเพียงเล็กน้อย แต่เราไม่พร้อมที่จะรับมือกับความเครียดเรื้อรังในระยะยาวโดยไม่มีผลร้ายตามมา อาการของความเครียด ? ความเครียดสามารถส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต รวมถึงอารมณ์ พฤติกรรม ความสามารถในการคิด และสุขภาพกาย และเนื่องจากคนเราจัดการกับความเครียดต่างกัน อาการของความเครียดจึงอาจแตกต่างกันไป อาการอาจไม่ชัดเจนและอาจเหมือนกับอาการที่เกิดจากสภาวะทางสุขภาพทั่วไป โดยอาการทางอารมณ์ของความเครียด ได้แก่ อาการทางกายภาพของความเครียด ได้แก่ อาการทางการรับรู้ของความเครียด ได้แก่ อาการทางพฤติกรรมของความเครียด ได้แก่ ผลที่ตามมาของความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่ความเครียดเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง ได้แก่ 1.ระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ในระหว่างการตอบสนองต่อความเครียดคุณจะหายใจเร็วขึ้นเพื่อกระจายเลือดที่มีออกซิเจนไปยังร่างกายอย่างรวดเร็ว หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพอง ความเครียดอาจทำให้หายใจลำบากยิ่งขึ้น ภายใต้ความเครียด หัวใจของคุณก็จะเต้นเร็วขึ้นเช่นกัน ฮอร์โมนความเครียดทำให้หลอดเลือดหดตัวและเปลี่ยนเส้นทางออกซิเจนไปยังกล้ามเพื่อให้คุณมีพลังมากขึ้น แต่สิ่งนี้ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วย เป็นผลให้ความเครียดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเครียดเรื้อรังจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักเกินไปเป็นเวลานาน เมื่อความดันโลหิตของคุณเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน 2.ระบบทางเดินอาหาร ภายใต้ความเครียด ตับจะผลิตน้ำตาลในเลือด
The post อันตรายจากความเครียดเรื้อรัง ส่งผลเสียต่ออารมณ์และร่างกายกว่าที่คิด appeared first on #beartai.
ความเครียด ส่งผลต่อเราทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องการเงิน หรือเมื่อต้องรับมือกับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นอย่างที่หวัง หากความเครียดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและหายไปได้ในเวลาไม่นานก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลอะไร แต่ความเครียดที่มากเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกแย่และทำให้คุณป่วยทั้งทางจิตใจและร่างกายได้
ขั้นตอนแรกในการควบคุมความเครียดคือการรู้อาการของความเครียด แต่การรับรู้อาการความเครียดอาจยากกว่าที่คุณคิด เพราะส่วนใหญ่คนมักคุ้นเคยกับความเครียด และไม่รู้ว่าตัวเองเครียดจนกว่าเราจะถึงจุดแตกหัก
ความเครียดคืออะไร ?
ความเครียดคือปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือการรับรู้ก็ตาม เมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม ปฏิกิริยาทางเคมีจะเกิดขึ้นในร่างกายซึ่งทำให้คุณสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า “สู้หรือหนี” หรือการตอบสนองต่อความเครียด ในระหว่างการตอบสนองต่อความเครียดอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น หายใจเร็วขึ้น กล้ามเนื้อกระชับ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
ความเครียดมีความหมายที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละคน สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดในคนหนึ่งอาจเป็นเรื่องที่อีกคนอาจไม่รู้สึกอะไร บางคนสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และไม่ใช่ว่าความเครียดจะเลวร้ายไปเสียทุกอย่าง เพราะในอีกมุมหนึ่งความเครียดสามารถช่วยให้คุณทำงานให้สำเร็จ เพื่อหลีกหนีผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมา
ร่างกายของเราได้รับการออกแบบมาให้รับมือกับความเครียดเพียงเล็กน้อย แต่เราไม่พร้อมที่จะรับมือกับความเครียดเรื้อรังในระยะยาวโดยไม่มีผลร้ายตามมา
อาการของความเครียด ?
