
Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงานถูกมากถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาจด้วยการแข่งขันของธุรกิจที่ดุเดือดขึ้นทุกปี พนักงานจำนวนไม่น้อยถูกกดดันให้รับผิดชอบงานมากขึ้น หรือบางครั้งปัญหาด้านความสัมพันธ์ของคนในที่ทำงานมีส่วนไม่น้อย หากดูจากชื่อภาวะหมดไฟ หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นอาการที่คนเรารู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจในทำงานหรือรู้สึกห่อเหี่ยวกับงาน แต่ในความเป็นจริง Burnout Syndrome ครอบคลุมถึงอาการและพฤติกรรมอื่นที่มากกว่านั้น และการปล่อยภาวะนี้ไว้โดยไม่ได้วางแผนรับมืออาจนำไปสู่โรคทางอารมณ์และส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกายได้เลยทีเดียว ในบทความนี้ Hack for Health จะพาคุณไปรู้จักอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมของ Burnout Syndrome รวมถึงคนกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าคนอื่น Burn-out is a syndrome conceptualized as resulting from chronic workplace stress that has not been successfully managed หมดไฟ: กลุ่มอาการที่เป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน ซึ่งไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ World Health Organization เช็กอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมของ Burnout Syndrome ลักษณะของอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมภาวะหมดไฟสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะด้วยกัน แต่ละลักษณะก็มีสัญญาณและพฤติกรรมที่ต่างกันไป ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ มุมมองต่อสังคมในที่ทำงานเปลี่ยนไป คุณภาพงานและทัศนคติในการทำงานเปลี่ยนไป หากคุณกำลังเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้หรือสังเกตได้ว่ามุมมองและพฤติกรรมของตัวเองที่มีต่องานและเพื่อนร่วมงานเปลี่ยนไป คุณกลายเป็นคนที่สนใจความรู้สึกคนอื่นน้อยลงหรือใจร้ายขึ้น นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับ Burnout Syndrome อยู่ ซึ่งอาการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากภาวะหมดไฟอาจสร้างความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่ทำงาน ส่งผลกระทบต่อการทำงานที่อาจนำไปสู่ความเครียดหรือปัญหาอื่นที่ตามมาอย่างไม่รู้จบ รวมถึงโรคทางอารมณ์ อย่างภาวะซึมเศร้าด้วย หากคุณสังเกตว่าตัวเองมีสัญญาณของ Burnout Syndrome แนะนำให้หาวิธีรับมืออย่างเหมาะสม ใครบ้างที่เสี่ยง Burnout Syndrome? ทุกคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงานล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟได้ทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ทัศนคติ
The post Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ อาการแบบไหน ใครเสี่ยงบ้าง เช็กเลย? appeared first on #beartai.
Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงานถูกมากถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาจด้วยการแข่งขันของธุรกิจที่ดุเดือดขึ้นทุกปี พนักงานจำนวนไม่น้อยถูกกดดันให้รับผิดชอบงานมากขึ้น หรือบางครั้งปัญหาด้านความสัมพันธ์ของคนในที่ทำงานมีส่วนไม่น้อย
