
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันตามชื่อ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณหรืออาการบอกล่วงหน้า เมื่อหัวใจที่มีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดหยุดเต้นจะทำให้ความดันเลือดภายในร่างกายตกลง ระบบอวัยวะที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงก็จะหยุดทำงานตามไปด้วย โดยเฉพาะสมอง ผลที่ออกมาคือการวูบหมดสติและล้มลงไป หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างเหมาะสมหรือการรักษาที่ทันเวลาอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะนี้ยังอันตรายมาก เพราะเมื่อสมองขาดเลือดและออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย และเป็นอัมพาต ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เราเข้าใจกันมักจะเป็นโรคของคนสูงวัยที่มีโรคประจำตัว แต่ภาวะนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าคุณจะอายุน้อยก็อาจมีความเสี่ยงของภาวะนี้ด้วยเหมือนกัน การรู้จักกับภาวะนี้และวิธีปฐมพยาบาลจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้ สาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สาเหตุหลักที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติด้วยสาเหตุต่าง ๆ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นรัว และหยุดเต้น คนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้มากกว่า อย่างโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคหัวใจโต โรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แต่อย่างที่ได้บอกไปว่าต่อให้คุณไม่ได้มีโรคหัวใจ คุณก็อาจมีความเสี่ยงได้เหมือนกัน หากมีปัจจัยต่อไปนี้ นอกจากโรคหัวใจและปัจจัยเหล่านี้แล้ว บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งรู้อีกทีก็เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว รับมือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเพื่อยื้อชีวิต แม้ว่าเคสส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า แต่ในบางคนอาจพบอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจลำบาก รู้สึกเวียนหัวและหน้ามืด ก่อนที่จะหมดสติไป แต่ทั้งหมดนี้มักเกิดในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น การปฐมพยาบาลและได้รับการรักษาภายใน 4 นาทีหลังหมดสติมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิต โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนสูงที่สุด โดยแต่ละนาทีที่ผ่านไปจะเสี่ยงอันตรายมากขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อหากพบคนหมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้น คุณสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ 1. เช็กสถานะของคนที่หมดสติ ด้วยการปลุกและเขย่าตัว พร้อมเรียกชื่อดัง ๆ 2. ปฐมพยาบาลจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง การปฐมพยาบาลคนที่หมดสติจากหัวใจหยุดเต้นมี 2 กรณีด้วยกัน ปฐมพยาบาลด้วยวิธี CPR หรือการปั๊มหัวใจ การ CPR จำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอวัยวะภายในบาดเจ็บ การ CPR ต้องทำต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง ปฐมพยาบาลด้วยเครื่อง AED เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์กู้ชีพที่มักมีในสถานที่ใหญ่
The post วิธีรับมือเพื่อยื้อชีวิต! วูบหมดสติจากหัวใจหยุดเต้น ไม่เป็นโรคหัวใจก็เกิดได้ แม้อายุน้อย appeared first on #beartai.
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันตามชื่อ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณหรืออาการบอกล่วงหน้า เมื่อหัวใจที่มีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดหยุดเต้นจะทำให้ความดันเลือดภายในร่างกายตกลง ระบบอวัยวะที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงก็จะหยุดทำงานตามไปด้วย โดยเฉพาะสมอง ผลที่ออกมาคือการวูบหมดสติและล้มลงไป
หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างเหมาะสมหรือการรักษาที่ทันเวลาอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะนี้ยังอันตรายมาก เพราะเมื่อสมองขาดเลือดและออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย และเป็นอัมพาต
ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เราเข้าใจกันมักจะเป็นโรคของคนสูงวัยที่มีโรคประจำตัว แต่ภาวะนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าคุณจะอายุน้อยก็อาจมีความเสี่ยงของภาวะนี้ด้วยเหมือนกัน การรู้จักกับภาวะนี้และวิธีปฐมพยาบาลจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้
สาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
สาเหตุหลักที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติด้วยสาเหตุต่าง ๆ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นรัว และหยุดเต้น คนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้มากกว่า อย่างโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคหัวใจโต โรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
แต่อย่างที่ได้บอกไปว่าต่อให้คุณไม่ได้มีโรคหัวใจ คุณก็อาจมีความเสี่ยงได้เหมือนกัน หากมีปัจจัยต่อไปนี้
สูบบุหรี่ ดื่มหนัก ใช้สารเสพติด
มีโรคประจำตัว โรคอ้วน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต
ไม่ค่อยออกกำลังกาย
คนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
