เคยไหม ? หลังอาหารมักจะง่วงนอน โดยเฉพาะคนที่กิน ‘ข้าวเหนียว’ มื้อไหนกินข้าวเหนียว ส้มตำ ตกบ่ายมานั่งหาวตาจะปิดให้ได้ หรือแม้กระทั่งขนมหวานอย่างข้าวเหนียวมะม่วงก็เช่นกัน หลายคนที่กินข้าวเหนียวเลยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน’ แต่เรื่องนี้จริงหรือไม่มาหาคำตอบกัน! กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน ? ก่อนอื่นต้องตอบคำถามนี้เลยว่า การกินข้าวเหนียวเสร็จแล้วหลังจากนั้นรู้สึกง่วงนอน คือ เรื่องจริง! คุณไม่ได้คิดไปเองแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกแบบนี้ สาเหตุที่ทำให้บางคนหรือคนหมู่มากรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินข้าวเหนียว ไม่ว่าจะกินกับอาหารคาว หรือกินเป็นของหวาน นั่นเป็นเพราะว่าข้าวเหนียวช่วยกระตุ้นการทำงานบางอย่างของร่างกายนั่นเอง สิ่งหนึ่งที่หลายคนรู้กันอยู่แล้ว ก็คือ คาร์โบไฮเดรต หรือแป้งที่เรารับประทานกันทุก ๆ วัน เมื่อย่อยสลายแล้วจะกลายเป็นน้ำตาล ซึ่งเรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับความรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินข้าวเหนียว โดยในข้าวเหนียวจะมีอะมิโลส (Amylose) และอะมิโลเพคติน ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก หรือกลูโคส ได้เร็วกว่าข้าวหรือข้าวประเภทอื่น ๆ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงสั้น ๆ ดังนั้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่และสมดุล ตับอ่อนในร่างกายก็จะต้องรีบหลั่งอินซูลิน (Insulin) ออกไปควบคุมการเผาผลาญ และให้ร่างกายดูดซึมใช้เป็นพลังงานได้ ในกระบวนการหลั่งอินซูลิน จะทำให้กรดอะมิโนหลายชนิดถูกดูดซึม เช่น วาลีน ลิวซีน และไอโซลิวซีน แต่จะมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทริปโตเฟน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ บรรเทาความเครียดและไมเกรน ไม่ถูกดูดซึม! ทริปโตเฟนจะต้องลอยอยู่ในกระแสเลือดต่อไป จนถูกพาเข้าสู่สมองเพื่อสร้างเซโรโทนิน (Serotonin) สารที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ ทำให้หลับลึก เมื่อมีการผลิตเซโรโทนินมากขึ้น จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคนที่กินข้าวเหนียวจึงรู้สึกง่วงมากกว่าเวลากินข้าวประเภทอื่น นอกจากนี้ข้าวเหนียวยังใช้เวลาในการย่อยนานอีกด้วย ส่งผลให้กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาดำเนินการนานขึ้น กินข้าวเหนียวทำให้อ้วน ? อีกหนึ่งเรื่องที่คนมักสงสัยเกี่ยวกับข้าวเหนียวคือ กินข้าวเหนียวแล้วอ้วนไหม ? ก่อนอื่นเลยต้องทราบว่าข้าวเหนียว คือ ข้าวที่มีค่า Gl (ดัชนีน้ำตาล) หรือดัชนีคาร์โบไฮเดรตต่อน้ำตาลสูงถึง 98 ส่วนข้าวกล้องมีค่า GI
The post เรื่องจริงหรือคิดไปเอง ? กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน appeared first on #beartai.
เคยไหม ? หลังอาหารมักจะง่วงนอน โดยเฉพาะคนที่กิน ‘ข้าวเหนียว’ มื้อไหนกินข้าวเหนียว ส้มตำ ตกบ่ายมานั่งหาวตาจะปิดให้ได้ หรือแม้กระทั่งขนมหวานอย่างข้าวเหนียวมะม่วงก็เช่นกัน หลายคนที่กินข้าวเหนียวเลยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน’ แต่เรื่องนี้จริงหรือไม่มาหาคำตอบกัน!
กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน ?