ความเครียดสามารถส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต รวมถึงอารมณ์ พฤติกรรม ความสามารถในการคิด และสุขภาพกาย และเนื่องจากคนเราจัดการกับความเครียดต่างกัน อาการของความเครียดจึงอาจแตกต่างกันไป อาการอาจไม่ชัดเจนและอาจเหมือนกับอาการที่เกิดจากสภาวะทางสุขภาพทั่วไป โดยอาการทางอารมณ์ของความเครียด ได้แก่
เกิดอารมณ์หงุดหงิด หงุดหงิดง่าย
รู้สึกหนักใจ ราวกับว่าคุณกำลังสูญเสียการควบคุมตัวเอง
มีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการผ่อนคลายและสงบจิตใจ
รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ รู้สึกเหงา ไร้ค่า และหดหู่
หลีกเลี่ยงการพบเจอผู้อื่น
อาการทางกายภาพของความเครียด ได้แก่
พลังงานต่ำ
ปวดหัว
ท้องเสีย รวมถึง ท้องผูก และคลื่นไส้
ปวดเมื่อย และตึงกล้ามเนื้อ
อาการเจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นเร็ว
นอนไม่หลับ
โรคหวัดและการติดเชื้อบ่อยครั้ง
ไม่มีความต้องการทางเพศ
อาการประหม่าและสั่น หูอื้อ มือและเท้าเย็นหรือมีเหงื่อออก
ปากแห้งและกลืนน้ำลายลำบาก
กัดฟัน
อาการทางการรับรู้ของความเครียด ได้แก่
มีความกังวลอย่างต่อเนื่อง
ความคิดตีกันไปหมด
การหลงลืม
ไม่สามารถโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
การตัดสินใจที่ไม่ดี
มองโลกในแง่ร้ายหรือมองแต่ด้านลบ
อาการทางพฤติกรรมของความเครียด ได้แก่
ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง – ไม่กินหรือกินมากเกินไป
การผัดวันประกันพรุ่งและหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
การใช้แอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือบุหรี่มากขึ้น
มีพฤติกรรมประหม่ามากขึ้น เช่น กัดเล็บ อยู่ไม่สุข
ผลที่ตามมาของความเครียดเรื้อรัง
ความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่ความเครียดเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง ได้แก่
1.ระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด
ฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ในระหว่างการตอบสนองต่อความเครียดคุณจะหายใจเร็วขึ้นเพื่อกระจายเลือดที่มีออกซิเจนไปยังร่างกายอย่างรวดเร็ว หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพอง ความเครียดอาจทำให้หายใจลำบากยิ่งขึ้น
ภายใต้ความเครียด หัวใจของคุณก็จะเต้นเร็วขึ้นเช่นกัน ฮอร์โมนความเครียดทำให้หลอดเลือดหดตัวและเปลี่ยนเส้นทางออกซิเจนไปยังกล้ามเพื่อให้คุณมีพลังมากขึ้น แต่สิ่งนี้ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วย เป็นผลให้ความเครียดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเครียดเรื้อรังจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักเกินไปเป็นเวลานาน เมื่อความดันโลหิตของคุณเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
2.ระบบทางเดินอาหาร
ภายใต้ความเครียด ตับจะผลิตน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ส่วนเกินเพื่อให้คุณมีพลังงานเพิ่มขึ้น หากคุณมีความเครียดเรื้อรัง ร่างกายของคุณอาจไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นได้ทัน ความเครียดเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
ฮอร์โมนที่แปรปรวน การหายใจเร็ว และอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณปั่นป่วนได้ คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการเสียดท้องหรือกรดไหลย้อนมากขึ้นเนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อวิธีที่อาหารเคลื่อนผ่านร่างกาย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงหรือท้องผูก คุณอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้องด้วย
3.ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อของคุณเกร็งเพื่อป้องกันตัวเองจากการบาดเจ็บเมื่อคุณเครียด พวกมันมักจะคลายตัวอีกครั้งเมื่อคุณผ่อนคลาย แต่หากคุณอยู่ภายใต้ความเครียดตลอดเวลา กล้ามเนื้อของคุณอาจไม่มีโอกาสได้ผ่อนคลาย และเมื่อกล้ามเนื้อตึงจึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหลังและไหล่ รวมถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดวงจรที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
4.เพศและระบบสืบพันธุ์
ความเครียดทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะสูญเสียความต้องการทางเพศเมื่อคุณมีความเครียดอยู่ตลอดเวลา
หากความเครียดยังคงอยู่เป็นเวลานาน ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชายก็อาจเริ่มลดลงได้ สิ่งนี้สามารถรบกวนการผลิตอสุจิและทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และความเครียดเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย เช่น ต่อมลูกหมากและอัณฑะ และสำหรับผู้หญิง ความเครียดอาจส่งผลต่อรอบประจำเดือนได้ อาจทำให้เกิดประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ความเครียดเรื้อรังยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น
ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
โรคอ้วนและความผิดปกติในการรับประทานอาหารอื่น ๆ
ปัญหาผิวหนังและเส้นผม เช่น สิว โรคสะเก็ดเงิน กลาก และผมร่วงถาวร
วิธีขจัดความเครียด
เป็นเรื่องยากที่จะแนะนำวิธีแก้เครียดให้กับแต่ละคน เนื่องจากความเครียดของแต่ละคนแตกต่างกัน และวิธีบรรเทาความเครียดก็จะแตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและพยายามหาสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือหันไปให้ความสนใจกับสิ่งอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อน ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การดูหนัง ฟังเพลง รวมไปถึงการออกไปสังสรรค์ ในขณะที่บางคนอาจจะต้องการอยู่เงียบ ๆ ในห้องและอ่านหนังสือที่ชอบ ก็สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณจะจัดการมันอย่างไร สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันความเครียดที่มากเกินไปจนเป็นผลเสียต่อสุขภาพตามมา ก็คือการรู้อาการความเครียดของคุณ
หากคุณหรือคนที่คุณรักมีความเครียดมากเกินไป ให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาการความเครียดหลายอย่างอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้เช่นกัน แพทย์จะสามารถประเมินอาการของคุณและแนะแนวทางการรักษาที่ถูกต้องได้
ที่มา webmd , healthline
The post อันตรายจากความเครียดเรื้อรัง ส่งผลเสียต่ออารมณ์และร่างกายกว่าที่คิด appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/