บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินเรื่องของ “การอกหัก” หลายคนมักพูดว่าพวกเขารู้สึกราวกับ “หัวใจสลาย” แม้จะดูเหมือนเป็นคำเปรียบเปรย แต่อาการหัวใจสลายมีจริง และสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากความเครียดทางอารมณ์หรือทางกายภาพอย่างกะทันหัน ภาวะหัวใจสลายคืออะไร ? ภาวะหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Stress-induced Cardiomyopathy, Takotsubo Cardiomyopathy มีสาเหตุมาจากความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์อย่างกะทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของคุณอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะทำให้เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย คุณอาจคิดว่าตัวเองกำลังมีอาการหัวใจวายเนื่องจากภาวะหัวใจสลายและหัวใจวาย จะทำให้หายใจถี่และเจ็บหน้าอกเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มอาการภาวะหัวใจสลาย หลอดเลือดหัวใจไม่ได้อุดตันหรือหัวใจไม่ได้ถูกทำลายถาวร มักจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ดังเดิม ใครเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจสลาย ? ทางการแพทย์ระบุว่าภาวะหัวใจสลาย เกิดขึ้นในประมาณ 2% ของผู้ที่ไปพบแพทย์เนื่องจากสงสัยว่าตัวเองหัวใจวาย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่าจำนวนเคสที่แท้จริงนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้ เนื่องจากแพทย์มักไม่ตระหนักถึงอาการของภาวะหัวใจสลายมากนัก ภาวะหัวใจสลายส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 88% ของผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวโน้มเป็นผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ช่วงอายุเฉลี่ย 58 – 77 ปี เป็นไปได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ของเพศหญิงช่วยปกป้องหัวใจจากผลร้ายของฮอร์โมนที่ร่างกายปล่อยออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียด เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงตามอายุ ผู้หญิงจึงอาจไวต่อผลกระทบของความเครียดอย่างกะทันหันมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการภาวะหัวใจสลาย ? ภาวะหัวใจสลายส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ? กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยากลำบากขึ้น หากหัวใจของคุณสูบฉีดไม่เต็มประสิทธิภาพจะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งหมด สาเหตุของภาวะหัวใจสลาย นักวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะหัวใจสลายได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าเหตุการณ์ตึงเครียด เช่น การหย่าร้าง อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือตกงาน อาจทำให้เกิดความเครียดกะทันหันได้ เมื่อคุณตอบสนองต่อความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์ ร่างกายของคุณจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดในเลือด เช่น อะดรีนาลีน และนอร์เอพิเนฟริน ผู้เชี่ยวชาญคิดว่าฮอร์โมนเหล่านี้จะรบกวนการทำงานของหัวใจชั่วคราว ตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์อย่างกะทันหัน ได้แก่ ตัวอย่างของความเครียดทางร่างกายอย่างกะทันหัน ได้แก่ อาการของภาวะหัวใจสลายมีอะไรบ้าง ? คุณอาจรู้สึกถึงอาการของภาวะหัวใจสลายภายในไม่กี่นาทีถึงชั่วโมงหลังจากเจอเหตุการณ์เครียด
The post ความเครียดและการจากลาอย่างกะทันหัน รู้จัก “ภาวะหัวใจสลาย” appeared first on #beartai.
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินเรื่องของ “การอกหัก” หลายคนมักพูดว่าพวกเขารู้สึกราวกับ “หัวใจสลาย” แม้จะดูเหมือนเป็นคำเปรียบเปรย แต่อาการหัวใจสลายมีจริง และสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากความเครียดทางอารมณ์หรือทางกายภาพอย่างกะทันหัน
ภาวะหัวใจสลายคืออะไร ?
ภาวะหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Stress-induced Cardiomyopathy, Takotsubo Cardiomyopathy มีสาเหตุมาจากความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์อย่างกะทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของคุณอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะทำให้เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย คุณอาจคิดว่าตัวเองกำลังมีอาการหัวใจวายเนื่องจากภาวะหัวใจสลายและหัวใจวาย จะทำให้หายใจถี่และเจ็บหน้าอกเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มอาการภาวะหัวใจสลาย หลอดเลือดหัวใจไม่ได้อุดตันหรือหัวใจไม่ได้ถูกทำลายถาวร มักจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ดังเดิม
ใครเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจสลาย ?