ก่อนอื่นต้องตอบคำถามนี้เลยว่า การกินข้าวเหนียวเสร็จแล้วหลังจากนั้นรู้สึกง่วงนอน คือ เรื่องจริง! คุณไม่ได้คิดไปเองแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกแบบนี้ สาเหตุที่ทำให้บางคนหรือคนหมู่มากรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินข้าวเหนียว ไม่ว่าจะกินกับอาหารคาว หรือกินเป็นของหวาน นั่นเป็นเพราะว่าข้าวเหนียวช่วยกระตุ้นการทำงานบางอย่างของร่างกายนั่นเอง
สิ่งหนึ่งที่หลายคนรู้กันอยู่แล้ว ก็คือ คาร์โบไฮเดรต หรือแป้งที่เรารับประทานกันทุก ๆ วัน เมื่อย่อยสลายแล้วจะกลายเป็นน้ำตาล ซึ่งเรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับความรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินข้าวเหนียว
โดยในข้าวเหนียวจะมีอะมิโลส (Amylose) และอะมิโลเพคติน ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก หรือกลูโคส ได้เร็วกว่าข้าวหรือข้าวประเภทอื่น ๆ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงสั้น ๆ ดังนั้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่และสมดุล ตับอ่อนในร่างกายก็จะต้องรีบหลั่งอินซูลิน (Insulin) ออกไปควบคุมการเผาผลาญ และให้ร่างกายดูดซึมใช้เป็นพลังงานได้
ในกระบวนการหลั่งอินซูลิน จะทำให้กรดอะมิโนหลายชนิดถูกดูดซึม เช่น วาลีน ลิวซีน และไอโซลิวซีน แต่จะมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทริปโตเฟน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ บรรเทาความเครียดและไมเกรน ไม่ถูกดูดซึม!
ทริปโตเฟนจะต้องลอยอยู่ในกระแสเลือดต่อไป จนถูกพาเข้าสู่สมองเพื่อสร้างเซโรโทนิน (Serotonin) สารที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ ทำให้หลับลึก เมื่อมีการผลิตเซโรโทนินมากขึ้น จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคนที่กินข้าวเหนียวจึงรู้สึกง่วงมากกว่าเวลากินข้าวประเภทอื่น นอกจากนี้ข้าวเหนียวยังใช้เวลาในการย่อยนานอีกด้วย ส่งผลให้กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาดำเนินการนานขึ้น
กินข้าวเหนียวทำให้อ้วน ?
อีกหนึ่งเรื่องที่คนมักสงสัยเกี่ยวกับข้าวเหนียวคือ กินข้าวเหนียวแล้วอ้วนไหม ? ก่อนอื่นเลยต้องทราบว่าข้าวเหนียว คือ ข้าวที่มีค่า Gl (ดัชนีน้ำตาล) หรือดัชนีคาร์โบไฮเดรตต่อน้ำตาลสูงถึง 98 ส่วนข้าวกล้องมีค่า GI = 55 และข้าวขาวมีค่า GI = 87 เท่านั้น
เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย คือ ข้าวเหนียวจะทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสเป็นโรคอ้วนหรือเบาหวานขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้อาหารที่รับประทานกับข้าวเหนียวมักเป็นอาหารที่มีแคลอรีสูง เช่น หมูย่าง มะม่วงสุก รวมถึงข้าวเหนียวมูน ยิ่งหากคุณกินเยอะมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะยิ่งได้รับพลังงานมากเกินความต้องการ ถ้าไม่ถูกเผาผลาญ แน่นอนว่าพลังงานเหล่านี้จะถูกสะสมในรูปของไขมันทำให้อ้วนและบวมง่าย
หลีกเลี่ยงความรู้สึกง่วงหลังกินข้าวเหนียว
1. เคี้ยวข้าวให้ละเอียด ถ้าเราเคี้ยวให้ละเอียดเมื่อข้าวเหนียวเข้าสู่กระบวนการย่อยจะใช้เวลาไม่นานนัก
2.จำกัดปริมาณข้าวเหนียว กินแต่พอเหมาะเน้นกินข้าวชนิดอื่นแทน
สรุปได้ว่าข้าวทุกชนิดทำให้ง่วงนอนได้หลังรับประทานอาหาร อย่างที่ใคร ๆ ชอบบอกว่า ท้องแน่น หนังตาหย่อน แต่กระบวนการย่อยข้าวเหนียวจะส่งผลให้ง่วงนอนมากกว่าข้าวประเภทอื่นหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นหลังทานอาหารเสร็จก็อย่าลืมออกไปเดินเล่นเพื่อกระตุ้นการเผาผลาญ หรือหาอะไรทำให้ร่างกายตื่นตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการง่วงนอน
The post เรื่องจริงหรือคิดไปเอง ? กินข้าวเหนียวทำให้ง่วงนอน appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/