หากดูจากชื่อภาวะหมดไฟ หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นอาการที่คนเรารู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจในทำงานหรือรู้สึกห่อเหี่ยวกับงาน แต่ในความเป็นจริง Burnout Syndrome ครอบคลุมถึงอาการและพฤติกรรมอื่นที่มากกว่านั้น และการปล่อยภาวะนี้ไว้โดยไม่ได้วางแผนรับมืออาจนำไปสู่โรคทางอารมณ์และส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกายได้เลยทีเดียว
ในบทความนี้ Hack for Health จะพาคุณไปรู้จักอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมของ Burnout Syndrome รวมถึงคนกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าคนอื่น
Burn-out is a syndrome conceptualized as resulting from chronic workplace stress that has not been successfully managed
หมดไฟ: กลุ่มอาการที่เป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน ซึ่งไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้
World Health Organization
เช็กอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมของ Burnout Syndrome
ลักษณะของอาการ สัญญาณ และพฤติกรรมภาวะหมดไฟสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะด้วยกัน แต่ละลักษณะก็มีสัญญาณและพฤติกรรมที่ต่างกันไป
ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์
รู้สึกเหนื่อยล้าทางใจหรือทางอารมณ์อย่างมากทั้งในและนอกเวลางาน
รู้สึกขี้เกียจ ไม่อยากไปทำงาน รู้สึกแย่เมื่อตื่นนอน ขาดงานบ่อย
ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว
รู้สึกแย่เมื่อต้องรับผิดชอบงานหรือต้องติดต่อประสานงานกับคนอื่น
อาการทางร่างกาย อย่างเครียด นอนไม่หลับ ปวดตามร่างกาย ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
มุมมองต่อสังคมในที่ทำงานเปลี่ยนไป
รู้สึกหงุดหงิด รำคาญเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า
ขาดความสนใจ ใส่ใจ และเห็นอกเห็นใจคนในที่ทำงาน
พูดคุยหรือสุงสิงกับคนในที่ทำงานลดลง แยกตัวออกมา
คิด พูด หรือแสดงออกต่อคนในที่ทำงานและผลงานของคนอื่นในแง่ลบ
ไม่อยากเข้าร่วมการประชุมหรือกิจกรรมของบริษัท
คุณภาพงานและทัศนคติในการทำงานเปลี่ยนไป
รู้สึกหม่นหมอง ไร้ค่า ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำงานให้ออกมาดี
คุณภาพหรือปริมาณงานลดลงจากเดิม
ทำงานได้ไม่ดี ผิดพลาด ไม่สามารถทำงานเสร็จได้ภายในเวลา
รู้สึกสับสน หัวตื้อ สมองตัน ขาดความคิดสร้างสรรค์
บกพร่องในหน้าที่ ทั้งในที่ทำงานและชีวิตส่วนตัว
หากคุณกำลังเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้หรือสังเกตได้ว่ามุมมองและพฤติกรรมของตัวเองที่มีต่องานและเพื่อนร่วมงานเปลี่ยนไป คุณกลายเป็นคนที่สนใจความรู้สึกคนอื่นน้อยลงหรือใจร้ายขึ้น นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับ Burnout Syndrome อยู่
ซึ่งอาการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากภาวะหมดไฟอาจสร้างความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่ทำงาน ส่งผลกระทบต่อการทำงานที่อาจนำไปสู่ความเครียดหรือปัญหาอื่นที่ตามมาอย่างไม่รู้จบ รวมถึงโรคทางอารมณ์ อย่างภาวะซึมเศร้าด้วย หากคุณสังเกตว่าตัวเองมีสัญญาณของ Burnout Syndrome แนะนำให้หาวิธีรับมืออย่างเหมาะสม
ใครบ้างที่เสี่ยง Burnout Syndrome?
ทุกคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงานล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟได้ทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ทัศนคติ และสภาพแวดล้อมในที่ทำงานด้วย ซึ่ง Hack for Health สรุปคน 3 แบบที่อาจเสี่ยงต่อ Burnout Syndrome ได้มากที่สุด
1. เดอะแบก
เดอะแบกเป็นสแลงที่ใช้เรียกคนเก่งที่มีความสามารถมากและหลากหลาย ซึ่งเป็นตัวหลักในการประคับประคองงานจนสำเร็จ คนที่มีบุคลิกเป็นเดอะแบกมักต้องรับผิดชอบงานที่หนักในเชิงคุณภาพและปริมาณมากกว่าคนอื่นเสมอ
เดอะแบกยังเป็นที่คาดหวังของหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้ตัวเดอะแบกอาจรู้สึกกดดันตัวเองด้วยเช่นกัน ยิ่งเดอะแบกที่เป็นพวก Perfectionist ก็ยิ่งกดดันและเครียดกับผลลัพธ์ของงานมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ เดอะแบกมักต้องอยู่ทำงานดึก อดหลับ อดนอน และขาด Work-Life Balance เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ
2. เดอะปั่น
เดอะปั่นสามารถหมายถึงคนที่ได้รับมอบหมายงานจำนวนมากและต้องทำให้เสร็จภายในที่กำหนด หรือหมายถึงคนที่ได้รับงานในปริมาณปกติ แต่ขาดการจัดการงานและเวลา หรือการเรียงความสำคัญของงานที่ดีจนทำให้งานเสร็จช้า และต้องมาปั่นในช่วงไม่กี่วันหรือในคืนก่อนส่งงาน
เดอะปั่นจึงเป็นคนที่มีความเสี่ยงที่จะพักผ่อนนอนมากกว่าคนอื่น ซึ่งการนอนน้อยหรือนอนเช้าส่งผลให้สมองและร่างกายอ่อนล้าอ่อนเพลีย เกิดความเครียดสะสมจนเหนื่อยล้าและหมดไฟได้
3. เดอะ คิดมาก
ในความเป็นจริงงานและเพื่อนร่วมกันของคุณอาจดีมาก ๆ แต่ตัวคุณเองที่เป็นคนมองโลกในแง่ลบ กลัวการถูกตัดสินคุณค่าของงานหรือแม้แต่คุณค่าของตัวคุณตัวเอง ซึ่งอาจพบได้ในคนที่เป็น Perfectionist พนักงานใหม่ คนที่เพิ่งได้ปรับตำแหน่ง และคนที่ความมั่นใจต่ำ
นอกจากคน 3 ประเภทนี้แล้ว ปัจจัยอื่น อย่างการทำงานเดิมซ้ำ ๆ คนที่ไม่มีผลงาน คนที่ทำงานเกินเวลาบ่อย ๆ หัวหน้าที่ไม่สามารถควบคุมลูกน้องได้ คนที่ทำงานในตำแหน่งสนับสนุนหรือผู้ช่วย และสังคมหรือวัฒนธรรมในที่ทำงานที่เป็นพิษก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของ Burnout Syndrome ได้เช่นเดียวกัน
วิธีรับมือ Burnout Syndrome
ภาวะหมดไฟสามารถรับมือได้หลายวิธี
พูดคุยถึงปัญหาในการทำงานอย่างตรงไปตรงมาและสุภาพเพื่อให้หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานรับรู้ปัญญาและช่วยหาทางแก้ไข
ขีดเส้นระหว่างเวลางานและเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน
ทำความเข้าใจความผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงาน
หาเวลาพัฒนาทักษะและแนวคิดในการทำงานที่ช่วยให้จัดการงานได้ดีขึ้น
ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะทั้งหมดนี้ส่งผลดีต่อการทำงานของสมอง ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความเหนื่อยล้าของร่างกาย
คุยกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยา การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญไม่ได้หมายความว่าคุณป่วย แต่คนเหล่านี้สามารถหาสาเหตุและแนะนำวิธีรับมือให้กับคุณได้
ใช้เวลากับคนใกล้ตัว คนรัก เพื่อน ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย กินอาหารร่วมกัน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ
ลาออก หากวัฒนธรรมองค์กรและสังคมที่ทำงานบั่นทอนคุณในทุกวัน และปัญหาไม่ได้เกิดจากคุณ อย่าปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังจนส่งผลต่อสุขภาพของคุณ
ตอนนี้คุณน่าจะรู้จักกับ Burnout Syndrome มากขึ้นแล้ว คนที่มีความเสี่ยงของภาวะนี้อย่าลืมเอาวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กัน สำหรับการลาออกก็อย่าลืมหาลู่ทางในการทำงานไว้ก่อนด้วย สุดท้ายนี้ ไม่ว่างานนั้นจะใหญ่หรือผลตอบแทนดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสุขภาพของคุณ
ที่มา: WHO, WebMD, RAMA Channel,
The post Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ อาการแบบไหน ใครเสี่ยงบ้าง เช็กเลย? appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/