ก่อนหน้านี้ Subway พยายามพลิกฟื้นธุรกิจภายใต้การบริหารของ จอห์น ชิดซีย์ ที่เข้ามารับตำแหน่ง CEO เมื่อปี 2562 โดยบริษัทได้ปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร หาผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหม่ และลงทุนในด้านเทคโนโลยี แม้ตลอดหลายปีผ่านมาบริษัทจะเติบโต และมียอดขายที่มากขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงลิ่วและการแข่งขันที่สูงขึ้นเช่นกัน
The post Subway ขายดีแล้วทำไม? ต้องขายกิจการ appeared first on #beartai.
Subway ร้านแซนด์วิชชื่อดังกำลังจะเปลี่ยนเจ้าของแล้ว ปิดฉากมหากาพย์การซื้อขายที่ยาวนานตั้งแต่มีการประกาศขายกิจการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเจ้าของใหม่ที่ว่า ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ Roark Capital เจ้าของเชนร้านอาหารชื่อดังอย่าง ‘Dunkin’ และ ‘Baskin-Robbins’ นั่นเอง
ก่อนหน้านี้ Subway พยายามพลิกฟื้นธุรกิจภายใต้การบริหารของ จอห์น ชิดซีย์ ที่เข้ามารับตำแหน่ง CEO เมื่อปี 2562 โดยบริษัทได้ปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร หาผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหม่ และลงทุนในด้านเทคโนโลยี แม้ตลอดหลายปีผ่านมาบริษัทจะเติบโต และมียอดขายที่มากขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงลิ่วและการแข่งขันที่สูงขึ้นเช่นกัน
ฟื้นตัวหลังโควิดแบบก้าวกระโดด
ย้อนไปเมื่อปี 2564 รายได้ของ Subway เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เห็นได้จากตัวเลข 474% ที่ทำให้บริษัทมีรายได้สุทธิเฉลี่ยมากถึง 669 ล้านบาท (19,364,000 เหรียญ) แต่เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่เพิ่มในอัตราที่ช้าลงมาก จึงเป็นที่มาของรายได้สุทธิของ Subway ที่สูงขึ้น
ตกมาอยู่อันดับ 5 ของร้านอาหารที่มีมูลค่าธุรกิจสูงที่สุด
หากวิเคราะห์จากเว็บไซต์ brandirectory.com มีการจัดอันดับ 10 อันดับแบรนด์ร้านอาหารประเภท Chain restaurant หรือ ร้านที่มีสาขาจำนวนมากที่ดำเนินงานผ่านแฟรนไชส์ ที่มีมูลค่าธุรกิจสูงที่สุด เมื่อปี 2565 พบว่า Subway ติดอันดับ 5 ด้วยมูลค่าธุรกิจที่ประมาณ 248,000 ล้านบาท (7,054 ล้านเหรียญ) อยู่ระดับ AA ตกจากปี 2563 ที่เคยอยู่ระดับ AA+ เป็นรองแค่ Starbucks McDonald’s KFC และDomino’s Pizza
ขายดีแต่ก็มีจุดอ่อน
ถึงจะขายดี มีสาขาทั่วโลกกว่า 37,000 สาขา แต่จุดอ่อนของ Subway คือ การมีคู่แข่งในตลาดแซนด์วิชที่มากเกินไป แถมราคาขายก็ไม่ได้ถูกเมื่อเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ รวมทั้งความหลากหลายของเมนูก็ไม่ได้มากเท่าไร แต่ Subway ก็มีข้อได้เปรียบที่ทำให้แบรนด์เหนือกว่าเจ้าอื่น ๆ คือ การมีสาขาจำนวนมาก ระบบหลังบ้านดีทั้งคุณภาพวัตถุดิบ และการให้บริการที่รวดเร็วใส่ใจต่อลูกค้า
แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่าการซื้อขายกิจการครั้งนี้จากทั้ง Subway และ Roark แต่หากย้อนไปดูข้อมูลจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลที่เคยรายงานไว้เมื่อ 21 ส.ค. พบว่า ข้อเสนอสุดท้ายอาจมีมูลค่าประมาณ 336,000 ล้านบาท (9,600 ล้านเหรียญ)
ที่มา : Insider
The post Subway ขายดีแล้วทำไม? ต้องขายกิจการ appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/