
กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยมีสาระสำคัญคือ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. โดยมีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ การเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ค่าจ้างมากกว่า 15,000 บาท รวมถึงนายจ้างและรัฐบาล โดยสามารถเลือกแสดงความคิดเห็นได้ 3 รูปแบบ คือ กระทรวงแรงงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th ซึ่งจะปิดการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีที่มาจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน โดยกระทรวงแรงงานเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนจากการขาดรายได้ และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น รวมถึงการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม โดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพนั้น กระทรวงแรงงานระบุว่า จะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนใน พ.ศ. 2567 ที่ได้รับค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะต้องส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท)
The post กระทรวงแรงงานเปิดรับฟังความคิดร่างปรับฐานค่าจ้าง เล็งจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็นหลักพันบาท appeared first on #beartai.
กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยมีสาระสำคัญคือ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. โดยมีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ทั้งนี้ การเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ค่าจ้างมากกว่า 15,000 บาท รวมถึงนายจ้างและรัฐบาล โดยสามารถเลือกแสดงความคิดเห็นได้ 3 รูปแบบ คือ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท
กระทรวงแรงงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th ซึ่งจะปิดการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีที่มาจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน
โดยกระทรวงแรงงานเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนจากการขาดรายได้ และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น รวมถึงการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม
โดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน
สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพนั้น กระทรวงแรงงานระบุว่า จะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ
ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนใน พ.ศ. 2567 ที่ได้รับค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะต้องส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงาน เพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท) เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ได้ที่นี่ (คลิก)
The post กระทรวงแรงงานเปิดรับฟังความคิดร่างปรับฐานค่าจ้าง เล็งจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็นหลักพันบาท appeared first on #beartai.
Credit ข่าวจาก : www.beartai.com/