ทางการแพทย์ระบุว่าภาวะหัวใจสลาย เกิดขึ้นในประมาณ 2% ของผู้ที่ไปพบแพทย์เนื่องจากสงสัยว่าตัวเองหัวใจวาย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่าจำนวนเคสที่แท้จริงนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้ เนื่องจากแพทย์มักไม่ตระหนักถึงอาการของภาวะหัวใจสลายมากนัก
ภาวะหัวใจสลายส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 88% ของผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวโน้มเป็นผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ช่วงอายุเฉลี่ย 58 – 77 ปี
เป็นไปได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ของเพศหญิงช่วยปกป้องหัวใจจากผลร้ายของฮอร์โมนที่ร่างกายปล่อยออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียด เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงตามอายุ ผู้หญิงจึงอาจไวต่อผลกระทบของความเครียดอย่างกะทันหันมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการภาวะหัวใจสลาย ?
เป็นผู้หญิง
มีอายุมากกว่า 50 ปี
เคยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
เคยมีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น อาการชักหรือโรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะหัวใจสลายส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ?
กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยากลำบากขึ้น หากหัวใจของคุณสูบฉีดไม่เต็มประสิทธิภาพจะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งหมด
สาเหตุของภาวะหัวใจสลาย
นักวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะหัวใจสลายได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าเหตุการณ์ตึงเครียด เช่น การหย่าร้าง อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือตกงาน อาจทำให้เกิดความเครียดกะทันหันได้ เมื่อคุณตอบสนองต่อความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์ ร่างกายของคุณจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดในเลือด เช่น อะดรีนาลีน และนอร์เอพิเนฟริน ผู้เชี่ยวชาญคิดว่าฮอร์โมนเหล่านี้จะรบกวนการทำงานของหัวใจชั่วคราว
ตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์อย่างกะทันหัน ได้แก่
ความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก หรือการสูญเสียครั้งใหญ่ เช่น สัตว์เลี้ยง บ้าน รถ เงินทอง เป็นต้น
ข่าวดี เช่น ถูกลอตเตอรี่
ข่าวร้าย
ความกลัวอย่างรุนแรง เช่น การพูดในที่สาธารณะ หรือ การโดนปล้นด้วยการใช้อาวุธ
ความโกรธสุดขีด
ตัวอย่างของความเครียดทางร่างกายอย่างกะทันหัน ได้แก่
อาการปวดอย่างรุนแรง
เหตุการณ์ทางกายภาพที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า
ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหอบหืด หายใจลำบาก อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เสียเลือดมาก หรือการผ่าตัด
อาการของภาวะหัวใจสลายมีอะไรบ้าง ?
คุณอาจรู้สึกถึงอาการของภาวะหัวใจสลายภายในไม่กี่นาทีถึงชั่วโมงหลังจากเจอเหตุการณ์เครียด ๆ การปล่อยฮอร์โมนความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมึนงงชั่วคราว และทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการหัวใจวายทั่วไป
สัญญาณและอาการของภาวะหัวใจสลาย ได้แก่
อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงอย่างกะทันหัน
หายใจถี่
หัวใจเต้นผิดปกติ
ความดันโลหิตต่ำ
ใจสั่น
เป็นลมหมดสติ
ความเครียดในชีวิตประจำวันทำให้เกิดภาวะหัวใจสลายหรือไม่ ?
ความเครียดในชีวิตประจำวันไม่ส่งผลต่อภาวะหัวใจสลาย เพราะส่วนใหญ่ภาวะดังกล่าวจะมาจากเหตุการณ์ตึงเครียดกะทันหัน แต่หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจไม่สะดวกบ่อยครั้งเมื่อเผชิญกับความเครียดในแต่ละวัน ให้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้น ๆ ต่อไป
โชคดีที่ภาวะหัวใจสลายไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการของมันคล้ายกับอาการหัวใจวาย อย่าพยายามวินิจฉัยตัวเองและคิดว่าตัวเองเป็นภาวะหัวใจสลาย ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าคุณมีอาการหัวใจวาย หรือเป็นภาวะหัวใจสลาย รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือไม่
ที่มา my.clevelandclinic , mayoclinic
The post ความเครียดและการจากลาอย่างกะทันหัน รู้จัก “ภาวะหัวใจสลาย” appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/