ผู้ชายเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
นอกจากโรคหัวใจและปัจจัยเหล่านี้แล้ว บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งรู้อีกทีก็เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว
รับมือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเพื่อยื้อชีวิต
แม้ว่าเคสส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า แต่ในบางคนอาจพบอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจลำบาก รู้สึกเวียนหัวและหน้ามืด ก่อนที่จะหมดสติไป แต่ทั้งหมดนี้มักเกิดในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
การปฐมพยาบาลและได้รับการรักษาภายใน 4 นาทีหลังหมดสติมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิต โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนสูงที่สุด โดยแต่ละนาทีที่ผ่านไปจะเสี่ยงอันตรายมากขึ้นเป็นเท่าตัว
เมื่อหากพบคนหมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้น คุณสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. เช็กสถานะของคนที่หมดสติ
ด้วยการปลุกและเขย่าตัว พร้อมเรียกชื่อดัง ๆ
หากตอบสนอง เช่น ขยับตัวหรือตอบสนองต่อเสียงให้รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือเรียกรถพยาบาล
หากไม่ตอบสนองหรือไม่หายใจ โทรเรียกรถพยาบาลหรือโทรสายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669 และตะโกนให้คนในบริเวณนั้นนำเครื่อง AED มา (หากมี)
2. ปฐมพยาบาลจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
การปฐมพยาบาลคนที่หมดสติจากหัวใจหยุดเต้นมี 2 กรณีด้วยกัน
ปฐมพยาบาลด้วยวิธี CPR หรือการปั๊มหัวใจ
การ CPR จำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอวัยวะภายในบาดเจ็บ การ CPR ต้องทำต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
การวางผู้ป่วยให้นอนหงายราบกับพื้นแข็ง
คนทำ CPR ควรอยู่ข้าง
นำมือด้านที่ถนัดสอดไปที่ด้านหลังมืออีกด้านด้วยการประสานนิ้ว วางส้นมือไว้เหนือกระดูกหน้าอก 2 นิ้ว แขนตึง ตั้งฉากกับพื้น
กดหน้าอกด้วยการปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่แขนทั้งสองข้าง ลึกลงไป 1.5-2 นิ้ว ด้วยความถี่ 1–2 ครั้ง / วินาทีเพื่อปั๊มหัวใจให้ได้ 100–120 ครั้ง/นาที
ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่ารถพยาบาลหรือเครื่อง AED จะมาถึง
หากผู้ป่วยฟื้นให้พลิกหรือตะแคงตัว และเฝ้าดูอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
ปฐมพยาบาลด้วยเครื่อง AED
เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์กู้ชีพที่มักมีในสถานที่ใหญ่ ๆ เช่น โรงแรม คอนโด หมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า และตึกสำนักงาน การใช้เครื่อง AED จะช่วยรีเซตการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวัดให้กลับมาปกติ
ภายในกล่อง AED จะคอยบอกวิธีการปฐมพยาบาลตั้งแต่การให้จังหวะในการปั๊มหัวใจไปจนถึงการใช้ไฟฟ้าเพื่อรีเซตการเต้นของหัวใจเมื่อปั๊มหัวใจจนหัวใจมาเต้นแล้ว ซึ่งคนที่ใช้เครื่อง AED ควรผ่านการฝึกมาก่อนแล้ว หากไม่เคยฝึกใช้งานมาก่อนในสถานการณ์ฉุกเฉินจริง ๆ ในระหว่างใช้ควรมีสติและฟังเสียงแนะนำการใช้งานให้ได้มากที่สุด เพราะในขั้นตอนการรีเซตการเต้นหัวใจจะต้องมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาจากเครื่องด้วย
เครื่อง AED มีวิธีใช้ต่อไปนี้
ปั๊มหัวใจอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ติดตั้งเครื่อง AED
ถอดเครื่องประดับทั้งหมด โดยเฉพาะที่เป็นโลหะ และเช็ดผิวหนังให้แห้ง หากชื้นหรือมีเหงื่อ
แปะแผ่นอิเล็กโทรดไว้ใต้ไหปลาร้าเหนือหน้าอกด้านขวาและแปะแผ่นอิเล็กโทรดอีกแผ่นไว้ที่ชายโครงด้านซ้าย
หากติดแผ่นอิเล็กโทรดตามคำแนะนำของเครื่องแล้ว ให้หยุดปั๊มหัวใจ และห้ามสัมผัสผู้ป่วย
เปิดเครื่อง AED และทำตามคำแนะนำรูปแบบเสียง
เครื่อง AED จะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจและจังหวะการเต้น
เมื่อวิเคราะห์เสร็จจะมีคำแนะนำให้กดปุ่มเพื่อช็อกไฟฟ้าและจะมีคำเตือนให้ทุกคนออกห่างจากผู้ป่วยก่อนกด
เมื่อเสียงคำแนะนำบอกว่าช็อกไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ CPR ต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
หากผู้ป่วยฟื้นให้พลิกหรือตะแคงตัว และเฝ้าดูอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
วิธีปฐมพยาบาลที่ Hack for Health ได้นำมาฝากใช้สำหรับคนที่หมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเท่านั้น การหมดสติจากสาเหตุอื่น เช่น การถูกไฟฟ้าชอร์ตอาจมีปัจจัยเรื่องอันตรายจากไฟฟ้าในพื้นที่ที่ผู้ป่วยหมดสติ หรือจากอุบัติเหตุที่อวัยวะภายในเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ช่วยเหลือได้รับอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายได้มากขึ้น
ปัจจุบันไม่มีวิธีป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แต่การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เราได้เล่าไปอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะนี้ได้ และคนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ ควรใช้ยาและทำตามที่แพทย์แนะนำ
ที่มา: Mayo Clinic, Bangkok Hospital
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส
The post วิธีรับมือเพื่อยื้อชีวิต! วูบหมดสติจากหัวใจหยุดเต้น ไม่เป็นโรคหัวใจก็เกิดได้ แม้อายุน้อย appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/